ออกสตาร์ทสู่ความยั่งยืน
ลาขาดชีวิตบนกองขยะ
แล้วมาอินสไปร์ด้วยงานศิลปะ

ธรรมชาติคือผู้สร้าง คนเปรียบเสมือนผู้ดูแล ส่วนศิลปะนั้น…ก็เป็นดังส่วนผสมที่เบลนด์เป็นแรงบันดาลใจให้กับโลกของเราในปัจจุบัน

ธรรมชาติ คน และศิลปะ 3 สิ่งที่รูปร่างหน้าตาต่างกัน ความหมายก็คนละเรื่อง(เดียว)กัน แต่กลับซ่อนความเชื่อมโยงและความเข้ากันไว้ตลอดเวลา จนไม่น่าเชื่อว่าวันนี้การยึดโยงบนฐานสุดแตกต่างของทั้ง 3 สิ่งได้จุดประกายให้เกิดพื้นที่ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่แฝงพลังสร้างสรรค์และความเข้าใจไลฟ์สไตล์คนเมืองไว้เต็มเปี่ยมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

พื้นที่ที่ว่าก็ไม่ใช่พื้นที่ไกลตัวที่ไหน แต่เป็นพื้นที่ในงาน Bangkok Design Week 2020 เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 ที่ไหลเวียนไปด้วยแนวคิดทันสมัยอย่าง “Resilience : New potential for living ปรับตัว > อยู่รอด > เติบโต”

สงสัยใช่ไหมล่ะ ว่าพื้นที่นี้มันคืออะไร? ก็พื้นที่ที่เกิดจากพลังของนักสร้างสรรค์ซึ่ง ‘แสนสิริ’ เองได้มีส่วนร่วมเป็นหนึ่งกำลังปลูกสร้างสิ่งดีๆ ด้วยแนวคิดที่ว่า ‘SHAPING NEIGHBORHOODS’ เพื่อจะส่งผ่านความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตดีๆ จากสิ่งที่เราลงมือทำไปสู่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็น

“EATS MEET WASTE” งานดีไซน์ที่มีความหมายมากกว่าศิลปะ บนขบวนรถเข็นสตรีทฟู้ดในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ และเกิดมาเพื่อช่วยปรับยกคุณภาพด้านการจัดการเศษขยะจากอาหาร และเติมความเข้าใจเรื่องนี้ให้เต็ม 4 ห้องหัวใจคนเมือง

งานอาร์ต Above the Line ที่รังสรรค์โดย SUNTUR ศิลปินชื่อดังสุดมีสไตล์

“HAVE A REST” ผลงาน installation จุดพักคอยระหว่างรอรถท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านของการสัญจร

รู้นะ ว่ามีคนแอบสงสัยว่า 3 งานอาร์ตนี้ จะเป็นอะไรได้มากกว่าสิ่งที่ตาเห็นหรือเปล่า? หรือว่าจะมีความหมายอะไรกับมนุษย์อย่างเรากันแน่?

ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างไร้ชีวิต แต่คือ…การใช้ชีวิต

เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่อย่างเราๆ ไม่ได้เลือกที่อยู่อาศัยเหมือนแต่ก่อนที่มักจะเป็นการอยู่อาศัยแบบแยกกันอยู่ ตัวใครตัวมัน ข้างบ้านฉัน…ไม่ต้องรู้จักกันก็ได้ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว อาจจะเพราะความเปลี่ยนไปของโลกได้ทำให้วัฒนธรรมนั้นแปรรูป กลายร่างไป เหมือนที่เราเห็นได้ว่าคนหันหน้ามาคุยกันมากขึ้น แล้วก็ใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้นจริงๆ

เคยมีคำกล่าวหนึ่งของคุณอู้ นพปฎล พหลโยธิน Chief Creative Officer ของแสนสิริที่เล่าไว้ว่าเมื่อไหร่ที่คนทั้งโลกพยายามจะวิ่งเข้าหาเมืองมากขึ้น ภายในเมืองก็จะถูกจำกัดด้วยพื้นที่ที่เล็กลงเรื่อยๆ คำถามก็คือ แล้วเราจะทำให้คนแฮปปี้กับพื้นที่ที่จำกัดแบบนี้ยังไงดี?

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-01

คำตอบที่ออกมาวันนี้ ก็ไม่ใช่อะไร THE LINE Phahon-Pradipat นี่ล่ะ คำตอบที่ถูกออกแบบมาให้อยู่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียว พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางให้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างแท้จริงไม่ใช่ผิวเผิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เราเริ่มคุ้นเคยกันดีอย่าง co-working space

“คน เป็นหัวใจสำคัญ เราไม่ได้มองว่าคอนโดเป็นผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราพยายามใส่ใจ community การเข้าใจสิ่งแวดล้อม รวมถึงใส่ใจแม้กระทั่งเรื่องการกำจัดขยะโดยรอบที่ไม่ใช่แค่ในรั้วของเรา”

– คุณนพปฎล พหลโยธิน
Chief Creative Officer, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) –

แต่แน่นอน ไม่ใช่แค่นั้น แสนสิริยังหยิบเอาศิลปะเข้ามาผสมผสานกับธรรมชาติของการเป็นอสังหาฯ ได้อย่างกลมกล่อม เพื่อที่จะสะท้อนความยั่งยืนออกไปทุกทิศทาง พร้อมกับเปลี่ยนให้บรรยากาศเดิมๆ ในย่านที่เราเอื้อมมือเข้าไป เป็นบรรยากาศของความผ่อนคลายสุดชิลล์

แถมยังชวนให้อินและดื่มด่ำจนลืมตัวไปกับงานอาร์ตที่แฝงอยู่มากขึ้นด้วย เหมือนกับที่งานนี้ เราได้ตื่นตาตื่นใจ ยกมือกุมอก ทันทีที่เห็นผลงานสุดครีเอทีฟของ SUNTUR ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่ THE LINE อยากจะส่งมอบไปยังลูกบ้านทุกๆ คน

ไม่ใช่แค่งานอาร์ต แต่เป็นการส่งสาร Above the Line

เรียบแต่ดูดี มีเสน่ห์ท่ามกลางธรรมชาติ…แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคำนิยามผลงานของศิลปินนักวาดภาพประกอบชื่อดังอย่าง SUNTUR (ซันเต๋อ) เลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่ “Above the Line” งานอาร์ตตลอดแนวกำแพงสูงใหญ่ที่ SUNTUR รังสรรค์ไว้เหนือเมืองกว้าง ณ ย่านประดิพัทธ์

“มันคือเซ็ตภาพ Above the Line ที่บอกเล่าว่าไม่ว่าคุณจะอยู่สูงแค่ไหน ก็ยังสามารถสัมผัสได้ถึงธรรมชาติ”

 – SUNTUR

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-02

ภาพของผู้คนและธรรมชาติที่ผ่านการตัดทอนให้เรียบง่าย ถูกถ่ายทอดออกมาบนเซ็ตผลงานศิลปะทั้ง 3 ชิ้น ที่ SUNTUR มอบไว้ให้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวจากมุมสูงของคอนโด THE LINE Phahon-Pradipat โดยมี “ธรรมชาติ” เป็นหัวใจหลัก ราวกับผลงานนี้กำลังส่งเสียงบอกว่า ไม่ว่าเราจะอยู่สูงแค่ไหน ก็อยู่กับธรรมชาติได้

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-03

ยิ่งไปกว่านั้น ศิลปินสุดแนวคนนี้ยังตั้งใจที่จะให้ทุกคนที่เห็นผลงานชิ้นนี้ ได้สัมผัสถึงความสวยงามของธรรมชาติแม้กระทั่งในภาพวาด พร้อมกับตั้งใจที่จะส่งต่อความยั่งยืนผ่านงานศิลปะไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ไม่ใช่รั้วบ้าน แต่เป็นการจัดรูปแบบพื้นที่ เพื่อความยั่งยืนไร้ขอบเขต

ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ลงหลักปักฐานของโครงการ THE LINE Phahon-Pradipat และเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และผู้คนมากหน้าหลายตา หลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงหลากหลายความถนัด

“ความตั้งใจของพวกเราคืออยากใช้ศักยภาพ ความหลากหลาย มาเปลี่ยนบริบทสภาพแวดล้อมในย่านเราให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการ Shaping Neighborhood”

– คุณปิยา ลิ้มปิติ ตัวแทน Tinkering Pot
กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ –

นี่คือ 1 เสียงแห่งความมุ่งมั่นจาก Tinkering Pot กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ ที่เปลี่ยนแนวคิดเดิมมาเป็นการเดินเท้าก้าวสู่การพัฒนา ปรับปรุง และจัดรูปจัดทรงพื้นที่ย่านนี้ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ยาวนานไปจนถึงอนาคต…ยาวนานชนิดที่ไร้ขอบเขตของเวลา เพื่อทุกๆ ชีวิตในย่านแห่งนี้ โดยผ่านการสนับสนุนและร่วมมือจากองค์กรมากมาย รวมถึงแสนสิริด้วยเช่นกัน

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-04

นี่คือการล้อมรั้วให้คนในย่านนี้ใช้ชีวิตอย่างจำกัด ไม่สะดวกสบาย ไม่เป็นตัวของตัวเองหรือเปล่า? บางคนอาจกำลังสงสัยอะไรแบบนี้ บอกได้เลยว่า  “เปล่า” เพราะการลุกขึ้นมาร่วมมือพัฒนาพื้นที่ย่านนี้ เป็นการจัดการกับพื้นที่ชีวิตในเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในแบบที่ช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากกว่าที่เคย

ตัวอย่างเช่น “7 Minutes Seat” ที่พักคอยแนวยาวริมฟุตบาท ที่พัฒนามาจาก workshop สุดเจ๋งอย่าง “Have a Rest” เพื่อตอบโจทย์คนเมืองย่านนี้แบบโดนใจเต็มๆ เพราะต่อให้ต้องยืนรอรถเมล์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือแท็กซี่ ในช่วงเวลาสั้นราว 7 นาทีนี้ ก็จะมีจุดให้พักนั่งพิง ปลดล็อกความเหนื่อยล้าระหว่างการเดินทางไปได้มากทีเดียว ที่สำคัญ ยังไม่ต้องไปยืนเก้ๆ กังๆ ขวางคนที่เดินสวนไปมา หรือพลัดตกลงถนนขวางรถให้หวาดเสียวกันเลย

Sansiri-Shaping-Neighborhoods-05

อีกสิ่งที่ไม่เหลียวมองเห็นจะไม่ได้ ก็ต้องยกให้ผลงานจากการจับมือกันกับร้านค้ารถเข็นเพื่อที่จะลดและกำจัดขยะกองโตในแต่ละวัน เพราะทุกวันนี้นั้น ร้านค้ารถเข็นหรือร้านค้า street food เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งของขึ้นชื่อของไทย เลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีขยะจากการค้าขายเกิดขึ้นมามหาศาล

และสิ่งที่กลุ่ม Tinkering Pot ได้เข้าไปลงมือปรับใหม่ ก็คือการหาทางออกที่มีประสิทธิภาพให้ทั้งร้านค้าและเมืองแห่งนี้อย่างไม่มีใครต้องช้ำใจ ไม่ว่าจะการแนะนำร้านค้าให้ส่งสารบอกเหล่าผู้ซื้อ ให้นำภาชนะมาใส่อาหารกลับไปฟินต่อที่บ้านแทนการใช้กล่องโฟม หรือการส่งต่อความรู้ให้ร้านค้าเหล่านั้นเข้าใจว่าการคัดแยกขยะเรียกได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญในการออกสู้รบ สู่การมีชีวิตที่มีคุณภาพและอยู่อย่างยั่งยืนเลยก็ว่าได้

“ในระยะยาวเรามีเป้าหมายอยากให้เกิดความยั่งยืนในการรวมตัวกัน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนความยั่งยืนในต้นทุนความคิดสร้างสรรค์”

– คุณนัฐพงษ์  พัฒนโกศัย ตัวแทน Tinkering Pot
กลุ่มนักออกแบบย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ –

ซึ่งโปรเจกต์ครั้งนี้ของ Tinkering Pot และแสนสิริ ได้เปิดโอกาสให้น้องๆ นิสิต นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อการสร้างสรรค์ชุมชมที่ยั่งยืน ผ่านการทำ Workshop อย่างเข้มข้นตั้งแต่กระบวนการแรกๆ เพื่อส่งต่อแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม จนออกมาเป็นผลงานทั้งสองชิ้นอย่าง 7 Minutes Seat และ Eats Meet Waste 

ผมเกิดปัญหาในใจว่าเรามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนได้ไหม พอเห็นทางเเสนสิริได้จัด workshop จึงลงสมัครเข้าร่วมโครงการทันทีเพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาเเบบจริงๆ ถึงเเก่นของปัญหา เเละได้ฝึกระบบกระบวนการคิดใหม่ ที่สำคัญได้เรียนรู้วิธีการทำงานเเบบมืออาชีพ และเป็นทีมด้วยครับ 

เมกวิน เมธีวรรณกุล
นักศึกษาจากวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป Eats Meet Waste –

พื้นที่บริเวณย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ เป็นบริเวณที่รู้จักและน่าสนใจจึงอยากใช้สกิลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการทำงานจริงๆ ได้ลงสนามจริงๆ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นจริงค่ะ

ภัทริกา นพฤทธิ์
นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป Have a Rest

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะ Tinkering Pot แสนสิริ น้องๆ นักศึกษา หรือหลายๆ คนที่ลุกขึ้นมาร่วมมือปรับพื้นที่ชีวิตในครั้งนี้ ก็ไม่ได้มีใครอยากได้เวทีในการแสดงศักยภาพ หรืออยากได้รั้วบ้านมาตีกรอบชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ แต่อยากจะให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแท้จริง พร้อมกับเปลี่ยนย่านเศรษฐกิจธรรมดาให้กลายเป็นย่านเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ น่าอยู่ และคงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

มาสัมผัสความกลมกล่อมของธรรมชาติ คน และศิลปะ ที่ผนวกกันเพื่อส่งต่อความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้ง ไปพร้อมกันได้ในวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์นี้ ตั้งแต่เวลา 14.00 -21.00 น. ที่โครงการ THE LINE Phahon-Pradipat

…ที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ซึ่งกำลังส่งสารเรียกหาทุกคน ให้เข้ามาสัมผัสและซึมซับการหลอมรวมความแตกต่างของธรรมชาติ ศิลปะ และผู้คน แล้วออกเดินหน้าสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน…

Related Articles

BehindTheDesign_Ep02-3

Behind the design EP.2 สายรักษ์โลก VS นักดีไซน์บ้าน จะเดินอยู่บนเส้นทางเดียวกันได้อย่างไร ?

ในทุกวันนี้มนุษย์กำลังเผชิญสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว หลายพื้นที่ของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสถานการณ์ ไฟป่า ภัยแล้ง ภัยพิบัติ คลื่นความร้อน น้ำท่วม พายุฝน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน แน่นอนว่าปัญหากำลังเกิดขึ้นในบ้านของเราทุกคน ‘บ้าน’ ที่ถูกนิยามว่า ‘โลก’ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่ทำให้เกิดการผลิต การบริโภค และการทิ้งที่มากขึ้นทวีคูณ วันนี้ Behind

behind the design

Behind the Design: ตี่ลี่ฮวงจุ้ย – หลักการดีไซน์ หยินหยางของบ้านที่ขาดกันไม่ได้

‘บ้าน’ คือพื้นที่ที่สำคัญต่อความรู้สึก ซึ่งนิยามอาจแตกต่างกันไปในหลายมุมมอง Behind The Design จะชวนมาฟังความหมายของบ้านที่ดี โดยเล่าจากสองศาสตร์ที่บางคนอาจคิดว่าอยู่ตรงข้ามกันคนละขั้ว นั่นก็คือศิลปะแห่งการออกแบบอันเป็นสากล Architecture & Interior Design และศาสตร์แห่งตี่ลี่ฮวงจุ้ย ที่เชื่อมโยงไปด้วยกันได้อย่างเหนือคาด รู้จักตี่ลี่ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ย หมายถึง ธรรมชาติ ทำเล

จากเศษวัสดุก่อสร้าง สู่กระถางต้นไม้รักษ์โลก

การจัดการของเสียในพื้นที่ก่อสร้างของแสนสิริ เราทำมากกว่าการคัดแยก เพราะเรานำไปจัดการอย่างถูกวิธี เราให้ความสำคัญกับการนำของเสียที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือทำประโยชน์ต่อได้ อย่างเศษคอนกรีตมวลเบา (Q-CON) แสนสิริร่วมมือกับ SCG นำเศษคอนกรีตมวลเบาเหลือทิ้งจากการก่อสร้าง ส่งต่อไปยังชุมชนบางกระสั้น อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการอบรมเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตเป็นสินค้าดีไซน์สวยงามอย่างกระถางต้นไม้ นอกจากจะช่วยลดขยะในพื้นที่ก่อสร้างของแสนสิริเองแล้ว ยังสามารถนำกระถางต้นไม้แปรรูปนี้ กลับมาใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายในโครงการได้อีกด้วย รวมถึงช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนไปอีกทาง