ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศ

ครั้งก่อนผมเขียนเรื่องแรงกดดันต่อสตรีเพศในช่วงโควิดที่มีหน้าที่ทั้งเรื่องงานและดูแลบ้านมาเขียนได้รับความสนใจจากผู้อ่านกันเยอะ (ไปอ่านกันที่นี่นะครับ คลิก) ครั้งนี้ผมขอลงลึกเพิ่มเติม 2-3 เรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศ 

เรื่องแรกเกี่ยวกับทางเลือกอาชีพของคนในสังคมไทยที่ถูกกำกับด้วยวิถีการแบ่งบทบาทหญิงชายตามค่านิยมเดิมๆ สถิติในประเทศเราจะเห็นว่ายังมีสตรีเพศอยู่ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้อยกว่าชาย ซึ่งในยุคนี้เป็นสายที่มีโอกาสทางอาชีพเปิดกว้างมากกว่า ยิ่งเข้าทำงานแล้วอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น วิศวกรรมหรือปัญญาประดิษฐ์ก็ยังถูกมองว่าเป็นอาชีพที่เหมาะกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ตัวเลขจาก World Economic Forum ระบุว่า สัดส่วนของนักวิชาชีพด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นผู้ชายยังนำลิ่วทิ้งห่างผู้หญิงร้อยละ 78 ต่อร้อยละ 22) 

ในโลกยุคดิจิทัลที่ automation หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทกับงานมากขึ้น ทักษะคนคนทำงานต้องเปลี่ยนไป ภาคธุรกิจที่จ้างงานสตรีเพศอยู่เยอะๆ อย่างท่องเที่ยว สายการบิน บริการ ร้านอาหาร และรีเทล จะโดนกระทบยังไง ทั้งภาครัฐและเอกชนควรคิดเตรียมแผน reskill ให้กับพวกเธออย่างจริงจังชัดเจนนะครับเพื่อที่จะได้พร้อมเมื่อเวลานั้นมาถึง 

Entrepreneurship ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนสตรีเพศมากขึ้น องค์กรใหญ่ๆ บางแห่งเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารสตรีมากขึ้น หรือขึ้นเป็น CEO เลยก็มี เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่สำหรับสตรีที่อยากตั้งไข่ธุรกิจของตัวเอง ภาครัฐน่าจะให้ความสำคัญเยอะๆ อย่าง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เริ่มต้นได้ดีกับพวกธุรกิจ SME หรือ OTOP แต่อยากให้ขยายรวมถึงธุรกิจในโลกใหม่ด้วย ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเข้าใจกับบริบทธุรกิจใหม่ๆ อย่างแพล็ตฟอร์มหรือสตาร์ทอัพต่างๆ ไม่งั้นก็จะมองจำกัดการสนับสนุนแค่ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ เท่านั้น 

ในด้านสวัสดิการก็สำคัญ ภาครัฐควรปรับปรุงระบบสวัสดิการดูแลเด็กและครอบครัวให้ดี เช่นลงทุนกับเรื่องจับต้องได้อย่างสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้ดีให้คุณแม่สบายใจที่จะฝากบุตรไว้ มีโอกาสทำงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันเพื่อมิให้สมดุลย์หายไปมัวแต่ทำงานกันอย่างเดียว องค์กรหรือนายจ้างต่างๆ ก็ควรเปิดกว้างเรื่องการแบ่งเวลา  นโยบาย flexible work scheme มีออกกฎไปให้ชัดเจน อย่าให้พวกเธอต้องกลัวที่จะใช้สิทธิเรื่องพวกนี้เพราะกลัวโดนเพ่งเล็ง กลัวตกงานเพราะถ้าให้องค์กรเลือกก็จะเลือกเก็บผู้ชายไว้ก่อน ความคิดแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้น

เรื่องพวกนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ นะครับ แต่บทวิจัยของ McKinsey เค้าบอกว่าไอ้การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศในเรื่องพวกนี้แหละที่จะส่งผลทางบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกในอนาคต อย่างแน่นอน ถึงเวลาที่เราจะต้องขยับตัวกันจริงจังแล้วไหมครับ  

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม