โลกในปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลคือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน เราทุกคนย่อมต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับความชาญฉลาดของโลกในยุคนี้ การใช้ชีวิตในทุกด้านได้ถูกเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ โครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เดินหน้าผลักดันและนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับชีวิตความเป็นอยู่ในเมือง เพื่อช่วยในการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนและภาคธรุกิจมีความสะดวกสบาย ไปจนถึงช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมเติบโต
โดยโครงการ Smart City ได้เลือกเมืองต้นแบบอันเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่าง ภูเก็ตสร้างสรรค์โครงการ Phuket Smart City ที่เน้นการสร้างอุตสาหกรรมที่ 2 คืออุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และมุ่งหน้าพัฒนาสองอุตสาหกรรมนี้ควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน เริ่มต้นที่เขตเทศบาลเมืองป่าตองและเขตเทศบาลเมืองภูเก็ตเป็นอันดับแรก
Model ของ Phuket Smart City
แนวคิดของโมเดลการพัฒนาสองอุตสาหกรรมควบคู่กันของ Phuket Smart City นั้น คล้ายคลึงกับหลักการดำเนินการธุรกิจของแสนสิริ “Journey for Tomorrow” ที่มุ่งสรรหานวัตกรรมซึ่งสามารถต่อยอดธุรกิจขององค์กรได้อย่างยั่งยืน เพราะนอกจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแล้ว แสนสิริยังมีธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น โรงแรม และรีเทลล์ มอลล์ อีกด้วย ซึ่งถ้านำมาเปรียบเทียบกันแบบคู่ขนานแล้ว คงต้องนึกถึงธุรกิจด้าน Property Technology อย่าง “Siri Venture” ของแสนสิริที่เกิดขึ้นภายใต้การร่วมทุนแบบ Venture Capital กับธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถสร้างเครือข่ายกับผู้พัฒนานวัตกรรมด้าน Property Technology หรือสตาร์ทอัพได้อย่างน้อย 300 รายภายในปี พ.ศ. 2563 เช่นเดียวกับเป้าหมายของการเป็น Phuket Smart City อย่างเต็มตัวแล้ว เมื่อเทียบกันแบบ Macro และ Micro มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
ขั้นตอนสู่การสร้าง Smart City และ Digital Transformation
TO BECOME A SMART CITY | ภูเก็ต: PHUKET SMART CITY (เมืองใหญ่ – MACRO) | แสนสิริ: DIGITAL TRANSFORMATION (สังคมย่อย – MICRO) |
PHASE 1:
การนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล |
พัฒนาเมืองให้กลายเป็น Smart City ในมิติต่างๆ อาทิ มิติด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Smart Economy) ด้านการท่องเที่ยว (Smart Tourism) ด้านสาธารณสุข (Smart Health) ด้านการดำเนินชีวิต ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (Smart Living) การบริหารเมืองแบบ Smart City ผสมผสานข้อมูลทั้งในลักษณะข้อมูลเชิงสำรวจแบบสถิติ และข้อมูลที่จัดเก็บได้แบบปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things เช่น Sensor, CCTV รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากสังคมออนไลน์ ทำให้เมืองสามารถมีข้อมูลในการบริหารอย่างชาญฉลาด | พัฒนาธุรกิจในรูปแบบ Digital Transformation ปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับยุคดิจิทัล ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เข้าสู่รูปแบบ Mobile Centric อำนวยความสะดวกในยุคที่โลกออนไลน์มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน เช่น การพัฒนา SANSIRI ONLINE BOOKING ระบบจองออนไลน์ที่สามารถจองยูนิตคัดพิเศษได้ง่ายๆ จากทุกที่ 24 ชั่วโมง ผ่าน Smart Devices หรือ Desktop PC เพียงแค่คลิกเดียว |
PHASE 2:
การบริการภาครัฐ (e-Government) อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เกี่ยวกับการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ |
อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เกี่ยวกับการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุน การเริ่มทำธุรกิจ และการอนุมัติ อนุญาตต่างๆ รวมถึงการเปิดให้เกิดการเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Open Data) เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ในเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการได้ | การอำนวยความสะดวกให้กับการอยู่อาศัยในทุกมิติ สะดวกสบายผ่าน Home Service Application ซึ่งได้ริเริ่มพัฒนาเป็น Mobile Application มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 บริการที่เหมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัวช่วยจัดการทุกเรื่องบ้าน ตั้งแต่ก่อนโอน จนเข้าอยู่ จบครบครันในที่เดียว |
PHASE 3: การส่งเสริมให้ Smart City เกิดความยั่งยืน | เน้นที่การใช้ประโยชน์จากการเตรียมการด้านดิจิทัลทั้งหมด โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และท้องถิ่น โดย ผู้ว่าฯช่วยกันวางแผนให้เกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลการเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน, Content และ Big Data ส่วนการบริหารจัดการจะดำเนินการโดย หน่วยงานท้องถิ่น คือจังหวัด หรือเมือง อาทิ eService, eMarket place | หลักการดำเนินการธุรกิจของแสนสิริ “Journey for Tomorrow” ที่มุ่งสรรหานวัตกรรม ซึ่งสามารถต่อยอดธุรกิจขององค์กรได้อย่างยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์การตลาดแบบ Experience Marketing มุ่งมั่นในการสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตในรูปแบบที่ล้ำสมัยและเข้าใจผู้บริโภคอย่างไม่หยุดนิ่ง |
การสร้าง Smart City และ Digital Transformation ที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ 3 ส่วน คือ
TO BECOME A SMART CITY | ภูเก็ต: PHUKET SMART CITY (เมืองใหญ่ – MACRO) | แสนสิริ: DIGITAL TRANSFORMATION (สังคมย่อย – MICRO) |
Smart Economy | การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่ 2 ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยมุ่งเน้นทางด้านเทคโนโลยี ให้เป็นแหล่งรวมนักพัฒนา ในลักษณะของ Research Center หรือ Innovation Center และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหันมาใช้ Smart Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจมากขึ้น
สร้าง ecosystem ของ Startup ในภูเก็ต ดึงดูดให้เกิดการลงทุนและการหลั่งไหลของ digital worker และDigital Talent จากต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการส่งออกผ่านระบบ eLogistic, eMarketplace, ePayment ด้วย |
SIRI Venture บริษัทร่วมทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital ระหว่างแสนสิริและธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อทำการวิจัย และลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมด้าน Property Technology เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสหกรรม Property Tech หรือ Technology อื่นๆ ที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้ลูกค้า รวมถึงเป็น Property Technology Accelerator สนับสนุนและเฟ้นหา Startup ในสาย PropTech เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีศักยภาพเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ |
Smart Living Community | ชุมชนที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ โดยมีการนำระบบ CCTV เข้ามาช่วยเฝ้าระวัง และทำงานร่วมกับโซลูชันตรวจจับใบหน้า เพื่อตรวจสอบและติดตามผู้กระทำผิด เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปที่เจ้าหน้าที่ และการปรับใช้เทคโนโลยีนี้ยังช่วยให้เมืองภูเก็ตสามารถสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่แบบออนไลน์เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย | เพราะความชาญฉลาดของโลกดิจิทัลส่งผลต่อไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป จึงมีการนำระบบ Smart Home Integration มาใช้กับโครงการ 98 Wireless และโครงการ The XXXIX
ตัวอย่างเช่น ระบบ Home Automation ระบบสั่งการอัจฉริยะ ที่ใช้ควบคุมการเปิด-ปิดแอร์ ไฟ และกลอนประตูดิจิทัล ถูกนำมาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น เดอะ ไลน์ อโศก-รัชดา, โครงการแนวราบ, โครงการในจังหวัดภูเก็ต |
Smart Sensor | นำเซ็นเซอร์ที่ผสมผสานเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ทำให้สามารถตรวจสอบสภาพอากาศ ตรวจเช็กสภาพของน้ำทะเล และตรวจสอบความผิดปกติ โดยเมื่อพบความผิดปกติ ระบบจะส่งข้อมูลกับมาที่ส่วนกลาง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที | ระบบเซ็นเซอร์ RFID เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณ RFID (Radio Frequency Identification) ที่ตรวจทั้งรถและคนเข้าออก ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมี Video Phone ที่สามารถเห็นหน้าแขกผู้มาเยือนก่อนอนุญาตให้เข้าพบ ระบบประตูเข้าออก 2 ชั้น ล็อคอัตโนมัติ เพิ่มความปลอดภัยอย่างสูงสุด |
หากเจาะลึกที่ไฮไลท์สำคัญของแสนสิริ “สิริ เวนเจอร์” (SIRI VENTURE) บริษัทร่วมทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital ที่ทำการวิจัยและลงทุนด้าน PropTech นั้นได้ทำให้วิสัยทัศน์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ (R&D) ด้าน Property Technology (PropTech) อย่างเต็มรูปแบบเป็นรายแรกของไทย ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน ด้วยการเปิดโครงการ “Siri Venture Partnership” โดยรับสมัครทีมสตาร์ทอัพจำนวน 100 ทีม เพื่อพิจารณาคัดเลือกทีมศักยภาพสูงสุดมาเข้าร่วมพาร์ทเนอร์ชิพโปรแกรม ที่จะพัฒนาต่อยอดธุรกิจกับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ ในช่วงไตรมาส 3 เพื่อร่วมลงทุนและผลักดันนวัตกรรมให้ได้รับการจดสิทธิบัตรต่อไป พร้อมทั้งร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในอนาคตให้ไปได้ไกลในระดับโลก รวมทั้งเสริมการเติบโตให้กับธุรกิจหลักอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนโดยตั้งเป้าสร้างเครือข่ายกับผู้พัฒนานวัตกรรมใหม่ด้าน PropTech อย่างน้อย 300 รายภายในปี 2020
Model ของ Siri Venture
โดยไม่ใช่เพียงแค่นั้น เพราะ Digital Transformation ยังมองถึงอนาคตที่ยั่งยืน เพราะเทคโนโลยีกำลังจะลดข้อจำกัดต่างๆ เพราะในอนาคตจะมีการนำ เทคโนโลยีด้านสมาร์ทโฮม ไม่ว่าจะเป็นด้าน Home Automation, Security, ระบบสั่งการด้วยเสียง ระบบ Preventive Maintenance ภายในบ้าน ไปจนถึง Home AI หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีโรโบติกส์ ซึ่งสามารถพัฒนามาเป็นหุ่นยนต์ส่งของถึงห้องพักภายในอาคารคอนโดมิเนียมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัย ทั้งหมดนี้ คือ เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นกับโครงการของแสนสิริเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย เหมือนอย่างเช่นที่แสนสิริได้ทำและประสบความสำเร็จเสมอมา
เป็นส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ด้วยบทความเกี่ยวกับ Property Technology จากแสนสิริ บล็อก