สนามศุภชลาศัย

สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาที่อยู่คู่กับวงการกีฬาไทยมากว่า 80 ปีแล้ว

สนามศุภชลาศัย เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์เจอข่าวที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ยื่นหนังสือให้ทางกรมพละศึกษาย้ายออกจากพื้นที่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติภายในระยะเวลา 5 ปี และนึกขึ้นมาได้ว่าสนามศุภชลาศัยก็อยู่ในความดูแลของกรมพละศึกษาและอยู่ในอาณาบริเวณของสนามกีฬาแห่งชาติด้วย นึกแล้วก็ใจหายวาบ เพราะ ณ ตอนนี้ก็ยังไม่มีข่าวเพิ่มเติมจากทางฝ่ายเจ้าของที่ว่าถ้าหากมีการไล่ที่จริงแล้วสนามกีฬาแห่งนี้จะถูกรื้อถอน ทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำประโยชน์อย่างอื่นหรือไม่

ศุภชลาศัย 1

สนามศุภชลาศัยอยู่คู่กับวงการกีฬาไทยมากว่า 80 ปีแล้ว และถือเป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐานสมัยใหม่แห่งแรกในประเทศไทย และเรียกได้ว่าเป็นสนามเหย้าของทีมชาติไทยก่อนที่จะมีสนามราชมังคลากีฬาสถานมารองรับเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ผมยังจำได้ถึงการแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพยุคปิยะพงษ์และช่วงดรีมทีมที่คนดูล้นลงไปในลู่วิ่งและเรียกได้ว่าชิดขอบสนามขนาดหายใจรดต้นคอนักเตะกันเลยทีเดียว

เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ก็อดไม่ได้ที่จะมองไปยังต่างประเทศ ผมเองเป็นคนที่เดินทางบ่อยเวลามีไปธุระที่อังกฤษก็มักหาเวลาเข้าสนามฟุตบอลเพื่อชมเกมสดๆ อยู่เสมอๆ สนามที่ผมคิดว่าเป็นหนึ่งในสนามที่ยอดเยี่ยมที่สุดในเกาะอังกฤษก็คือ Emirates Stadium ของอาร์เซนอล และได้มีโอกาสเข้าไปดูในสนามนี้มาหลายครั้งเหมือนกัน เรียกได้ว่าสำหรับผู้ชมแล้วบรรยากาศความตื่นเต้นมันทำให้ฟุตบอลสนุกขึ้นกว่าดูจากจอทีวีอีกหลายเท่าตัว เพราะสนามฟุตบอลในยุโรปส่วนมาก
จะไม่มีลู่กรีฑามาขวางกั้นระหว่างแถวที่นั่งกับขอบสนาม

 

home_resize

ยิ่งกว่านั้น ผมเคยมีโอกาสได้ร่วมทัวร์ชมสนามแห่งนี้ได้เห็นส่วนต่างๆ ของสนามเหมือนอย่างที่นักเตะได้สัมผัส เรียกได้ว่า ความขลัง ยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ แม้จะไม่ใช่สนามที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง Highbury ก็ตาม แต่ได้มีการนำเอาประวัติศาสตร์หลายๆ ส่วนของ Highbury มาใช้กับสนามใหม่แห่งนี้ ทั้งในเรื่องของชื่อสแตนด์ ชื่อทางเดิน หรือแม้กระทั่งนาฬิกาแบบเดิมที่สร้างใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ทำให้ความผูกพันธ์กับสนามเดิมและความฮึกเหิมก็ตามติดมาด้วย

รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในเชิงจิตวิทยาไม่ได้จบที่ตรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เท่านั้น เมื่อเราเดินเข้าไปในบริเวณของห้องแต่งตัวนักเตะทีมเหย้า เราจะเห็นห้องแต่งตัวแบบเปิดโล่งโค้งเป็นเกือกม้า ไม่มีตู้ปิดทึบ เจ้าหน้าที่พาทัวร์บอกว่าทำตามหลักฮวงจุ้ยของเอเชีย ผนังและเพดานใช้วัสดุลดเสียงสะท้อนเพื่อเวลาคุยกันจะได้ไม่ต้องตะเบ็งเสียง แสงไฟถูกออกแบบให้สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ที่นั่งของนักเตะจะถูกจัดเรียงโดยผู้รักษาประตูจะนั่งติดกับทางเข้าห้องอาบน้ำและไล่ไปแล้วแต่ว่าใครเป็นตัวจริงตัวสำรอง แต่เค้าบอกว่าจะมีแค่ตำแหน่งกัปตันทีมที่ไม่ว่าใครจะสวมปลอกแขนก็จะต้องนั่งที่เดิมที่สามารถมองตาทุกคนได้อย่างชัดเจน

ห้องอาบน้ำทีมเหย้าประกอบด้วยที่ยืนอาบน้ำและอ่างน้ำเย็นที่ใช้แช่เพื่อผ่อนคลายหลังเกม มีเลาจน์สำหรับนักเตะและครอบครัวนั่งพักผ่อนหลังเกมและรับประทานอาหารร่วมกัน ในขณะที่ของทีมเยือนก็ไม่ต้องพูดถึง หลักการเหมือนกับทุกที่ก็คือแคบ อึดอัด และไม่สะดวกสบายเหมือนของทีมเหย้าอย่างชัดเจนเพื่อความได้เปรียบทางจิตวิทยา

วกกลับมาที่เรื่องของสนามเหย้าของทีมชาติเราบ้าง สมัยที่ผมเคยช่วยคุณกิตติรัตน์ ณ ระนองสมัยเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยก็เคยได้มีโอกาสเข้าไปใช้สถานที่ในฐานะส่วนหนึ่งของทีมชาติ ทั้งสนามศุภฯ และราชมังคลาฯ ซึ่งทั้งสองสนามต้องยอมรับว่ามาตรฐานของสิ่งอำนวยความสะดวกและองค์ประกอบอื่นๆ ยังเทียบไม่ได้กับสโมสรอาชีพในต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งของไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกบางสนามด้วยซ้ำ ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองแล้วผมเทใจให้กับสนามศุภฯ มากกว่าราชมังคลาฯ ในหลายๆ เรื่อง

Arsenal v Queens Park Rangers - Premier League

อย่างแรกคือโลเกชั่น สนามศุภฯ อยู่ในทำเลที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนทั่วไปมากด้วยรถ BTS ไม่ต้องทนรถติดและเจอปัญหาเรื่องที่จอดรถ เหมือนในอังกฤษคนดูบอลโดยมากก็ใช้ระบบขนส่งสาธารณะกันทั้งนั้น อย่างที่สองคือความจุของสนามศุภฯ ไม่ใหญ่จนเกินไป สร้างความรู้สึกใกล้ชิดระหว่างนักกีฬาและกองเชียร์ได้ดีกว่า เพราะต้องยอมรับว่าความฮิตของฟุตบอลไทยจะมาๆ ไปๆ คนดูไม่เต็มทุกนัดหรอกครับ อย่างที่สามผมคิดว่าบริเวณโดยรอบมีสถานที่ให้คน hang around ได้เยอะทั้งไม่ว่าห้างบริเวณรอบข้าง ฯลฯ ซึ่งจะมีผลในการขยายความสนใจและสามารถสร้างบรรยากาศคึกคักไหลออกนอกสนามได้ดีกว่า

ผมยังเคยคิดเล่นๆ เหมือนกันว่าจะยกหูหาท่านรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาคนปัจจุบัน ที่ครอบครัวรู้จักกันตั้งแต่สมัยเด็กๆ ว่าเป็นผมจะสนับสนุนให้เก็บสนามศุภฯ ไว้ และปรับปรุงเสียใหม่โดยเพิ่มเติมองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปนักเตะเก่าๆ ทกุยุคสมัยเอามาจัดเรียงโชว์ให้ดีในบริเวณทางเดินที่ปรับปรุงใหม่ บรรดาถ้วยรางวัลและภาพประวัติศาสตร์ทีมชาติเก่าๆ นำมาโชว์ให้เหมาะสม เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในการเป็นตัวแทนของทีมชาติไทยให้น้องๆ รุ่นหลังได้ซึมซับ ผสมผสานกับการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักเตะให้ได้มาตรฐาน อย่างน้อยก็ต้องเทียบเท่าทีมชั้นนำในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นอย่างน้อย โดยถ้าทำได้จริง ผมเชื่อว่าองค์ประกอบเล็กน้อยเหล่านี้เป็น touch point สุดท้ายที่จะช่วยสร้าง ความขลัง และปลุกพลังความฮึกเหิมให้กับนักเตะทุกคนก่อนที่จะลงสนามได้อย่างดี

ก็ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสเห็นอย่างที่ผมอยากเห็นหรือเปล่า

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม