FIFA 2022

ประเด็นความล้มเหลวของ FIFA ในฟุตบอลโลก 2022 ณ.กาตาร์

FIFA 2022 ความวุ่นวายต่อเนื่องก่อนจะถึงบอลโลกที่มาพร้อมกับความตื่นเต้น

เมื่อเอ่ยถึงฟุตบอลโลก แฟนฟุตบอลอย่างเราๆ ก็มักจะคิดถึงแต่ความตื่นเต้น และความยิ่งใหญ่ของการแข่งขัน แต่จากประเด็นความอื้อฉาว ของการเลือกประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพปี 2022 ทำให้ผมอดใจไม่ได้ที่ จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นแง่มุมหนึ่งของฟุตบอลโลกและ FIFA ที่ผมไม่ค่อยได้ยินนัก

สำหรับงานนี้ต้องบอกเลยครับว่าการได้มาซึ่งสิทธิ์นี้เป็นผลมาจาก การเมือง ผลประโยชน์ การสมยอม ฯลฯ อีกมากมายที่ FIFA เข้าไปเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อเนื่องให้ FIFA ต้องเข้าไปแก้ไขประเด็นร้อนๆ ต่างๆ ที่เป็นผลของการมอบสิทธิ์นี้ให้กับกาตาร์ทั้งสิ้น

74432

กาตาร์ เป็นประเทศขนาดเล็ก ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 2 ล้านกว่าคน ซึ่งกว่า 80% เป็นต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกาตาร์  เคยเป็นประเทศที่ยากจนมาก จนกระทั่งมีการพบแหล่งน้ำมันในช่วงทศวรรษที่ 40’s ซึ่งมีการประมาณว่า กาตาร์เป็นเจ้าของแหล่งน้ำมันกว่า 15% ของทั้งหมดในโลก

คิดดูแล้วกันครับว่าประเทศนี้เล็กแค่ไหน ผมเคยแวะไปที่นั่นช่วงเปลี่ยน flight ก็เลยออกนั่งรถดูเมือง Doha ประมาณ 20 นาทีก็ครบรอบเมืองแล้วครับ

อย่างที่เราทราบกันดี มหกรรมกีฬาอย่างฟุตบอลโลกนั้น เป็นการลงทุนมหาศาลของประเทศเจ้าภาพ แน่นอน แม้กาตาร์จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาจากน้ำมัน  แต่ประเทศที่จะจัดมหกรรมยิ่งใหญ่ขนาดนี้ นอกจากรวยแล้วควรมีทรัพยากรทางสังคมในด้านอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความน่าดึงดูด ให้กับการเดินทางมาชมการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว วัฒนธรรม หรือสถานที่น่าสนใจต่างๆ ที่ควรมี หรือ ถูกเตรียมไว้รองรับ และมีแผนการต่อยอดจากการลงทุนในครั้งนี้อย่างชัดเจน แต่สำหรับประเทศเล็กๆ อย่างกาตาร์ อันนี้เป็นคำถามที่คงต้องหาคำตอบว่าเตรียมการไว้อย่างไรบ้างหรือไม่

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและน่าเสียดายก็คือ ไหนๆ ก็จะเปิดตลาดในภูมิภาคนี้แล้ว การพิจารณาให้หลายประเทศเป็นเจ้าภาพร่วมน่าจะดีกว่าเพราะเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่และ educate คนทั่วโลกให้รู้จักเรื่องวัฒนธรรม ความเจริญ ของภูมิภาคนี้ รวมถึงการกระจายความเจริญอันเป็นผลต่อเนื่องด้วยเช่นกันแทนที่จะให้กาตาร์เอาไปคนเดียว อย่าลืมว่าตัวอย่างชั้นดีมีให้เห็นแล้วในคราวที่เอเชียเป็นเจ้าภาพโดยการร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลี

“การจัดฟุตบอลในหน้าร้อน ในเขตทวีปตะวันออกกลาง จะเหมาะสมแล้วหรือ” เป็นอีกคำถามที่ FIFA ถูกยิงตั้งแต่เริ่มต้น ของการมีกาตาร์เป็นประเทศหนึ่ง ที่เสนอตัวแข่งขันเป็นเจ้าภาพ การหมุนเวียนกันจัดในแต่ละทวีปเข้าใจได้ และเป็นเรื่องที่แฟร์ เพราะเป็นการเปิดตลาดฟุตบอลในทวีปใหม่ๆ บ้าง ซึ่งทีมในตะวันออกกลางก็พัฒนาขึ้นมามากแล้ว อิหร่าน ซาอุดิอาราเบีย ก็เข้ารอบสุดท้ายมาหลายครั้งและมีผลงานน่าสนใจพอตัว แต่น่าเสียดายที่ความไม่โปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ทำให้โอกาสในการจัดฟุตบอลโลกครั้งแรก ในตะวันออกกลางเสียเรื่องด้วยความอัปยศดังกล่าว

คำวิจารณ์จากนักฟุตบอลและทีมต่างๆ โดยตรงก็คืออุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนสำหรับทวีปตะวันออกกลางจะส่งผลอย่างไรต่อนักฟุตบอล อันตรายจาก heat stroke เป็นไปได้ไหม หรือประสิทธิภาพการเล่นของนักกีฬาจะตกไปไหมในอุณหภูมิที่ร้อนขนาด 40-45 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ยในหน้าร้อน ซึ่งก็คงทำให้เกมการแข่งขันช้าและสนุกน้อยลงสำหรับคนดูอย่างแน่นอน เรื่องนี้เป็นที่กังวลมากสำหรับทุกทีมในช่วงแรกที่ประกาศผลว่ากาตาร์ได้รับสิทธิ์

ซึ่งหลังจากได้รับความกดดันจากหลายฝ่าย ส่งผลให้ FIFA ออกมาเปลี่ยนแปลงตารางการแข่งขันภายหลังว่าจะจัดช่วงปลายปีที่อากาศเย็นหน่อยและเป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก เพราะถ้าหากมีเจตนาเช่นนั้นก็ ควรบอกแต่แรกในการพิจารณากาตาร์เป็น candidate แล้ว ไม่ใช่เลือกก่อน แล้วค่อยปรับทุกอย่างให้เข้ากับสิ่งที่ล็อคกันไว้ ทีนี้พอ FIFA เพิ่งจะออกมาบอกเรื่องนี้ หลังจากที่ได้เลือกกาตาร์กันไปตั้ง 4 ปีมาแล้วมันก็ส่งผลกระทบกันใหญ่สิครับ ตารางการแข่งขันของลีกต่างๆ กว่า 50 ลีก โดยเฉพาะในยุโรปก็ต้องเปลี่ยนแปลง มีเริ่มเร็วหน่อย จบช้าหน่อย ซึ่งผลกระทบอาจต่อเนื่องยาว 2-3 ฤดูการเลยทีเดียว

และพอเกี่ยวข้องกับเรื่องของบอลลีก ก็จะมีเรื่องเชิงพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประมูลได้สิทธิ์การถ่ายทอดสด ที่ต้องปรับกันกระบวนใหญ่ เช่นของฝั่งอเมริกา เจ้าใหญ่อย่าง Fox กับ Telemundo ที่ฟุตบอลโลกปลายปีจะไปทับกับปฏิทินกีฬาฝั่งนั้น ยอดคนดูลด สปอนเซอร์ต้องแบ่งเงิน รายได้จากการถ่ายทอดอาจไม่เข้าเป้า วิธีแก้ปัญหาแบบ FIFA ก็คือการยกประโยชน์ให้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดปี 2026 กับทั้งสองสถานีเลย โดยไม่ต้องมีการประมูลราคาเพื่อปิดปาก

fifa-qatar_2692713b

ทั้งหมดทั้งมวล ถ้าดูกันผิวเผินจะเหมือนว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ การจัดฟุตบอลในประเทศตะวันออกกลาง ช่วงหน้าร้อนเหมาะสมหรือไม่ แต่ถ้าดูกันอย่างถ่องแท้ ผมคิดว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ความล้มเหลว ของการบริหารงานของ FIFA ในการดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ อันเป็นผลมาจากความโลภ ความเย่อหยิ่ง และความพยายามในการปัดกวาดข้อผิดพลาด อันเกิดมาจากการมอบสิทธิ์นี้เข้าไปใต้พรม อย่างไม่สนใจใยดีอะไรทั้งสิ้นครับ

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน