ออกสตาร์ทสู่ความยั่งยืน
ลาขาดชีวิตบนกองขยะ
แล้วมาอินสไปร์ด้วยงานศิลปะ

ธรรมชาติคือผู้สร้าง คนเปรียบเสมือนผู้ดูแล ส่วนศิลปะนั้น…ก็เป็นดังส่วนผสมที่เบลนด์เป็นแรงบันดาลใจให้กับโลกของเราในปัจจุบัน

ธรรมชาติ คน และศิลปะ 3 สิ่งที่รูปร่างหน้าตาต่างกัน ความหมายก็คนละเรื่อง(เดียว)กัน แต่กลับซ่อนความเชื่อมโยงและความเข้ากันไว้ตลอดเวลา จนไม่น่าเชื่อว่าวันนี้การยึดโยงบนฐานสุดแตกต่างของทั้ง 3 สิ่งได้จุดประกายให้เกิดพื้นที่ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่แฝงพลังสร้างสรรค์และความเข้าใจไลฟ์สไตล์คนเมืองไว้เต็มเปี่ยมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

พื้นที่ที่ว่าก็ไม่ใช่พื้นที่ไกลตัวที่ไหน แต่เป็นพื้นที่ในงาน Bangkok Design Week 2020 เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 ที่ไหลเวียนไปด้วยแนวคิดทันสมัยอย่าง “Resilience : New potential for living ปรับตัว > อยู่รอด > เติบโต”

สงสัยใช่ไหมล่ะ ว่าพื้นที่นี้มันคืออะไร? ก็พื้นที่ที่เกิดจากพลังของนักสร้างสรรค์ซึ่ง ‘แสนสิริ’ เองได้มีส่วนร่วมเป็นหนึ่งกำลังปลูกสร้างสิ่งดีๆ ด้วยแนวคิดที่ว่า ‘SHAPING NEIGHBORHOODS’ เพื่อจะส่งผ่านความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตดีๆ จากสิ่งที่เราลงมือทำไปสู่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็น

“EATS MEET WASTE” งานดีไซน์ที่มีความหมายมากกว่าศิลปะ บนขบวนรถเข็นสตรีทฟู้ดในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ และเกิดมาเพื่อช่วยปรับยกคุณภาพด้านการจัดการเศษขยะจากอาหาร และเติมความเข้าใจเรื่องนี้ให้เต็ม 4 ห้องหัวใจคนเมือง

งานอาร์ต Above the Line ที่รังสรรค์โดย SUNTUR ศิลปินชื่อดังสุดมีสไตล์

“HAVE A REST” ผลงาน installation จุดพักคอยระหว่างรอรถท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านของการสัญจร

รู้นะ ว่ามีคนแอบสงสัยว่า 3 งานอาร์ตนี้ จะเป็นอะไรได้มากกว่าสิ่งที่ตาเห็นหรือเปล่า? หรือว่าจะมีความหมายอะไรกับมนุษย์อย่างเรากันแน่?

ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างไร้ชีวิต แต่คือ…การใช้ชีวิต

เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่อย่างเราๆ ไม่ได้เลือกที่อยู่อาศัยเหมือนแต่ก่อนที่มักจะเป็นการอยู่อาศัยแบบแยกกันอยู่ ตัวใครตัวมัน ข้างบ้านฉัน…ไม่ต้องรู้จักกันก็ได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว อาจจะเพราะความเปลี่ยนไปของโลกได้ทำให้วัฒนธรรมนั้นแปรรูป กลายร่างไป เหมือนที่เราเห็นได้ว่าคนหันหน้ามาคุยกันมากขึ้น แล้วก็ใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้นจริงๆ

เคยมีคำกล่าวหนึ่งของคุณอู้ นพปฎล พหลโยธิน Chief Creative Officer ของแสนสิริที่เล่าไว้ว่าเมื่อไหร่ที่คนทั้งโลกพยายามจะวิ่งเข้าหาเมืองมากขึ้น ภายในเมืองก็จะถูกจำกัดด้วยพื้นที่ที่เล็กลงเรื่อยๆ คำถามก็คือ แล้วเราจะทำให้คนแฮปปี้กับพื้นที่ที่จำกัดแบบนี้ยังไงดี?

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-01

คำตอบที่ออกมาวันนี้ ก็ไม่ใช่อะไร THE LINE Phahon-Pradipat นี่ล่ะ คำตอบที่ถูกออกแบบมาให้อยู่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียว พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางให้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างแท้จริงไม่ใช่ผิวเผิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เราเริ่มคุ้นเคยกันดีอย่าง co-working space

“คน เป็นหัวใจสำคัญ เราไม่ได้มองว่าคอนโดเป็นผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพยายามใส่ใจ community การเข้าใจสิ่งแวดล้อม รวมถึงใส่ใจแม้กระทั่งเรื่องการกำจัดขยะโดยรอบที่ไม่ใช่แค่ในรั้วของเรา”

– คุณนพปฎล พหลโยธิน
Chief Creative Officer, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) –

แต่แน่นอน ไม่ใช่แค่นั้น แสนสิริยังหยิบเอาศิลปะเข้ามาผสมผสานกับธรรมชาติของการเป็นอสังหาฯ ได้อย่างกลมกล่อม เพื่อที่จะสะท้อนความยั่งยืนออกไปทุกทิศทาง พร้อมกับเปลี่ยนให้บรรยากาศเดิมๆ ในย่านที่เราเอื้อมมือเข้าไป เป็นบรรยากาศของความผ่อนคลายสุดชิลล์

แถมยังชวนให้อินและดื่มด่ำจนลืมตัวไปกับงานอาร์ตที่แฝงอยู่มากขึ้นด้วย เหมือนกับที่งานนี้ เราได้ตื่นตาตื่นใจ ยกมือกุมอก ทันทีที่เห็นผลงานสุดครีเอทีฟของ SUNTUR ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่ THE LINE อยากจะส่งมอบไปยังลูกบ้านทุกๆ คน

ไม่ใช่แค่งานอาร์ต แต่เป็นการส่งสาร Above the Line

เรียบแต่ดูดี มีเสน่ห์ท่ามกลางธรรมชาติ…แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคำนิยามผลงานของศิลปินนักวาดภาพประกอบชื่อดังอย่าง SUNTUR (ซันเต๋อ) เลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่ “Above the Line” งานอาร์ตตลอดแนวกำแพงสูงใหญ่ที่ SUNTUR รังสรรค์ไว้เหนือเมืองกว้าง ณ ย่านประดิพัทธ์

“มันคือเซ็ตภาพ Above the Line ที่บอกเล่าว่าไม่ว่าคุณจะอยู่สูงแค่ไหน ก็ยังสามารถสัมผัสได้ถึงธรรมชาติ”

 – SUNTUR

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-02

ภาพของผู้คนและธรรมชาติที่ผ่านการตัดทอนให้เรียบง่าย ถูกถ่ายทอดออกมาบนเซ็ตผลงานศิลปะทั้ง 3 ชิ้น ที่ SUNTUR มอบไว้ให้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวจากมุมสูงของคอนโด THE LINE Phahon-Pradipat โดยมี “ธรรมชาติ” เป็นหัวใจหลัก ราวกับผลงานนี้กำลังส่งเสียงบอกว่า ไม่ว่าเราจะอยู่สูงแค่ไหน ก็อยู่กับธรรมชาติได้

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-03

ยิ่งไปกว่านั้น ศิลปินสุดแนวคนนี้ยังตั้งใจที่จะให้ทุกคนที่เห็นผลงานชิ้นนี้ ได้สัมผัสถึงความสวยงามของธรรมชาติแม้กระทั่งในภาพวาด พร้อมกับตั้งใจที่จะส่งต่อความยั่งยืนผ่านงานศิลปะไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ไม่ใช่รั้วบ้าน แต่เป็นการจัดรูปแบบพื้นที่ เพื่อความยั่งยืนไร้ขอบเขต

ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ลงหลักปักฐานของโครงการ THE LINE Phahon-Pradipat และเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และผู้คนมากหน้าหลายตา หลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงหลากหลายความถนัด

“ความตั้งใจของพวกเราคืออยากใช้ศักยภาพ ความหลากหลาย มาเปลี่ยนบริบทสภาพแวดล้อมในย่านเราให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการ Shaping Neighborhood”

– คุณปิยา ลิ้มปิติ ตัวแทน Tinkering Pot
กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ –

นี่คือ 1 เสียงแห่งความมุ่งมั่นจาก Tinkering Pot กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ ที่เปลี่ยนแนวคิดเดิมมาเป็นการเดินเท้าก้าวสู่การพัฒนา ปรับปรุง และจัดรูปจัดทรงพื้นที่ย่านนี้ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ยาวนานไปจนถึงอนาคต…ยาวนานชนิดที่ไร้ขอบเขตของเวลา เพื่อทุกๆ ชีวิตในย่านแห่งนี้ โดยผ่านการสนับสนุนและร่วมมือจากองค์กรมากมาย รวมถึงแสนสิริด้วยเช่นกัน

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-04

นี่คือการล้อมรั้วให้คนในย่านนี้ใช้ชีวิตอย่างจำกัด ไม่สะดวกสบาย ไม่เป็นตัวของตัวเองหรือเปล่า? บางคนอาจกำลังสงสัยอะไรแบบนี้ บอกได้เลยว่า  “เปล่า” เพราะการลุกขึ้นมาร่วมมือพัฒนาพื้นที่ย่านนี้ เป็นการจัดการกับพื้นที่ชีวิตในเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในแบบที่ช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น “7 Minutes Seat” ที่พักคอยแนวยาวริมฟุตบาท ที่พัฒนามาจาก workshop สุดเจ๋งอย่าง “Have a Rest” เพื่อตอบโจทย์คนเมืองย่านนี้แบบโดนใจเต็มๆ เพราะต่อให้ต้องยืนรอรถเมล์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือแท็กซี่ ในช่วงเวลาสั้นราว 7 นาทีนี้ ก็จะมีจุดให้พักนั่งพิง ปลดล็อกความเหนื่อยล้าระหว่างการเดินทางไปได้มากทีเดียว ที่สำคัญ ยังไม่ต้องไปยืนเก้ๆ กังๆ ขวางคนที่เดินสวนไปมา หรือพลัดตกลงถนนขวางรถให้หวาดเสียวกันเลย

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-05

อีกสิ่งที่ไม่เหลียวมองเห็นจะไม่ได้ ก็ต้องยกให้ผลงานจากการจับมือกันกับร้านค้ารถเข็นเพื่อที่จะลดและกำจัดขยะกองโตในแต่ละวัน เพราะทุกวันนี้นั้น ร้านค้ารถเข็นหรือร้านค้า street food เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งของขึ้นชื่อของไทย เลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีขยะจากการค้าขายเกิดขึ้นมามหาศาล

และสิ่งที่กลุ่ม Tinkering Pot ได้เข้าไปลงมือปรับใหม่ ก็คือการหาทางออกที่มีประสิทธิภาพให้ทั้งร้านค้าและเมืองแห่งนี้อย่างไม่มีใครต้องช้ำใจ ไม่ว่าจะการแนะนำร้านค้าให้ส่งสารบอกเหล่าผู้ซื้อ ให้นำภาชนะมาใส่อาหารกลับไปฟินต่อที่บ้านแทนการใช้กล่องโฟม หรือการส่งต่อความรู้ให้ร้านค้าเหล่านั้นเข้าใจว่าการคัดแยกขยะเรียกได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญในการออกสู้รบ สู่การมีชีวิตที่มีคุณภาพและอยู่อย่างยั่งยืนเลยก็ว่าได้

“ในระยะยาวเรามีเป้าหมายอยากให้เกิดความยั่งยืนในการรวมตัวกัน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนความยั่งยืนในต้นทุนความคิดสร้างสรรค์”

– คุณนัฐพงษ์  พัฒนโกศัย ตัวแทน Tinkering Pot
กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ –

ซึ่งโปรเจกต์ครั้งนี้ของ Tinkering Pot และแสนสิริ ได้เปิดโอกาสให้น้องๆ นิสิต นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อการสร้างสรรค์ชุมชมที่ยั่งยืน ผ่านการทำ Workshop อย่างเข้มข้นตั้งแต่กระบวนการแรกๆ เพื่อส่งต่อแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม จนออกมาเป็นผลงานทั้งสองชิ้นอย่าง 7 Minutes Seat และ Eats Meet Waste 

ผมเกิดปัญหาในใจว่าเรามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนได้ไหม พอเห็นทางเเสนสิริได้จัด workshop จึงลงสมัครเข้าร่วมโครงการทันทีเพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาเเบบจริงๆ ถึงเเก่นของปัญหา เเละได้ฝึกระบบกระบวนการคิดใหม่ ที่สำคัญได้เรียนรู้วิธีการทำงานเเบบมืออาชีพ และเป็นทีมด้วยครับ 

เมกวิน เมธีวรรณกุล
นักศึกษาจากวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป Eats Meet Waste –

พื้นที่บริเวณย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ เป็นบริเวณที่รู้จักและน่าสนใจจึงอยากใช้สกิลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการทำงานจริงๆ ได้ลงสนามจริงๆ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นจริงค่ะ

ภัทริกา นพฤทธิ์
นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป Have a Rest

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะ Tinkering Pot แสนสิริ น้องๆ นักศึกษา หรือหลายๆ คนที่ลุกขึ้นมาร่วมมือปรับพื้นที่ชีวิตในครั้งนี้ ก็ไม่ได้มีใครอยากได้เวทีในการแสดงศักยภาพ หรืออยากได้รั้วบ้านมาตีกรอบชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ แต่อยากจะให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแท้จริง พร้อมกับเปลี่ยนย่านเศรษฐกิจธรรมดาให้กลายเป็นย่านเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ น่าอยู่ และคงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

มาสัมผัสความกลมกล่อมของธรรมชาติ คน และศิลปะ ที่ผนวกกันเพื่อส่งต่อความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้ง ไปพร้อมกันได้ในวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์นี้ ตั้งแต่เวลา 14.00 -21.00 น. ที่โครงการ THE LINE Phahon-Pradipat

…ที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ซึ่งกำลังส่งสารเรียกหาทุกคน ให้เข้ามาสัมผัสและซึมซับการหลอมรวมความแตกต่างของธรรมชาติ ศิลปะ และผู้คน แล้วออกเดินหน้าสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน…

Related Articles

versailles Olympics Paris 2024

พระราชวังแวร์ซายจากตำนานราชวงศ์สู่สนามแข่งระดับโลก

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่ถือเป็นไอคอนนิคของประเทศฝรั่งเศส หนึ่งในลิสต์ที่ทุกคนพูดถึงคงหนีไม่พ้นพระราชวังแวร์ซาย และทุกคนรู้ไหมว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ด้วยนะ ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแข่งม้าที่สวยงามไม่แพ้กับสนามกีฬา Eiffel Tower Stadium หรือ Place de la Concorde ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดเลยนะ วันนี้ Sansiri Blog

Olympics

OLYMPIC GAMES Paris 2024 เล่าเรื่องราวของการดีไซน์ในเมืองศิลปะ ผ่านการจัดงานแข่งกีฬาระดับโลก

Paris2024 ที่นี่ “ปารีส” มหานครแห่งศิลปะ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33 หรือ “Paris 2024”  การกลับมาในฐานะเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง หลังผ่านไป 100 ปี งานนี้ทางฝรั่งเศสนั้นเรียกได้ว่าทุ่มสุดตัวจริงๆ ทำให้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างผ่านการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” คำขวัญประจำชาติของฝรั่งเศสได้ถูกนำมาเรียงร้อยไปในการออกแบบและจัดงานอย่างกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็น

BELLOW! อย่าง สีเหลือง ... อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

BELLOW! อย่าง สีเหลือง … อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

อย่าง “สีเหลือง” เบลโล่วว!  พร้อมแจกความสดใสไปทั่วเมืองกับเหล่าวายร้ายจอมป่วน “MINION” ที่กลับมาสร้างสีสันความสนุกอีกครั้ง ทำให้ปิ๊ง! ไอเดียและได้แงบันดาลใจจากสีเหลือ เหล่านี้ ถ้านำมาแต่งบ้าน จะนำไปแมตช์ตรงไหนให้ดูสนุกและสดใสได้บ้างนะ มาดูกันเลย สีเหลืองเป็นสีสันแห่งความสุข ความสดใส สร้างความคิดสร้างสรรค์ และเติมแรงบันดาลใจ หากเลือกโทนสีที่ใช่และเลือกใช้ให้ลงตัว เช่น การไล่เฉดสีเข้ม-อ่อน และจัดสรรสัดส่วนให้พอเหมาะ