ฟุตบอล

“ฟุตบอลประเพณี” หรือ “ฟุตบอลทีมชาติไทย”?

เวียนมาจบครบรอบปีอีกครั้งสำหรับการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
ในช่วงที่สภาพแวดล้อมทางด้านอากาศและมลภาวะไม่ค่อยเป็นใจสำหรับทั้งนักเตะและคนดู แต่ก็เดินหน้ากันไปครับ

สารัช อยู่เย็น ภาพจาก FourforTwe
สารัช อยู่เย็น ปัจจุบันเป็นผู้เล่นในสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ภาพจาก FourFourTwo

เหมือนเดิมเช่นเคย พอดูรายชื่อนักเตะจากงานแถลงข่าวของทั้งสองทีม ไม่ว่าจะเป็น สารัช อยู่เย็น, อดิศร พรหมรักษ์, อดิศักดิ์ ไกรษร, ศุภนันท์ บุรีรัตน์, ชนานันท์ ป้อมบุปผา, นูรุล ศรียานเก็ม, หรือวีรเทพ ป้อมพันธ์ รวมถึงการมีข่าวว่าจะขอยืมตัวชนาธิป สรงกระสินธ์จากสโมสรคอนซาโดเล ซัปโปโรที่ญี่ปุ่น ผมยังนึกในใจว่านี่คือฟุตบอล All star ทีมชาติไทย หรือหรือฟุตบอลระหว่างสถาบันการศึกษา 2 แห่งของไทยกันแน่เนี่ยครับ

เมสซี่เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์
ชนาธิป สรงกระสินธ์ ปัจจุบันเป็นผู้เล่นในสโมสรคอนซาโดเล ซัปโปโร ภาพจาก มติชน

เป็นประเด็นความเห็นส่วนตัวของผมที่มองต่างมาโดยตลอด ผมว่าฟุตบอลแม็ตช์นี้ยังไงก็ตามน่าจะเป็นเวทีให้กับนักฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของกองเชียร์น้องๆ นิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งสองที่มานั่งตากแดดดมฝุ่นกันครึ่งวัน

นั่นก็คือน้องๆ นักฟุตบอลที่ยังศึกษาอยู่ในสถาบัน ณ ขณะนั้น จะเป็นกลุ่มที่ได้โควต้านักกีฬาเข้าไปเรียนหรือเป็นพวกมีพรสวรรค์แต่ยังไม่ถึงขั้นนักฟุตบอลอาชีพก็ยังได้

การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั่งที่ 72 ภาพจาก CUTUFootball

ความบันเทิงจะเป็นในอีกรูปแบบหนึ่งไม่เหมือนมาดูนักฟุตบอลระดับอาชีพศิษย์เก่าเล่นปาหี่ให้คนดูกัน เวลาซ้อมด้วยกันก็แทบจะไม่มี แถมยังต้องเกรงใจสโมสรที่เค้าอนุญาตให้มาเล่นอีก เสี่ยงต่อการบาดเจ็บก่อนเปิดฤดูกาลเสียด้วยซ้ำ นี่ยังไม่นับสโมสรอย่าง คอนซาโดเล ซัปโปโร ที่เค้าคงสงสัยว่าเกมนัดนี้จะสำคัญขนาดต้องขอให้ปล่อยตัวชนาธิปมาเลยเชียวหรือ

ฟุตบอลประเพณี
กองเชียร์ในงานแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71 ภาพจาก POSTJUNG

ไม่ได้จะมองแบบแง่ลบ แต่ผมไม่คิดว่านักฟุตบอลทุกคนที่ลงเตะจะมุ่งมั่นและเต็มที่เท่ากับน้องๆ นักศึกษาของจริงหรอกครับ ความอินและความฮึกเหิมมันจะมาพร้อมกับการลงสนามเล่นพร้อมกับมีเพื่อนๆ ร่วมคณะ ร่วมสถาบันตัวจริงนั่งเชียร์อยู่บนอัฒจรรย์มากกว่า

ฟุตบอลประเพณี
กองเชียร์ในงานแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 72 ภาพจาก CUTUFootball

ส่วนกองเชียร์น้องๆ ที่ไม่ได้อินกับกีฬาฟุตบอลยิ่งแล้วใหญ่ อดิศร หรือ อดิศักดิ์เป็นใครก็ไม่รู้
จะเชียร์มันส์เท่าเชียร์เพื่อนที่เห็นหน้ากันตามคณะหรือโรงอาหารคงไม่ใช่…จริงไหมครับ

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ