50 ปี Let It Be สี่เต่าทอง
ควบปิดฉาก 30 ปี หงส์รอคอย !

ไม่ที่ใดก็คงเป็นที่หนึ่ง ไม่วันไหนก็คงมีวันหนึ่ง ซึ่งระหว่างการเดินทางของปี 2020 แฟนสี่เต่าทอง The Beatles รุ่นคลาสสิค คงจัดปาร์ตี้รำลึกอัลบั้มชุดสุดท้ายอย่าง Let It Be ที่วางจำหน่ายในปี 1970 

คงไม่ต้องเอา “มะพร้าวห้าวไปขายสวน” หรือสำนวนใหม่ “เอาที่อยู่อาศัยไปขายแสนสิริ” หรือ “ตู้เย็นไปขายชาวเอสกิโม”

เพราะแฟนๆ สี่เต่าทอง รู้จักวงนี้กันดีอยู่แล้ว วงที่สร้างปรากฏการณ์หลายๆ อย่างแบบใหม่หมด รวมทั้งเป็นวงแรกที่แม้แต่การคิดชื่อวง ก็ยังใช้การคิดแบบ ซ่อนนัยยะในถ้อยคำ (เพราะคำว่า beatles นั้น มาจากการต้องการเล่นคำพ้องเสียง ของ beat อันหมายถึงผู้เดินทางแห่งจังหวะดนตรี)

ผมเคยได้รับเกียรติจากบริติช เคาน์ซิลให้เดินทางไปดูงานที่ลิเวอร์พูลและศึกษางานด้านละครเวที (หนึ่งในนั้นคือไปงานฟริงกซ เฟส ที่เอดินเบอระ) ตอนบินไปที่ลิเวอร์พูล โทนี่ คอปเปลล์ คนจากบริติชฯ ที่นั่น มารับที่สนามบิน และพาผมไปตะลอนทั่วเมือง จังหวะหนึ่งบนรถ ผมถามเขาว่า “คิดว่าใครยิ่งใหญ่กว่ากันระหว่าง สี่เต่าทองกับทีมลิเวอร์พูล”

โทนี่เงียบ ! 

เขาอาจตอบไม่ได้จริงๆ สำหรับผู้ชายวัยเลข 5 หรืออาจตอบได้แต่ไม่อยากตอบ เพราะว่าจะตอบเป็นใคร ก็อาจกระทบกระเทือนจิตใจคนอีกกลุ่มหนึ่ง

ภาพจาก Liverpoolfc

ปี 2020 ที่จะเดินทางมาถึงนี้ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของเมืองลิเวอร์พูล เพราะนี่คือการครบรอบปีสุดท้ายของอัลบั้มสุดท้ายสำหรับ The Beatles และเป็นปีเดียวกับการปิดฉากการรอคอยแชมป์ยาวนานถึง 30 ปีของเหล่า The Kop

สิ่งที่น่าเชื่อมโยงในสองวัฒนธรรมนี้ (สี่เต่าทองกับลิเวอร์พูล)

สำหรับชาวลิเวอร์พูลนั้น ผู้สนับสนุนทีมลูกหนังของเมืองดังกล่าว หรือใครก็ตามที่หลงใหลในกีฬาที่เป็นตำนาน การพยายามที่จะระบุว่าเดอะ บีตเทิลส์สนับสนุนทีมไหนนั้นเป็นหนึ่งในเรื่องลึกลับที่ใครก็อยากรู้

เดอะ บีตเทิลส์ เกิดและเติบโตที่ลิเวอร์พูล ฟุตบอลกับดนตรีเป็นสิ่งที่คู่กันของเมืองแห่งนี้ และ เต่ากับหงส์ก็ได้สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก

​แต่ในฟุตบอล ที่ไหนมีเกมมาข้องเกี่ยว ความซื่อสัตย์จะแบ่งออกระหว่างลิเวอร์พูลกับเอฟเวอร์ตัน สีแดงกับสีน้ำเงิน ครอบครัวกับเพื่อนฝูงอาจต้องถูกแบ่งแยก แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือทุกๆ คนจะต้องสนับสนุนไม่ทีมใดก็ทีมหนึ่ง

แล้ว จอห์น พอล จอร์จ กับ ริงโก้ล่ะ พวกเขาสนับสนุนใครกัน

ภาพจาก ENCYCLOPÆDIA BRITANNICA

การคาดเดานี้จุดสนใจ น่าจะอยู่ที่ภาพ พอล แม็คคาร์ตนีย์ จากรูปถ่ายระหว่างทางไปเวมบลีย์ก่อน FA Cup นัดชิงชนะเลิศ ที่เขาติดริบบิ้นของทีมเอฟเวอร์ตัน สิ่งที่เห็นอยู่นี้ก็น่าจะยุติข้อโต้เถียงกันได้ว่าเขาอยู่ทีมน้ำเงิน

มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในปีเดียวกันระหว่าง Mad Day Photoshoot ของเดอะ บีตเทิลส์ เขากลับติดริบบิ้นทีมลิเวอร์พูล เพราะฉะนั้นพอลก็ต้องอยู่ทีมแดงสิ!

ข้อเสนอที่ว่าพอลเป็นแฟนหงส์นั้น มีความเชื่อที่หลากหลาย บางคนบอกว่าแสร้งทำ ลินดา แม็คคาร์ตนีย์ บอกว่าบางครั้งครอบครัวจะดูเกมลิเวอร์พูลในทีวีด้วยกัน และอีกอย่างต้องอย่าลืมผ้าพันคอสีแดงขาวในหนังเรื่อง Help! 

​ยังไงก็ตามสื่อบอกว่า พอล น่าจะเป็นแฟนทีมน้ำเงินเนื่องจากเขาดูเกมนั้นที่เวมบลีย์ เอฟเวอร์ตันพ่ายให้กับเวสต์บรอม 1-0 โจ รอบินสัน ติวเตอร์ของเดอะ บีตเทิลส์ที่ลิเวอร์พูล รู้ว่าเขาอยู่ที่นั่นเพราะว่าเพื่อนของเขาได้ร่วมดื่มและสูบบุหรี่กับพอล “เขาสวมเสื้อโค้ตตัวยาว ในกระเป๋าเสื้อมีบุหรี่กับภาพเหมือนขนาดเล็ก ของทีมท็อฟฟี่สีน้ำเงินอยู่ในเสื้อ”

ภาพจาก GOAL

มีคนเล่าว่ามองเห็น พอล แม็คคาร์ตนีย์มกับ จอห์น เลนนอนในนัดชิงปี 1966 ที่เอฟเวอร์ตันเอาชนะ เชฟฟิล์ด เวนส์ฯ 3-2 ใน Beatles Anthology พอลเอ่ยถึงลุงสองคนของเขาที่เป็นแฟน Toffees และบอกว่าเขามักจะไปสนามกูดิสัน ปาร์ค ที่เป็นโฮมกราวนด์กับพวกคุณลุงเป็นครั้งคราว

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวลือกันให้ทั่วว่าพอลอาจจะได้บริจาคเงินแบบไม่ใส่ชื่อให้กับสโมสรที่มีเงินไม่พอใช้ แม้ว่าจะเป็นข่าวที่แพร่กระจายโดยพวกแฟนทีมสีแดง

เดือนมิถุนายนปีนั้น พอล ออกข่าวว่าจะมีคอนเสิร์ตที่ Anfield “ในฐานะที่เป็นแฟนเอฟเวอร์ มันจะเป็นยังไงถ้าต้องมาเล่นที่ถิ่นของลิเวอร์พูล” นักข่าวสอบถามพอล เขาตอบพลางหัวเราะว่า 

“ตัวผมยังไม่เคยไป Anfield มาก่อนเลย คุณควรจะต้องเป็นแฟนแมนฯ ยูไนเต็ด หรือแมนฯ ซิตี้ เรนเจอร์ส หรือว่าเซลติค ประมาณว่าไม่ทีมใดก็ทีมหนึ่ง แต่ผมน่ะ ล้มเลิกความคิดแบบนั้นเป็นปีแล้ว ผมน่ะเชียร์เอฟเวอร์ตันอย่างเป็นทางการ พ่อผมเป็นแฟนทีมนี้ แต่มีคนหนึ่งในทีมลิเวอร์พูลมาดูผมเล่นคอนเสิร์ตที่เวมบลีย์ นำโดย เคนนี่ เดลกลิช เขาพาคนในทีมมา ฉะนั้นมันมีเหตุผลเพียงพอที่ผมจะสนับสนุนพวกเขาอย่างเปิดเผย ผมรักทั้งสองทีม

ความชอบของพอลที่มีต่ออดีตหมายเลขเจ็ดแห่งลิเวอร์พูล ถูกยืนยันโดยแฟนบางคนที่อ้างว่าได้ยินเขานำคนดูในการร้องเพลงให้กับ เคนนี่ เดลกลิช ในช่วงท้ายๆ ของการอัดเสียง live ใน Coming Up แสดงที่สกอตแลนด์

Ringo Starr ภาพจาก The Washington Post

นั่นไงล่ะที่ว่า ที่ไหนมีฟุตบอล แมคคาร์ตนีย์จะเป็นนักหยอกเหมือนกับริงโก สตารร์ ที่ถูกถามให้เลือกระหว่างแนวทางของตนในช่วงต้นๆ 1960 ว่าเขาเป็นนักร็อคหรือนักรัก เขาก็เออออว่าเป็นนักหยอก

ริงโก้ ในวัยเด็กเป็นแขกผู้มาเยือนใน Anfield กับ GoodisonPark เป็นครั้งคราวแต่ก็สุดท้ายก็เชียร์ทีมที่พ่อเลี้ยงของเขาเองก็เชียร์ด้วยนั่นคือ อาร์เซนอลแอนดรูว์ ทอมป์สัน ผู้เขียนเรื่อง This is Anfield บอกไว้ว่า ริงโก้นั้นก็สนใจเชลซีเหมือนกัน บางทีก็ชอบพูดถึงอยู่บ่อยๆ 

ทีม “ที่สาม” ในลิเวอร์พูล

​ส่วนจอห์น เลนนอนก็เคยมีคนบอกว่าเขาโอนเอียงไปฝั่งลิเวอร์พูล มันมีเรื่องเล่าถึงเขาว่าเขาไปดูการแข่งขันปี 1968 และความทรงจำเกี่ยวกับรูปถ่ายที่เข้าใจกันว่าเขาเพิ่งกลับจากรอบชิง FA Cup ปี 1950 ที่หงส์แดงพ่ายแก่อาร์เซนอล 2-0 แต่ก็ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

ถึงแม้ว่าจะเคยมีคนสังเกตเห็นจอร์จ แฮร์รีสันในฝูงชนในนัดชิง FA Cup ปี 1957 ที่แอสตัน วิลล่า ชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด เขาก็ไม่ค่อยจะพูดถึงเกมนี้เท่าไหร่ แต่มีอยู่หนหนึ่งที่เขาบอกกับผู้สื่อข่าวว่า “คุณรู้ใช่ไหมว่ามีทีมอยู่สามทีมในลิเวอร์พูล แต่ผมชอบอีกทีมหนึ่ง

เป็นที่น่าสงสัยว่าเขาอาจหมายถึง แทรนเมียร์ โรเวอร์ส ที่เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นทีมที่สามของเมืองลิเวอร์พูลหากแต่ เพรนตัน พาร์ค อยู่ที่ Wirral มันไม่ได้อยู่ในลิเวอร์พูล “จอร์จไม่ใช่คนที่สนใจเรื่องฟุตบอลเลย” โรบินสันเล่า จะเป็นไปได้ไหมว่าสิ่งที่แฮร์รีสันพูดนั้นเป็นแค่การเล่นลิ้นว่าเดอะ บีตเทิลส์นั่นเองที่เป็นทีม “ที่สาม” ในลิเวอร์พูล ? 

ความสนใจด้านฟุตบอลของสี่เต่าทองอันเป็นปริศนา

บางทีมันอาจไม่ได้เป็นคำถามอะไรเกี่ยวกับว่าทีมไหนที่พวกสี่หนุ่มสนับสนุน ดังเช่นคำถามเกี่ยวกับว่าพวกเขาสนใจเรื่องฟุตบอลกันบ้างไหม

ไม่เลย ตามที่ฮันเตอร์ เดวีส์ ผู้เขียนหนังสือ The Beatles ซึ่งเป็นชีวประวัติหนึ่งเดียวที่ถูกต้อง “ระหว่างที่ผมเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ผมก็รู้สึกผิดหวังที่ไม่มีบีตเทิลส์คนไหนเลยติดตามฟุตบอลพวกเขาไม่เคยพูดถึงมันเลย ส่วนผมก็แทบคลั่งอยากจะพูดเรื่องฟุตบอลกับพวกเขาจะตาย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปกติสำหรับเด็กหนุ่มในลิเวอร์พูลในยุคนั้น” ดวีส์ไม่เคยได้ยินเรื่องที่ริงโก้ปลื้มทีมอาร์เซนอล และรู้สึกประหลาดใจที่ครอบครัวของพวกหนุ่มๆ บีตเทิลส์ไม่ใช่ผู้สนับสนุนรายใหญ่เลยของทีมใดทีมหนึ่ง

ผมเป็นแฟนฟุตบอลและต้องช็อคที่เด็กหนุ่มบีตเทิลส์ของพวกเราไม่สนใจกีฬาเลย” คลอว์ส วูร์แมน ศิลปินเยอรมันกับโปรดิวเซอร์ที่ให้ความร่วมมือกับบีตเทิลส์มายาวนาน กล่าว

แล้วทำไมพวกเขาถึงไม่สนใจล่ะ?  “ผมว่าพวกเขาทุ่มเทให้กับดนตรีกับอาชีพการงานเลยไม่มีเวลาให้กับเรื่องบอล” วูร์แมนกล่าว “พวกเขาไม่ได้มีชีวิตเหมือนกับเด็กนักเรียนทั่วไป ช่วงอายุ 14-15 เวลาว่างก็จะหมดไปกับการเล่นดนตรีพื้นเมืองกันเป็นกลุ่มพวกเขาไม่ได้ไปดูการแข่งขันกับกลุ่มเพื่อนแบบที่พวกเด็กๆ ในยุคนั้นทำกัน” เดวีส์ กล่าว 

ไม่มีใครในวงเป็นนักกีฬาเลย กีฬาชนิดเดียวที่พวกเขาชอบคือว่ายน้ำ จอห์นว่ายน้ำเก่ง เขาจะสนุกกับการอาบน้ำ แต่พวกเขาไม่เคยพูดเรื่องบอล เท่าที่ผมทราบไม่เคยเล่นฟุตบอล ไม่เคยอยู่ในทีมของโรงเรียน จอห์นจะดูถูกพวกจ็อคหรือนักกีฬาของโรงเรียน เขามักจะทำตัวเป็นศิลปินมากกว่า

เลนนอนจะวาดรูปกับเขียนหนังสือตอนสมัยประถม รูปที่เขาวาดอันหนึ่งได้ไปอยู่บนปกอัลบั้มเดี่ยวปี 1974 Walls and Bridges ซึ่งวาดไว้ในปี 1952 ตอนอายุได้ 11 ขวบ มันเกือบจะเป็นเหมือนฉาก FA Cup นัดชิงระหว่างอาร์เซนัล กับนิวคาสเซิลทีเดียว

​แต่ว่าเขาไม่ค่อยจะกล่าวถึงเกี่ยวกับเกมในการเขียนของเขา หนังสือ In His Own Write ตีพิมพ์ในปี 1964 กับ A Spaniard in the Works (1965) ก็เป็นคอลเลคชั่นบทกวีแนวเซอร์เรียล ไม่มีเรื่องฟุตบอลเลย

ภาพจาก Shutterstock

นัยยะที่ซ่อนอยู่ จะช่วยไขปริศนา ?

แต่ก็น่าสนใจที่ท่อนหนึ่งของเพลง Come Together ร้องว่า ‘He wear no shoeshine he got toe-jam football

หลังจากที่พวกเขามีชื่อเสียง ก็มีข่าวเล็กๆ ว่าพวกเขาเข้าสังคมกับพวกนักฟุตบอล และอัลบั้มคอมพีเลชั่นสองอัลบั้ The Beatles 1962-66 กับ The Beatles 1967-70 ก็ดันเป็นปกอัลบั้มสีแดงกับสีน้ำเงินอย่างน่าฉงน และก็ไม่น่าจะปฏิเสธได้ถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสี่หนุ่มกับลูกหนัง

อีกทั้ง อัลเบิร์ต สตับบินส์ผู้เล่นในตำแหน่งรุกของกองกลาง ก็ปรากฏกายอยู่ในปกปี 1967 อัลบั้ม Sgt. Peppers Lonely Hearts Club Band 

ภาพจาก the Beatles

เดวีส์ กล่าวว่า ธีมของอัลบั้มดังกล่าวเป็นเกี่ยวกับเหล่าฮีโร่กับพวกไอค่อนทั้งหลาย พวกเขาว่าจะนำฮีตเลอร์ใส่เข้าไปด้วย ผมบอกพวกเขาว่าน่าจะใส่นักฟุตบอลลงไปสักคนและคนที่พวกเขาพอจะนึกถึงได้ก็คือ สติบบินส์ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าชื่อตลกดี

​โรบินสันบอกว่าไม่อาจยืนยันได้ว่า สติบบินส์เป็นคนโปรดของพ่อของจอห์น สติบบินส์ที่จากไปเมื่อปี 2002 มีข้อแห่งเหตุผลอันหนึ่งเขาเล่าว่า 

วันหนึ่งผมได้รับโทรศัพท์จากผู้หญิงคนหนึ่งโทรมาในนามของผู้จัดการบีตเทิลส์ ถามผมหากผมยินยอมที่เขาจะนำรูปของผมไปลงปกอัลบั้มซาเจนท์ฯ ผมบอกไปเลยว่าเอาสิ ตอนนั้นผมยังไม่เคยพบกับพอล แต่เห็นได้ชัดว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนแห่งลิเวอร์พูล

จริงๆ แล้วในปกอัลบั้มก็มีฮีตเลอร์นะเมื่อเร็วๆ นี้ เซอร์ ปีเตอร์ เบลค ผู้ออกแบบปกอัลบั้มซาเจนท์ฯ เปิดเผยว่า “เขาอยู่ในนั้น แค่คุณมองไม่เห็น ฮิตเลอร์โดนคนในวงทั้งสี่บังจนมิด

​ถึงอย่างไรสำหรับบีตเทิลส์ทั้งสี่แล้ว ดูเหมือนว่าเกมฟุตบอลจะไม่ใช่เกมของพวกเขาจริงๆ 

อีกไม่นานก็รู้ เพราะในการฉลองแชมป์ของหงส์ มีข่าวว่าจะมีการเชิญสมาชิกที่เหลืออยู่สี่เต่าทอง มาฉลองด้วย ถึงวันนั้นนักข่าวคงจะได้ถามพอลว่า “เพื่อนๆ ในวงน่ะ สนใจฟุตบอลกันบ้างมั้ย ?”

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ