10 ถ้อยคำจาก Sport Trend ! 

ถ้าไม่มีการยกเลิกอะไร ตัวอักษรแรกที่เขียนของบทความนี้ ก็อยู่ในการเริ่มเล่นคอนเสิร์ต 50 ปีเทศกาลวู้ดสต็อกพอดี (1969-2019) แม้ว่าโดย “อารมณ์ ความรู้สึก” นั้น เงื่อนไขต่างๆ จะเปลี่ยนไป โจนี มิทเชลล์ หรือ โจน บาเอซ แม้แต่ บ็อบ ดิแลน อาจจะขายไม่ได้ในยุคที่ “อัตลักษณ์สำเร็จรูป” เหมือนบะหมี่ วางขายเต็ม shopping mall 

แต่ในขณะที่คนชอบดนตรีแนวจิตวิญญาณ ที่มีอารมณ์ “ถวิลหาอดีต” หรือ “อาลัยอาวรณ์วันเก่าก่อน”(nostalgia) ได้มีสักนาทีนึกย้อนไปถึง woodstock festival ที่ไร่แห่งหนึ่งในนิวยอร์ค …นี่เป็นโอกาสอันดีเหมือนกัน ที่คนรักกีฬา จะได้มี “ช่วงเวลา” ทบทวนถึงศัพท์บางคำ อันเกิดจากปรากฏการณ์ หรือเทรนด์ทางการตลาดต่างๆ ในหนึ่งศตวรรษ หรือครึ่งศตวรรษบวกๆ ลบๆ ที่ผ่านมา

ที่เกริ่นมาแบบนั้นเพราะ ปี 2019 เป็นปีครบรอบ 140 ปีของแบรนด์กีฬาค่ายแรกของอังกฤษ และจะว่าไปของโลกฟุตบอล นั่นคือ Bukta (มาจาก Edward Robinson Buck) ซึ่งก่อตั้งในปี 1879

ที่น่าทึ่งมากก็คือ ในเวลาใกล้กันหรือเลทไปไม่นานมาก ก็เกิดการแข่งขันและเกิดขึ้นของแบรนด์อื่นๆ ทั้ง Le Coq, Admiral และ Umbro โลโก้รูปเพชร

นี่คือ 10 words ที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ต่างๆ ของหลายแบรนด์กีฬา และมีผลต่ออุตสาหกรรมไม่แง่มุมใดก็แง่มุมหนึ่ง

1. Bukta Style

คำว่า bukta style นั้น เกิดจากยุคแรกๆ ที่แบรนด์นี้ เข้ามาทำเสื้อฟุตบอลหลายๆ ทีม และออกแบบแนวทางหนึ่งชัดเจนอันประกอบไปด้วย คอปกเสื้อแหลมๆ เสื้อแขนยาว และออกแบบเป็น v-neck หรือคอวี การมีรูปแบบเสื้อบอลตายตัวแบบนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้คนจำได้เมื่อเห็นทันที มันอาจจะเชยไปแล้วสำหรับโลกเสื้อผ้าในทุกวันนี้ แต่ในอดีต มันส่งผลไปยังพวก pop star ในโลกดนตรี ว่ากันว่า สี่เต่าทองที่คอปกแหลมๆ เวลาเล่นดนตรี ก็มีอิทธิพลมาจากเสื้อผ้าแบรนด์นี้

Bukta Style sansiri blog
ภาพจาก footballscotland

2. Patrick s Marketing

อันนี้น่าสนุกมาก ประธานของแบรนด์ Admiral เป็นคนมันส์ๆ เขาชื่อ เบิร์ต แพทริค ที่ชอบครีเอทไอเดีย อึ้งทึ่งเจ๋งมาเล่นงานการตลาดเสมอๆ ยกตัวอย่างเช่น เขารู้สึกว่า แบรนด์ Umbro ที่เหนือกว่าเขา จะมีสไตล์เสื้อที่เรียบไป มีแค่ผ้าและสีเดียว พอยุค 70s มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลด้วยระบบสีแทนขาวดำ เขาเลยออกแบบให้เสื้อ admiral มีสีสัน และที่สำคัญต้องมีลวดลายแปลกๆ

เพราะอะไร ?

เพราะเมื่อมันถูกถ่ายสดทางทีวี คนดูจะจำได้ เพราะมีลายแปลกๆ บนเสื้อ ไม่ใช่เรียบๆ แบบ Umbro หรืออีกเคสหนึ่งคือ ตอนปี 1982 Admiral ทำเสื้อให้ทีมชาติอังกฤษ เขาชนะคู่แข่งนิดเดียวที่เสนอให้ว่า จะแบ่ง 5 % ในทุกเสื้อที่ขายแฟนบอลได้ ให้กับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ยังมีเรื่องแสบๆ อีกเช่น เขาไปทะเลาะกับ ดอน เรวีย์ ขาใหญ่ของ ลีดส์ ยูไนเต็ดในยุค 70s ที่เขาอยากเปลี่ยนสีเสื้อเป็นเหลือง แทนขาว แต่ ดอน ไม่ยอม เขาจึงถอยขอเสนอให้เป็นเสื้อทีมเยือน

การตลาดแผลงๆ ของ เบิร์ต แพทริค จึงเกิดคำเรียกว่าตามชื่อที่จั่วไว้

Admiral Football Kit sansiri blog
ภาพจาก RadioTimes

3. เสื้อบอล Test Card Kit

คำนี้ใช้เรียกเสื้ออะไรก็ตามที่มีลายเป็นเส้นแนวดิ่งแบบยิบย่อย ถี่ยิบ หรือจะตัดด้วยแนวเส้นขวางก็ได้ มันมาจากเสื้อเดนมาร์คปี 1986 ที่ครึ่งซ้ายกับครึ่งขวา เป็นแถบเส้นๆ คำว่า test card มาจากคำเรียกระบบสัญญาณภาพของทีวี เวลาไม่มีรายการ ที่จะขึ้นภาพเส้นสัญญาณคาไว้หลังปิดสถานี ในสมัยก่อน ถ้าเป็นบ้านเราก็ตอนเที่ยงคืนในอดีต แนะว่าลองไปดูเสื้อทีม wiener club ของออสเตรียที่เป็นเสื้อสีดำ

Test Card Kit-Wiener sansiri blog
ภาพจาก Who ate all the pies

4. Jiggle Test 

ใช้เรียกการทดสอบ “เชียร์ลีดเดอร์” ในอเมริกันฟุตบอล กล่าวคือ ก่อนการลงไปทำหน้าที่ของสาวๆ เชียร์ลีดเดอร์นั้น หุ่น ร่างกาย เนื้อตัว ต้องเป๊ะ และต้องทดสอบให้ “กระโดดขึ้นปรบมือกลางอากาศ” โดยมีเจ้าหน้าที่ของทีมดู

Jiggle Test sansiri blog
ภาพจาก TIME

5. Athleisure 

คำนี้ผมเคยเขียนถึงบ่อยๆ จะว่าไปมันเป็น word ที่กินความ สะเทือนเลือนลั่นมากที่สุดใน 3 ปีที่ผ่านมา athleisure มาจากการผสมสองคำคือ athlete กับ leisure แปลแบบง่ายๆ คือ การสวมใส่ชุดที่ออกแนว sport แม้แต่การไปทำงานของสาวๆ ตามออฟฟิศ ก็ลดละการใส่ส้นสูง หันมาใส่ sneakers กัน หรือสวมแจ็คเก็ตแนว sport

Athleisure sansiri blog
ภาพจาก VOGUE

6. Umbro Set

คำนี้เกิดขึ้นในยุค 70s ซึ่งเป็นยุคแรก ยุคเริ่มต้น ที่เสื้อฟุตบอลถูกผลิตมากขึ้นอย่างเป็นทางการ ตลาดของคนใส่เสื้อบอลยุค 70s เป็นเด็กๆ 100% ผู้ใหญ่มักไม่ใส่เสื้อบอลออกนอกบ้าน เพราะกลัวฮูลิแกนแฟนบอลทีมอื่นๆ ไล่ทุบตีทำร้าย พอเป็นเด็กๆ สวมใส่ Umbro เลยคิดการตลาดกินต่อ ด้วยการออกแบบสินค้าครบวงจร กล่าวคือ มีถุงเท้า รองเท้า เสื้อ กางเกง กระเป๋า ครบเซ็ท ขณะที่ค่ายอื่นๆ ทำแต่เสื้อกับกางเกง

คำว่า “umbro set” จึงเป็นคำเรียกเชิงยกย่องว่า ซื้อแบรนด์เดียวได้ครบ !

Umbro Set sansiri blog
ภาพจาก Umbro

7. เสื้อกีฬาแนว Cul-de-Sacs

แปลแบบเอาความหมาย คือ ดีไซน์เสื้อกีฬาที่ทุเรศ สิ้นคิด และน่าขบขัน โดยทุกแบรนด์จะมีเสื้อแนวนี้หลุดออกมาและแฟนๆ เบือนหน้า โดยที่ในเวลาต่อมา เสื้อที่ทุเรศ น่าขบขัน ก็อาจจะมีราคา กลายเป็นของน่าเก็บ ไปเสียอย่างนั้น

เสื้อกลุ่ม cul-de-sacs ก็เช่น เสื้ออาร์เซน่อลปี 1991 ลาย “กล้วยช้ำ” bruise banana หรือเสื้อแมนยูตัวเยือนลายดาวกระจายสีฟ้าปี 1992 ที่คว้าแชมป์มิคกี้เมาท์คัพ แม้แต่เสื้อแชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง ครั้งสุดท้ายของหงส์แดงปี 1990 ที่เรียกว่า “ลายไผ่” ก็ถือว่าเป็นเสื้อสิ้นคิดด้วย

Arsenal Shirt-bruised banana sansiri blog
ภาพจาก Football Shirt Collective

8. The “Real” White

ในยุค 60s หลายทีมมักมีเสื้อเจ้าบ้าน เสื้อเยือน หรือเสื้อตัวที่สาม เป็นสีขาว เนื่องเพราะเป็นอิทธิพลมาจากความสำเร็จของ เรอัล มาดริดในอดีตก่อนหน้านั้น แต่ไม่มีใครทราบว่า “สีขาว”ของ มาดริด แม้จะมีหลายทีมลอกเลียน เช่น ลีดส์ ที่แม้จะใช้ขาวมาก่อน ก็ออกแบบเสื้อแข่งออกมาแท่นพิมพ์เดียวกัน อย่างไรก็ดี เรื่อง “ความลับของขาว” ก็ซับซ้อนไปอีก เมื่อเอาเข้าจริงๆ แล้ว สีขาวของ มาดริดราชันชุดขาวนี้ ก็ลอกมาจากทีมโครินเธียนเอฟซีของอังกฤษ อีกที

ขาวของหลายทีมร้อยพัน แม้ขาวมาดริดจะดังสุด แต่ก็มาจากขาวลอนดอน ในที่สุด

Real Madrid sansiri blog
ภาพจาก Realmadrid

9. Let s get ready to the rumble !

กรรมการที่มีคำบิ้วก่อนชกที่ดังสุดคือ ไมเคิล บัฟเฟอร์ เขารู้สึกว่าเวลาดูมวยต่อย มันไม่มีบรรยากาศของการเร้าอารมณ์ เขาจึงคิดว่า ตัวเองควรจะหาคำพูดที่บิ้วเร้า ให้คนดูมีอารมณ์ร่วม ประโยคที่เขาพูดแปลง่ายๆ ว่า “พร้อมจะไปซัดกันแล้วหรือยัง” หรือ “ได้เวลาอัดกันแล้ว” นอกจากจะกลายเป็นคำลิขสิทธิ์แล้ว มันยังถูกจ่าย เพื่อนำไปใชัหลายแวดวงสินค้า ทั้งขนม ทั้งสลากหวย และรถยนต์

นี่คือ ประโยคที่แพงสุด เพราะผ่านไปหลายสิบปี เจ้าของคำพูดวลีนี้ ได้เงินไปหมื่นล้านบาทแล้ว

Michael Buffer sansiri blog
ภาพจาก USA TODAY

10. Jumpman !

ไม่มีใคร แม้แต่เจ้าตัวเองอย่าง ไมเคิล จอร์แดน จะคิดว่า ภาพถ่ายกระโดดดังค์ลูกบาสเกตบอล ที่จะลงในนิตยสาร Life ก่อนโอลิมปิค 1984 จะกลายมาเป็นโลโก้ลิขสิทธิ์และคำ ที่มีมูลค่าเป็นแสนล้านบาท ทั้งยังมีอายุกินยาวๆใกล้ 40 ปี ท่ากระโดดกางแขนขากลางอากาศหรือ Jumpman ยังกลายไปเป็นเกม เสื้อผ้า แฟชั่น แม้แต่ปีนี้ เสื้อทีมเยือนของเปแอสเช ยังเอา jumpman มาไว้บนอกขวาของเสื้อ

Jumpman sansiri blog
ภาพจาก Nike

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าเปิดโอกาสให้ทุกท่านคิดคำของตัวเอง

Word นั้น จะเป็นคำใด …

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ