กอร์มลีย์ให้นิยามผ่านคำอธิบายสั้น ๆ ถึงความเข้าใจด้านศิลปะในเรื่อง “ร่างกาย” และ “พื้นที่” ไว้ว่า
ผมไม่ได้สนใจที่จะทำรูปปั้น แต่ผมอยากรู้ว่า ธรรมชาติของร่างกายที่มนุษย์อาศัยอยู่คืออะไร
จากคำถามเล็กๆนี้ได้จุดประกายแนวคิดใหม่แห่งวงการศิลปะ นั่นคือแม้ว่าแรงบันดาลใจอาจจะมีอยู่รอบตัวและเราต่างก็มองหามันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แต่กอล์มลีย์ได้แรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะโดยเริ่มจากตัวเขาเอง
กอร์มลีย์ได้เริ่มลงมือสร้างผลงานศิลปะโดยใช้ “ตัวเอง” เป็นแบบในการล่อขึ้นรูปงานประติมากรรมซึ่งตรงนี้เองทำให้เข้าใจถึง เรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่ว่างในร่างกายมนุษย์ เมื่อเขาต้องทนอยู่ภายในเบ้าหล่อปูนปั้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ทำให้เกิดการหยั่งลึกถึงที่ว่างในจิตใจและพื้นที่ว่างภายนอกร่างกายมนุษย์ โดยการนำประติมากรรมเหล่านี้ ไปจัดแสดงในที่สาธารณะ เช่น ตามชายหาด ตึกสูงระฟ้า และถนนในเมืองใหญ่ เพื่อถ่ายทอดและส่งต่อเรื่องราวของการมีตัวตนในพื้นที่ต่างๆในแง่มุมที่หลากหลายตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ตามคอนเซปต์ของกอร์มลีย์ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของ “ร่างกาย” และ “ที่ว่าง”
ด้วยแรงบันดาลใจที่อยากเล่าเรื่องร่างกายอย่างเต็มเปี่ยม เรื่องราวของ The BLOCKWORK Series จึงถือกำเนิดขึ้นในราวปี 2001–2003 ด้วยแนวคิด “อัดแน่น ตกตะกอน ระเหิด (CONCENTRATE, PRECIPITATE, SUBLIMATE)” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่กับจิตใจของเราตลอดเวลา
งานชุดแรก ๆ ของซีรีย์นี้ (Early BLOCKWORKS) สร้างขึ้นจากบล็อคเหล็กกล้าสี่เหลี่ยมนำมาเรียงต่อกัน แต่ด้วยปัญหาด้านน้ำหนักทำให้ไม่สามารถเรียงบล็อคได้อย่างลงตัว แต่กลับกลายเป็นบล็อครูปทรงมนุษย์ที่ยุ่งเหยิง ชี้ไปชี้มา กอร์มลีย์จึงตั้งชื่อผลงานว่า DISTRESS, 2001 ซึ่งแสดงถึงความว้าวุ่นภายใจจิตใจของมนุษย์ ความท้าทายของซีรีย์นี้จึงเป็นการพัฒนาชิ้นงานให้มีความลงตัวระหว่างพื้นที่ของบล็อคแต่ละชิ้นที่นำมาวางให้ได้สัดส่วนของการบีบอัดและขยาย (cohesion and expansion) ผลงานชิ้นต่อมาของเขาจึงมุ่งไปที่ความหนาแน่น จนเกิดเป็นผลงาน CONCENTRATE I, 2003 ซึ่งเป็นงานเหล็กกล้าเช่นเดิม แต่ด้วยกรรมวิธีอัดแน่นทำให้งานชิ้นนี้แสดงความหนาแน่นและความอัดแน่นของเหล็กมากขึ้น กอร์มลีย์ใส่ใจกับเรื่องการวางตำแหน่งของแต่ละบล็อค ทั้งในเชิงรูปทรงเรขาคณิตและการสร้างขอบเขตของชิ้นงานที่ทำให้ผู้เสพงานศิลปะสามารถจินตนาการเรื่องราวได้ด้วยตัวเอง
‘LOOK’ ถือเป็นผลงานอีกชิ้น ที่จะถ่ายทอดแนวคิดความสัมพันธ์ของที่ว่าง (SPACE) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอกของประติมากรรมหรือสถานที่ที่ตั้งประติมากรรม (PLACE) กับตัวผู้ชมงานที่กำลังมองห็นถึงความพิเศษของงาน‘LOOK’ จึงดึงผู้ชมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับงานศิลปะได้ทันทีเพียงแค่เราอยู่ในสถานที่ที่ ‘LOOK’ ตั้งอยู่ ความตื่นเต้นคือความสัมพันธ์ระหว่างเรากับชิ้นงานที่เปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่เรายืนมอง ไม่ว่าเราจะยืนอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังชิ้นงานนั้น หรือแม้กระทั่งแสงไฟที่ตกกระทบลงบนผลงาน ก็ทำให้มุมมองของผู้ชมเปลี่ยนไปได้ ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของกอร์มลีย์ที่ต้องการให้ผู้ชมงานตีความศิลปะไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสถานที่จากประสบการณ์ของผู้ชมมากกว่าการตีกรอบทางความคิดโดยศิลปิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิกร คงคา ประธานสาขาวิชาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังให้ความเห็นว่า “หากดูจากด้านข้าง เราจะรู้สึกเหมือนมันโน้มเอียงอยู่ แต่มันก็อยู่ของมันได้ ตรงนี้ผมว่า เป็นความเชี่ยวชาญของศิลปินที่สามารถกำหนดโครงสร้างให้หมิ่นเหม่ และยังดูสวยงาม”
แนวความคิดเรื่องความสัมพันธ์ของที่ว่างร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมภายนอก จากงานของกอร์มลีย์เรียบง่าย แต่ทรงพลังทางความคิด สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ระหว่างตัวเรากับสิ่งรอบข้าง ความลงตัวระหว่างที่ว่างและกาลเวลาที่เปลี่ยนไป เมื่อลองปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดมุมมองใหม่ที่สร้างสรรค์ได้ตลอดเวลาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้สัมผัสถึงตัวเองผ่านงานศิลปะที่เลือกมาอย่างประณีตและมีความหมาย ‘LOOK’ สร้างมูลค่าแก่สถานที่ ทำให้ที่ต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นงานศิลปะที่ใส่ใจในรายละเอียดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้านแสนสิริเล็งเห็นว่า ศิลปะของกอร์มลีย์นั้นสามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยด้วยการปรับใช้เจตนารมณ์ของกอร์มลีย์ในการสร้าง ‘LOOK’ ที่แสดงถึงการ “อัดแน่น ตกตะกอน ระเหิด” จนเกิดความรู้สึกได้หลายแบบ ทั้ง ความหนักแน่นทางกายและจิตใจ ความอ่อนไหวของร่างกาย และการปลดปล่อยความคิดให้ระเหิดออกมาเป็นความสร้างสรรค์ใหม่ๆจากตัวเรา
ผู้เข้าร่วมงานหลายคนชื่นชมกับการสร้างสรรค์ศิลปะนี้ คุณปี๊ป – อธิชัย โปษยานนท์ เซเล็บหนุ่มที่หลงใหลในงานศิลปะ ยังได้กล่าวถึงความรู้สึกประทับใจจากการเข้าร่วมชมงานเป็นการตอกย้ำถึงความยอดเยี่ยมของงานศิลป์ชิ้นนี้ว่า “ต้องยอมรับว่า ในมุมมองของผม มัน (LOOK) เป็นมาสเตอร์พีซ คือมันทำจากหินรวมทั้งหมด 670 กิโลกรัม แต่เขาจัดวางได้อย่างไรให้ดูงดงามแบบนี้ ดูเป็นมาสเตอร์พีซตามหลักสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมด้วย และเป็นความสวยงามของ body มนุษย์ ดูแล้วรู้สึกว่ามันเท่มาก”
ประติมากรรมระดับโลก ‘LOOK’ โดยเซอร์แอนโทนี่กอร์มลีย์ ในงาน ‘In Between Body and Space’ ณ แสนสิริเลานจ์ (Sansiri Lounge) ชั้น 3 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ตั้งแต่วันนี้ถึงวันเสาร์ที่ 30 กันยายนตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 น.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-610-9207-9
#GormleyXSansiri #AntonyGormley #SansiriLounge
ติดตามเรื่องราวที่จะ Fill Your Life With Good ได้ที่ Social Media ทุกช่องทางของแสนสิริ
www.twitter.com/sansiriplc
https://www.facebook.com/sansirifamily/
www.instagram.com/sansiriplc
https://www.sansiri.com/blog/