เสื้อบอล “ลับ ลวง พราง”

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เลื่อน หรือยกเลิก ปลายเดือนเมษายนนี้จะมีการจัด exhibition เกี่ยวกับเสื้อบอลจากสำนักต่างประเทศในห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง ผมไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับงานนี้ และน่าจะอยู่อังกฤษไม่ได้ร่วมงาน ซึ่งคงมีการขายเสื้อล้อไปกับนิทรรศการเสื้อ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่สำนักขายเสื้อจากแมนเชสเตอร์ จะมาขายโชว์เสื้อเฉย ๆ 400 ตัว (ซึ่งไม่ถึงครึ่ง % ของเสื้อ 500,000-700,000 ตัว ที่ผมบุกไปถึงโกดังเขา หลายครั้ง)

ทำไมเสื้อฟุตบอลถ้านับกันจริง ๆ มีอายุมา 135 ปีแล้ว ถึงเพิ่งจะมาฮิต มาบูม จนเกิดอีเวนท์ในหลายประเทศ แถมเพิ่งเกิดเมื่อปีที่แล้วนี้เอง เพราะก่อนหน้านี้ สำนักขายเสื้อก็มุ่งแต่ขายออนไลน์ ไม่ได้มี “หน้าร้าน” แบบตะลอนเปิดขายตามเมืองใหญ่ อย่างทุกวันนี้

การเดินทางอันยาวไกลของ “เสื้อบอล”

เราจะถือกันนะครับว่า โดยประวัติศาสตร์เสื้อบอลนั้น มันเริ่มในปี 1884 โดยทีมแรกที่ใช้คือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะแพร่หลายไปสู่ทีมสโมสร ที่จะต้องหาชุดและสีของตัวเองมา เพื่อทำรายงานต่อสมาคม ต่อสถาบันว่า จะใช้เสื้ออะไร สีแบบไหน โดยที่เสื้อยุคแรกเป็นเนื้อหาห่วย ๆ ที่ขอแค่มีใส่ และสีต่างกัน ก่อน

Exhibition: The Art of the Football Shirt by Neal Heard

(ภาพจาก woodhouse)

มีการระบุในหนังสือประวัติศาสตร์ฟุตบอลบางเล่มนะครับว่า ก่อนจะมีเสื้อบอลแยกสีแยกทีม เคยมีการใช้วิธีนักเตะทีมหนึ่งต้อง “ใส่หมวก” เล่น เพื่อให้รู้ว่าใครคือทีมเดียวกับเรา และ 10 ปีให้หลังที่เคมบริดจ์มีเสื้อทีม สโมสรฟุตบอลอย่างเป็นทางการของโลกทีมแรกก็เกิดขึ้น

นั่นคือ เชฟฟิล์ด เอฟซี (คนละทีมกับเชฟฟิล์ด เวนสเดย์ หรือ เชฟฟิล์ด ยูไนเต็ด) วันที่ระบุคือ 24 ตุลาคม 1857

ในยุคแรก ๆ เสื้อบอลก็ใส่กันตามมีตามเกิด มากกว่าจะมาสนใจว่า ใครจะเส้นด้ายใยผ้าถักทออะไร เนื้อผ้าก็คอตตอนบ้าง ผ้าฝ้ายบ้าง บางทีก็เอาเสื้อคนงานเหมืองที่ตัวเองทำงานอยู่ มาเป็นเสื้อเตะบอลด้วย เวลาเดินทางจากกลางศตวรรษที่ 19 มาหลายทศวรรษ คอเสื้อก็เปลี่ยนไปตามความนิยม จาก “คอกลม” เป็น “คอปก” แล้วก็เปลี่ยนเป็น “คอวี” (ที่อ้างกันว่า คอ v มาจากคำว่า victory)

Bukta อาจจะเป็นแบรนด์แรกในการผลิตเสื้อบอลอย่างเป็นทางการ แต่กลายเป็น Umbro ที่เกิดในปี 1924 กลายเป็นแบรนด์ที่มีบทบาทดีสุดในประวัติศาสตร์ เพราะนอกจากผลิตเสื้อบอลให้แทบจะทุกทีมแล้ว เสื้อทีมชาติอังกฤษก็ยังใช้ Umbro ตอนที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966

ทีนี้ถามว่า ทำไมเราไม่เห็นโลโก้ Umbro ที่เป็นรูป double diamond หรือเพชรวางซ้อนกันบนเสื้อฟุตบอลในช่วงเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ?

Exhibition: The Art of the Football Shirt by Neal Heard

(ภาพจาก soccerbible)

คำตอบคือ ในอดีต ห้ามมีการโฆษณายี่ห้อเสื้อไว้บนเสื้อ จะอยู่ที่สลากป้ายต้นคอด้านหลังเท่านั้น กฏกติกามารยาทบนเสื้อบอลนี้ ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น สินค้าที่เป็นอักษรกลางเสื้อบอลนั้น แม้อนุญาตให้มีได้ในปลายทศวรรษที่ 70 (ยกตัวอย่าง hitachi ของ liverpool) ขนาดความสูงใหญ่ของตัวอักษร ก็ห้ามเกิน 2 นิ้วครึ่ง!

และเมื่อมีการใส่เสื้อตัวนั้นลงแข่งบอลถ้วยยุโรป หรือแมทช์ที่มีการถ่ายทอดสดทางทีวี เสื้อต้องห้ามมีสินค้าใด ๆ กลางหน้าอกเสื้อ

แม้เสื้อบอลจะมีสีของแต่ละทีมที่เลือกมา (และเลือกสีตามความเชื่อ หรือแง่มุมศรัทธา เช่นฟอเรสต์กับสีแดง) แต่โดยหลัก ๆ หลายทีมมักมีเสื้อสีขาวเป็นเสื้อสำรอง เวลาที่สีตรงกันกับฝ่ายตรงข้าม แต่สีที่มีความนิยมใส่กันมากขึ้นโดยเฉพาะในทศวรรษที่ 60s เป็นต้นมา ก็คือ สีเหลือง !

เพราะทีมทั่วโลกมองเห็นบราซิลยุคเปเล่ คว้าแชมป์บอลโลกถึง 3 ครั้งในปี 1958 1962 และ 1970 แน่นอนว่า อีกสีคือสีขาว เพราะทุกสโมสรมองเห็นความเก่งของ “ราชันชุดขาว” เรอัล มาดริด ก่อนหน้านั้น

ถามว่าเวลามีการโฆษณากันโครม ๆ ว่า มีการขายเสื้อบอลยุค 20s มาจนถึงทศวรรษที่ 60s นั้น เป็นเสื้อจริงหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ไม่จริงครับ

ก่อนหน้าทศวรรษที่ 80s เสื้อบอลไม่ได้มีการผลิตเยอะแบบทุกวันนี้ เอาแค่เสื้อในทศวรรษที่ 70s แบบแท้ ๆ สักตัว แม้จะมี ก็ยังหายากและราคาแพงมาก (ทั้งที่เนื้อหาไม่ได้ว่าดี) ฉะนั้น เวลามีคนมาขายเสื้อบอลยุคเก่า ให้ถามไปเลยว่า เสื้อ ramake retro vintage ใช่หรือไม่

เนื่องเพราะทุกวันนี้ พออุตสาหกรรมเสื้อบอลโตสุด กลายเป็น “พื้นที่หาเงิน” อย่างมหาศาลของสโมสร มันก็คือเสื้อที่เริ่มจากทศวรรษที่ 80 อย่างเป็นทางการ กล่าวคือทีมต่าง ๆ ค่อย ๆ ผลิตเสื้อมากขึ้น และจาก 15 ปีเปลี่ยนเสื้อทีในอดีต ก็ลดเป็น 5 ปี 3 ปี 2 ปี และกลายเป็นเปลี่ยนทุก ๆ ปี

แถมออกมันปีละ 3-4 ตัว วุ่นวายไปหมด

เสื้อบอลก็มีตระกูลเหมือนหนัง

และแน่นอนว่า ตระกูล รุ่น แบบ ที่ดูแพงดูเลอค่าสุดก็คือ match worn shirt หรือเสื้อที่นักเตะใส่ อันมิได้หมายความว่า เสื้อถึงครึ่งหนึ่งจะถูกใส่ เพราะทุก ๆ นัด สโมสรจะทำเสื้อไว้ 3 ตัว สมมตินักเตะใส่ครบแมทช์ทั้งฤดูกาล ก็เพิ่งจะ 38 ตัว แล้วถ้าไม่ได้ลงเล่น ก็ต้องลดไปอีก

แต่เอาเถอะ ถ้านับว่าใส่ครึ่งแรกกับครึ่งหลังคนละตัว ก็ถือว่าเสื้อนักเตะใส่ ก็มีอยู่แถว ๆ 60-70 ตัวต่อปี …แล้วมันออกมาสู่มือแฟนบอลได้อย่างไร ?

Kit Manager ครับ ในสโมสรจะมีตำแหน่งนี้ไว้ดูแลเสื้อนักบอล ใครคนนี้จะสนิทสนมกับนักเตะมาก จนหลายครั้งก็ได้เสื้อถอดออกมาจากนักบอลเองเลย เสื้อนักบอลอยู่ในมือ kit manager มันจะไปออกทางอีเบย์ หรือเอเจนท์ หรือสปอนเซอร์ที่ต้องการจ่าย… นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

ใครได้ครอบครองเสื้อ ที่ว่าเลอค่า ก็อย่าเพิ่งมั่นใจ

เคยมีคดี เสื้อ match worn ย้อมแมว เพราะคนขายเล่นใส่ story จนน่าเชื่อมาแล้ว

 

“ลับ ลวง พราง” ไม่ได้มีแต่การเมืองซะเมื่อไหร่ เสื้อบอลนี่แหละ ลับๆล่อๆ อยู่หลายตัว !

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ