เจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลก

เจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลก โอกาสในการใช้ไอเดียสร้างผลกำไร

ความเคลื่อนไหวของ เจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลก

ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวของ เจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลก อย่างโอลิมปิกอยู่ 2 เรื่องที่น่าสนใจ ข่าวแรกคือข่าวที่กรุงปักกิ่งของประเทศจีนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2022 โดยเอาชนะเมือง Almaty ในคาซัคสถาน โดยจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เมืองหนึ่งจะได้โอกาสเป็นเจ้าภาพทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวในวาระที่ต่างกัน ซึ่งสำหรับปักกิ่งก็เป็นระยะเวลาห่างกันเพียงแค่ 14 ปีเท่านั้นจากโอลิมปิกปี 2008

ส่วนอีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการแข่งเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 2024 นั้นตัวเก็งอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งตอนแรกส่งเมือง Boston เข้าร่วมได้ถอนเมืองนี้ออกเนื่องจากได้รับกระแสต่อต้านจากประชากรผู้เสียภาษีและพลเมืองชาว Boston จนทำให้ผู้ว่าการประจำเมืองตัดสินใจไม่เซ็นข้อตกลงเป็นตัวแทนของสหรัฐฯ และส่งผลให้คณะกรรมการโอลิมปิกของสหรัฐฯ ต้องขอถอน Boston ออกจากลิสต์อย่างเร่งด่วน ส่งผลให้สหรัฐอเมริกายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกเมืองใดเข้าร่วมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ณ ตอนนี้

กีฬาโอลิมปิกดูเหมือนจะมีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ดูจะเป็นเช่นนั้น ในปี 1948 ที่กรุงลอนดอนจัดโอลิมปิกฤดูร้อน คิดคำนวณตามอัตราเงินเฟ้อในช่วงกว่า 60 ปีที่ผ่านมา ประมาณออกมาเป็นค่าเงินปัจจุบันแล้วใช้งบอยู่ที่ 30 ล้านเหรียญ ส่วนโอลิมปิกที่ Los Angeles ในปี 1984 คิดคำนวณออกมาเป็นงบประมาณอยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญ ในขณะที่โอลิมปิกปี 2008 ที่ปักกิ่งใช้ 4 หมื่นล้านเหรียญอย่างที่บอก ที่ลอนดอนปี 2012 ย่อมเยาลงมาหน่อยใช้ไปเกือบ 1.5 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งเกินงบที่คาดการณ์ไว้ถึง 3 เท่า และล่าสุดโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมือง Sochi รัสเซีย ใช้งบไปถึงกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ

กีฬาโลก

ภาพจาก telegraph.co.uk

เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เค้าเปรียบเทียบว่างบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการจัดโอลิมปิก 1948 ที่ลอนดอนมีมูลค่าเท่ากับการจัดกีฬาประเภทเล็กๆ อย่างเรือแคนูประเภทสลาลมหาก Boston ได้เป็นเจ้าภาพปี 2024 แค่นั้นเอง หรือขณะที่งบประมาณทั้งหมดของโอลิมปิกเกมที่ Los Angeles ปี 1984 ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติอันใหม่ของโตเกียว ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง Saha Hadid ที่เคยเป็นแผนงานสำหรับปี 2022 ที่จะถึงนี้เลย

ท่านคงเห็นภาพใช่ไหมครับว่าทำไมถึงมีเสียงกระแสต่อต้านการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิกมาจากหลายฝ่าย ก็เพราะเม็ดเงินที่จะต้องทุ่มลงไปมันมากมายมหาศาลเสียเหลือเกิน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และดูเหมือนไม่สามารถควบคุมได้ แม้กระทั่งนาย Jacques Rogge ประธานโอลิมปิคสากลก็ยังเคยออกมาพูดในระหว่างดำรงตำแหน่งช่วงต้นทศวรรษที่แล้วว่า “เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มจำกัดค่าใช้จ่ายในการจัดโอลิมปิกและลดขนาดของมันลงเพื่อประเทศเจ้าภาพจะได้ไม่จำกัดอยู่แค่มหาอำนาจทางการเงิน”

แต่ “มหาอำนาจทางการเงิน” ก็ไม่ได้มีกระเป๋าสตางค์วิเศษที่จะพร้อมจ่ายนะครับ นักวิเคราะห์บางคนถึงกับพูดติดตลกปนจริงว่า ต่อจากนี้ไปเราจะไม่มีโอกาสได้เห็นประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกที่ปกครองโดยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป แต่จะมีเฉพาะชาติที่ปกครองด้วยระบบกึ่งเผด็จการหรือประเทศที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงน้อยกว่าผู้นำประเทศ และพร้อมที่จะละเลงงบประมาณของชาติโดยไม่ต้องวิตกกับเสียงโหวตของประชาชนเพื่อแลกกับ national pride ซึ่งก็คล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ ในกรณีของโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพราะจะเห็นว่าจาก 7 ประเทศที่เคยเสนอตัวเข้าเป็นเจ้าภาพ มี 5 ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยซึ่งทั้ง 5 ประเทศดังกล่าวสุดท้ายก็ขอถอนตัวทั้งสิ้น เหลือแค่จีนและคาซัคสถานเท่านั้น

Beijing 2022 Winter Olympics candidate city_1404730310885_6706011_ver1.0_640_480

โลกได้เห็นตัวอย่างของการที่รัฐคิดการใหญ่เป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโลกที่จบท้ายด้วยความพังพินาศทางเศรษฐกิจมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่นกรีซที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2004 ที่ได้ทุ่มงบประมาณในการจัดไปมากมายจนส่วนหนึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤติทางการเงินในเวลาต่อมาอย่างที่เห็นในปัจจุบัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากีฬาโอลิมปิกจะเป็น สิ่งต้องห้าม เสมอไป ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการที่เมืองหรือประเทศใดประเทศหนึ่งจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพและประสบความสำเร็จได้ก็คือ ผู้นำ และ กลุ่มคนสนับสนุนที่จะต้องแสดงให้พลเมืองและผู้เสียภาษีเห็นได้ว่ามหกรรมกีฬาดังกล่าวสามารถจัดได้อย่างสำเร็จภายใต้งบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีเหตุผลและเป็นการสร้างโอกาสในระยะยาวให้กับประเทศและท้องที่อย่างโปร่งใส

ยิ่งในปัจจุบันที่ต้นทุนการจัดโอลิมปิกยิ่งสูงขึ้นๆ การวางแผนในเรื่องของงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเรื่องใหญ่ต้องมองการณ์ไกล ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องที่ในระยะยาวจริงๆ ตัวอย่างล่าสุดของญี่ปุ่นที่นาย Abe นายกรัฐมนตรีทนเสียงต่อต้านไม่ไหวต้องยกเลิกโครงการสนามกีฬาแห่งชาติอันใหม่ที่ผมกล่าวเมื่อข้างต้นและกำลังสรรหาทีมออกแบบและดีไซน์อันใหม่เพื่อประหยัดงบประมาณดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของผู้นำที่ปรับเปลี่ยนตามเสียงต่อต้านมากกว่าการมองการณ์ไกลและมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

ตัวอย่างอันหนึ่งที่ผมชื่นชมและคิดว่าเป็น model ที่สุดยอดก็คือนาย Peter Ueberroth หัวหน้าทีมการจัดโอลิมปิกที่ Los Angeles ในปี 1984 พร้อมทีมสมาชิกกว่า 150 คนที่โดยมากประกอบไปด้วยนักธุรกิจ และ ผู้ประกอบการส่วนตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการให้ไอเดีย แก้ปัญหา บริหารงานในด้านต่างๆ ส่งผลให้ในการจัดโอลิมปิกปีนั้นสร้างผลกำไรได้กว่า 250 ล้านเหรียญและเป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงสร้างกีฬาสำหรับเยาวชนทั่วสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา

39_peter_ueberroth

Peter Ueberroth

ที่ผมชื่นชอบนาย Ueberroth ก็เพราะว่าเค้าคือผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ โอลิมปิกครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่สนับสนุนเงินทุนการจัดโดยภาคเอกชนทั้งสิ้น และการจะบริหารจัดการมหกรรมกีฬาโดยใช้งบจากเอกชนทั้งหมดยิ่งต้องการบารมีและผู้นำที่มองได้ขาดและเห็นอนาคตถึงจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายเพราะไม่มีอำนาจขาดในการสั่งการเหมือนผู้นำประเทศ

เราเคยเห็นนาย Ueberroth ทำได้มาแล้วในปี 1984 กับการบริหารจัดการสนามแข่งขันที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องสร้างใหม่ รวมถึงการสร้างพื้นที่การแข่งขันชั่วคราวที่ใช้งบประมาณไม่มากแต่ทุ่มเงินส่วนใหญ่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาวกับท้องที่และชุมชน ซึ่งผมคิดว่าเป็น model ที่ทุกคนที่คิดจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพควรเอาเยี่ยงอย่าง

ผมเคยฝันนะครับว่าในชีวิตนี้อยากมีโอกาสเห็นประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกหรือฟุตบอลโลกบ้าง และผมก็เชื่อมั่นมากว่าถ้านาย Ueberroth ทำได้ทำไมคนอย่างผมจะทำไม่ได้ถ้าได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระยะยาว ผมเชื่อว่ามหกรรมกีฬาโอลิมปิกไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างภาพหรือเอาหน้าแต่เป็นวาระที่จะสร้างศักยภาพให้ท้องที่และประเทศได้ถ้าหากแค่เรามีวิสัยทัศน์ และ ความโปร่งใสที่ควรค่าแก่การได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ซึ่งคนอย่างผมก็มีนะครับ

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน