เมื่อฟุตบอลโลก 2022 ที่ Qatar เกิดปัญหาที่เริ่มบานปลาย

ผมอ่านข่าวพาดหัวกีฬาในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งเมื่อเดือนก่อนพูดถึงการที่ผู้นำทางการเมืองของ Qatar อย่างอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคนปัจจุบัน ออกมาบอกว่าความพยายามในการที่จะสืบสวนเรื่องของ FIFA คอร์รัปชั่นในการยกสิทธิ์ให้ Qatar ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022  ซึ่งอาจส่งผลให้ Qatar ถูกยกเลิกสถานการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวเป็นเรื่องของการ แบ่งแยกชนชาติ เหยียดเชื้อชาติ หรือที่เค้า quote คำพูดมาเลยก็คือคำว่า “racist”

o-HAMAD-BIN-JASSIM-BIN-JABER-ALTHANI-570

ผมอ่านแล้วก็ต้องสะดุดกับการให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวผ่านสื่อระดับโลกเพราะต้องยอมรับว่าในโลกของเราที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและชนชาติที่ส่งผลไปถึงอาชญากรรมและสงครามต่างๆ ประเด็นนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวที่หยิบมาพูดเมื่อไหร่ก็ต้องมีการระแวดระวังตัวกันทุกฝ่าย

แต่เราต้องแยกกันระหว่างเรื่องของ “corruption” และ “การกีดกันแบ่งแยกทางเชื้อชาติ” ให้ออก

การออกมาโต้แย้งและพยายามที่จะยกเลิกการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกต้องมองว่ามาจาก “เหตุ” อันไหน ฝั่งหนึ่งคิดว่าเหตุคือแนวคิดที่กีดกันกลุ่มประเทศและเชื้อชาติอื่นที่จะได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพ แต่อีกฝั่งหนึ่งมองว่า คอร์รัปชั่นคือต้นเหตุที่สำคัญที่ส่งผลให้กลุ่มประเทศนั้นได้รับสิทธิ์ดังกล่าวต่างหาก

Sepp Blatter พูดตั้งแต่ปีที่แล้วว่าการที่บางประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตกออกมาไม่เห็นด้วยและต่อต้านการได้เป็นเจ้าภาพบอลโลกปี 2022 เป็นแนวคิดที่บ่งบอกถึงการแบ่งแยกเชื้อชาติและ discriminate  โดยเฉพาะหลังจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในอังกฤษอย่าง Sunday Times ได้นำเสนอบทความในเชิงสืบสวนอย่างต่อเนื่องเรื่องการได้สิทธ์เป็นเจ้าภาพบอลโลกดังกล่าว โดยยกประโยคภาษาอังกฤษที่นาย Blatter บอกตามนี้ว่า “Sadly, there’s a great deal of discrimination and racism and this hurts me.”

ผมคิดว่าการที่ Blatter จุดประเด็นเรื่องของ racist มาเป็นประเด็นเป็นหนึ่งในสิ่งเลวร้ายและขาดความรับผิดชอบที่สุดที่ผู้นำสูงสุดขององค์กรที่มีสมาชิกนานาชาติจะทำได้ ที่ผมกล้าพูดอย่างนี้ก็เพราะว่านาย Blatter หยิบความคิดนี้มานำเสนอโดยมิได้มีหลักฐานใดๆ มาสนับสนุนนอกเสียจาก ความเห็น ความคิด ส่วนบุคคลหรือคนรอบข้างที่ประจบสอพลอและแบ่งผลประโยชน์กันอยู่เท่านั้น ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพยายามที่จะค้นหาและสร้างความเชื่อมโยงจากหลักฐานต่างๆ ที่พิสูจน์และสืบค้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะเอามาเป็นข้อโต้แย้งว่า เหตุ ที่แท้จริงของการคัดค้านการได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ที่แท้จริงแล้วคือ การคอร์รัปชั่น อย่างเป็นระบบและหยั่งรากลึกภายในองค์กร FIFA

ถ้าผู้อ่านติดตามข่าวคราวของ FIFA มาโดยตลอดในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คงพอทราบกันว่าเคยมีความพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมและชำระล้างเรื่องของการคอร์รัปชั่นอยู่เสมอ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว นาย Michael Garcia อดีตอัยการสัญชาติอเมริกันซึ้งได้ถูกแต่งตั้งโดย FIFA ให้นำทีมสอบสวนอิสระเกี่ยวกับกรณีเป็นไปได้ของ corruption ในการ bid เป็นเจ้าภาพบอลโลก 2018 และ 2022 ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งภายหลังรายงานกว่า 350 หน้าของเค้าถูกคณะกรรมการจริยธรรมของ FIFA เซ็นเซอร์และนำมาเผยแพร่กลับเหลือเพียง 40 กว่าหน้าและละเว้นเนื้อความสำคัญหลายๆ อย่างออกไป

garcia

หรือย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณปี 2011 ก็เคยมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับข่าวการรับสินบนของนาย Mohamed bin Hammam ชาว Qatar ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation) ที่ส่งผลให้ถูกแบนจากกิจกรรมฟุตบอลทั้งหมด แต่เรื่องดังกล่าวก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือไม่โปร่งใสและส่งผลให้ Sepp Blatter ทนต่อแรงกดดันไม่ไหวต้องนำเสนอการตั้ง Independent Governance Committee (IGC) ขึ้นมาโดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิมากมายเพื่อเป็นหัวหอกในการยกเครื่องเรื่องของ good governance ภายในองค์กร

อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายมองว่านี่เป็นการเล่นละครคั่นฉากของ FIFA เท่านั้นและก็เป็นไปอย่างที่คาดคิดเมื่อข้อแนะนำกว่า 59 ข้อที่ทาง IGC นำเสนอต่อ FIFA ในการปรับปรุงโครงสร้างและสร้างความโปร่งใสกลับได้รับการตอบรับนำมาปฏิบัติจริงเพียงแค่ 7 ข้อเท่านั้นโดย Sepp Blatter อ้างว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินการตามข้อแนะนำทั้งหมดโดยมิได้ให้เหตุผลชัดเจนแต่อย่างใด ส่งผลให้ท้ายสุดหัวหน้าคณะกรรมการ IGC ดังกล่าวก็ขอลาออก

ย้อนหลังกลับไปก่อนนาย Blatter ขึ้น นายใหญ่ของ FIFA คือ Joao Havelange ชาวบราซิล ซึ่งนับว่าปฏิวัติรูปแบบการดำเนินงานของ Sir Stanley Rous ประธาน FIFA ชาวอังกฤษคนก่อนหน้าที่เรียกได้ว่าหัวโบราณ สนใจแต่ประเทศในทวีปยุโรปต้นกำเนิดฟุตบอล และออกจะเรียกได้ว่าค่อนข้าง racist เพราะมีสล็อตให้ทีมจากเอเชียและอาฟริการวมกันแค่ 1 ทีมสำหรับฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และยังเจาะจงว่าทีมอาฟริกาใต้ที่เข้าร่วมนับเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น

South African President Nelson Mandela, wearing the South African team jersey, admires his medal as he shakes hands with FIFA president Joao Havelange (L) while FIFA secretary general Stepp Blatter applauds in Johannesburg 12 January 1996. Mandela was presented the FIFA medal before a luncheon with South Africa team ahead of their match with Cameroon for the Africa Nations Cup kick-off tournament 13 January at FNB Stadium. AFP PHOTO

นาย Havelange กับ อดีตประธานาธิบดีของอัฟริกาใต้ นาย Nelson Mandela และ Sepp Blatter ในปี 1996
AFP PHOTO

ระหว่างปี 1974-1998 ซึ่งนาย Havelange ขึ้นเป็นหมายเลข1 เค้าได้ชื่อว่าเป็นบุคคลซึ่งนำ FIFA เข้าสู่ยุคใหม่ เป็นยุคของการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ ยุคแห่งการขยายตัวของกีฬาฟุตบอลเข้าไปในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาในทวีปเอเชียและอาฟริกาทั้งหลายในยุคนั้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เปิดโอกาสความเท่าเทียมในเชิงเชื้อชาติและซื้อใจและความซื่อสัตย์จากชาติเหล่านี้ได้อย่างดี

ต้องบอกว่าน่าเสียดายที่พัฒนาการดังกล่าวถูกกลืนกินด้วยความโลภ ผลประโยชน์ การสมยอมกันเพื่อหวังผล ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากยังมีประเทศและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ยังขาดแคลนและล้าหลังอยู่ สิ่งที่ประเทศเหล่านี้ได้จาก FIFA เหมือนน้ำเลี้ยงจากสวรรค์ในการนำไป พัฒนาฟุตบอล ที่ทุกประเทศได้รับประโยชน์กล่าวอ้าง ส่วน FIFA ย่อมจะได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากกลุ่มประเทศเหล่านี้เสมอๆ

FIFA มีพัฒนาการมาแบบนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกจับตาดูโดยคนหมู่มากเรื่องความโปร่งใส ถ้าข้อกังขาต่างๆ สามารถชี้แจงได้อย่างโปร่งใสย้อนหลังไปได้จนถึงต้นตอ คำกล่าวอ้างที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนอย่างเรื่อง “การกีดกันแบ่งแยกทางเชื้อชาติ” ก็จะไม่ถูกหยิบมาใช้โดยคนที่เสียประโยชน์หรอกครับ

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน