“พฤติกรรมผู้บริโภค 2018 แบรนด์ปรับตัวให้ไว ตามใจลูกค้าให้ทัน”

ในปัจจุบันข้อมูลมีขนาดใหญ่มากและเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ เนื่องจากผู้ใช้งานมีความคุ้นเคยกับสื่อโซเชี่ยลมากขึ้น โดยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะทางในการวิเคราะห์ หากแต่เป็นการใส่ใจและคอยสังเกตการณ์ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมหรือแนวโน้มต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเราได้รับความรู้จาก คุณกล้า ตั้งสุวรรณ (ThothZocial) และ คุณภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (Wongnai) ในงาน Creative Talk Conference 2018 ที่ผ่านมาและจะนำมาบอกเล่ากันให้ฟังในบล็อกนี้

 

คุณกล้า ตั้งสุวรรณ (ThothZocial) และ คุณภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (Wongnai)

ขนาดของข้อมูลในปัจจุบันมีความใหญ่มาก

ประเภทของข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลภายในองค์กรและข้อมูลภายนอกองค์กร ซึ่งตัวข้อมูลที่ ThothZocial เก็บ คือ ข้อมูลประเภทนอกองค์กร อีกแง่หนึ่งก็คือข้อมูลที่เปิดเผยเป็นสาธารณะตามสื่อโซเชี่ยล ในขณะเดียวกันข้อมูลที่แอพพลิเคชั่นวงในเก็บ คือ ข้อมูลภายในองค์กร คือข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้งาน (User) ซึ่งข้อมูลทั้งสองล้วนสัมพันธ์และมีความสำคัญกันต่อการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งาน (User Behavior)

อ้างอิงจากแอพพลิเคชั่นวงในและการเก็บข้อมูลของ ThothZocial ปัจจุบันข้อมูลมีความใหญ่มาก โดยตัว ThothZocial เองเก็บมูลได้สามพันหกร้อยล้านต่อปี ไม่ว่าจะเป็นการเก็บจากสื่อโซเชี่ยลที่เปิดเป็นข้อมูลสาธารณะ

ข้อมูลประเภทการรีวิวหรือวิพากษ์วิจารณ์มีการเติบโตมากขึ้น 

จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน พบไปในทิศทางเดียวกันว่ามีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการโพสในสื่อโซเชี่ยลทั่วไปของผู้สูงวัย ที่มีความคุ้นชินกับสื่อโซเชี่ยลมากขึ้น หรือการเข้าใช้งาน (Engage) ของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นวงในที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากผู้ใช้มีความคุ้นเคยกับการโพสรีวิว อีกทั้งในปัจจุบันสินค้ามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้จึงต้องอาศัยการรีวิวเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ ดังนั้นในยุคปัจจุบันการรีวิวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการการันตีคุณภาพของสินค้าหรือตัวแบรนด์

กรณีศึกษาที่เคยทำสำเร็จจากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

กรณีศึกษาของ ThothZocial ที่วิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับร้านซูปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งชี้ให้เห็นว่าการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นอาศัยการตีความซ้อนอีกชั้นนึงด้วย

คีย์เวิร์คคำว่า “แม่” ที่ปรากฏขึ้นนำไปสู่การตีความว่าผู้ที่มาใช้บริการซูปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้คือลูกที่พาแม่มาซื้อของ

การตีความและพยายามทำความเข้าใจนำไปสู่การทำการตลาดได้เหมาะสมและถูกจุดกับกลุ่มลูกค้า เช่นเดียวกับวงในที่มีการสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้งานแอพลิเคชั่น และปรับเปลี่ยนให้ตรงกับการใช้งาน นำไปสู่การใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ThothZocial เสนอให้แบรนด์ต่าง ๆ อาศัยข้อมูลมาเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจมากกว่าจะใช้ “Common Sense” เนื่องจากข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลที่มีที่มาที่ไปและรองรับด้วยเหตุผลทำให้ส่งผลดีต่อตัวองค์กรมากว่า

คุณภัทราวุธ จากแอพพลิเคชั่นวงใน เสนอให้เราเริ่มหาหนทางใหม่ๆ (Plateform) หรือเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของสื่อโซเชี่ยลเช่นเฟสบุคที่มีนโยบายลดจำนวนการเข้าถึง (Reach) ลง

อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ ที่มาจากการสังเกตการณ์จะช่วยเพิ่มองค์ความรู้ของตัวแบรนด์หรือสินค้าเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีทำให้แบรนด์ได้ความยอมรับและไว้ใช้ในการใช้บริการไปพร้อมๆ กัน

สามารถชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ คลิก