FIFA 2022

ประเด็นความล้มเหลวของ FIFA ในฟุตบอลโลก 2022 ณ.กาตาร์

FIFA 2022 ความวุ่นวายต่อเนื่องก่อนจะถึงบอลโลกที่มาพร้อมกับความตื่นเต้น

เมื่อเอ่ยถึงฟุตบอลโลก แฟนฟุตบอลอย่างเราๆ ก็มักจะคิดถึงแต่ความตื่นเต้น และความยิ่งใหญ่ของการแข่งขัน แต่จากประเด็นความอื้อฉาว ของการเลือกประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพปี 2022 ทำให้ผมอดใจไม่ได้ที่ จะค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นแง่มุมหนึ่งของฟุตบอลโลกและ FIFA ที่ผมไม่ค่อยได้ยินนัก

สำหรับงานนี้ต้องบอกเลยครับว่าการได้มาซึ่งสิทธิ์นี้เป็นผลมาจาก การเมือง ผลประโยชน์ การสมยอม ฯลฯ อีกมากมายที่ FIFA เข้าไปเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อเนื่องให้ FIFA ต้องเข้าไปแก้ไขประเด็นร้อนๆ ต่างๆ ที่เป็นผลของการมอบสิทธิ์นี้ให้กับกาตาร์ทั้งสิ้น

74432

กาตาร์ เป็นประเทศขนาดเล็ก ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 2 ล้านกว่าคน ซึ่งกว่า 80% เป็นต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกาตาร์  เคยเป็นประเทศที่ยากจนมาก จนกระทั่งมีการพบแหล่งน้ำมันในช่วงทศวรรษที่ 40’s ซึ่งมีการประมาณว่า กาตาร์เป็นเจ้าของแหล่งน้ำมันกว่า 15% ของทั้งหมดในโลก

คิดดูแล้วกันครับว่าประเทศนี้เล็กแค่ไหน ผมเคยแวะไปที่นั่นช่วงเปลี่ยน flight ก็เลยออกนั่งรถดูเมือง Doha ประมาณ 20 นาทีก็ครบรอบเมืองแล้วครับ

อย่างที่เราทราบกันดี มหกรรมกีฬาอย่างฟุตบอลโลกนั้น เป็นการลงทุนมหาศาลของประเทศเจ้าภาพ แน่นอน แม้กาตาร์จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาจากน้ำมัน  แต่ประเทศที่จะจัดมหกรรมยิ่งใหญ่ขนาดนี้ นอกจากรวยแล้วควรมีทรัพยากรทางสังคมในด้านอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความน่าดึงดูด ให้กับการเดินทางมาชมการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว วัฒนธรรม หรือสถานที่น่าสนใจต่างๆ ที่ควรมี หรือ ถูกเตรียมไว้รองรับ และมีแผนการต่อยอดจากการลงทุนในครั้งนี้อย่างชัดเจน แต่สำหรับประเทศเล็กๆ อย่างกาตาร์ อันนี้เป็นคำถามที่คงต้องหาคำตอบว่าเตรียมการไว้อย่างไรบ้างหรือไม่

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและน่าเสียดายก็คือ ไหนๆ ก็จะเปิดตลาดในภูมิภาคนี้แล้ว การพิจารณาให้หลายประเทศเป็นเจ้าภาพร่วมน่าจะดีกว่าเพราะเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่และ educate คนทั่วโลกให้รู้จักเรื่องวัฒนธรรม ความเจริญ ของภูมิภาคนี้ รวมถึงการกระจายความเจริญอันเป็นผลต่อเนื่องด้วยเช่นกันแทนที่จะให้กาตาร์เอาไปคนเดียว อย่าลืมว่าตัวอย่างชั้นดีมีให้เห็นแล้วในคราวที่เอเชียเป็นเจ้าภาพโดยการร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลี

“การจัดฟุตบอลในหน้าร้อน ในเขตทวีปตะวันออกกลาง จะเหมาะสมแล้วหรือ” เป็นอีกคำถามที่ FIFA ถูกยิงตั้งแต่เริ่มต้น ของการมีกาตาร์เป็นประเทศหนึ่ง ที่เสนอตัวแข่งขันเป็นเจ้าภาพ การหมุนเวียนกันจัดในแต่ละทวีปเข้าใจได้ และเป็นเรื่องที่แฟร์ เพราะเป็นการเปิดตลาดฟุตบอลในทวีปใหม่ๆ บ้าง ซึ่งทีมในตะวันออกกลางก็พัฒนาขึ้นมามากแล้ว อิหร่าน ซาอุดิอาราเบีย ก็เข้ารอบสุดท้ายมาหลายครั้งและมีผลงานน่าสนใจพอตัว แต่น่าเสียดายที่ความไม่โปร่งใสในกระบวนการต่างๆ ทำให้โอกาสในการจัดฟุตบอลโลกครั้งแรก ในตะวันออกกลางเสียเรื่องด้วยความอัปยศดังกล่าว

คำวิจารณ์จากนักฟุตบอลและทีมต่างๆ โดยตรงก็คืออุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนสำหรับทวีปตะวันออกกลางจะส่งผลอย่างไรต่อนักฟุตบอล อันตรายจาก heat stroke เป็นไปได้ไหม หรือประสิทธิภาพการเล่นของนักกีฬาจะตกไปไหมในอุณหภูมิที่ร้อนขนาด 40-45 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ยในหน้าร้อน ซึ่งก็คงทำให้เกมการแข่งขันช้าและสนุกน้อยลงสำหรับคนดูอย่างแน่นอน เรื่องนี้เป็นที่กังวลมากสำหรับทุกทีมในช่วงแรกที่ประกาศผลว่ากาตาร์ได้รับสิทธิ์

ซึ่งหลังจากได้รับความกดดันจากหลายฝ่าย ส่งผลให้ FIFA ออกมาเปลี่ยนแปลงตารางการแข่งขันภายหลังว่าจะจัดช่วงปลายปีที่อากาศเย็นหน่อยและเป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก เพราะถ้าหากมีเจตนาเช่นนั้นก็ ควรบอกแต่แรกในการพิจารณากาตาร์เป็น candidate แล้ว ไม่ใช่เลือกก่อน แล้วค่อยปรับทุกอย่างให้เข้ากับสิ่งที่ล็อคกันไว้ ทีนี้พอ FIFA เพิ่งจะออกมาบอกเรื่องนี้ หลังจากที่ได้เลือกกาตาร์กันไปตั้ง 4 ปีมาแล้วมันก็ส่งผลกระทบกันใหญ่สิครับ ตารางการแข่งขันของลีกต่างๆ กว่า 50 ลีก โดยเฉพาะในยุโรปก็ต้องเปลี่ยนแปลง มีเริ่มเร็วหน่อย จบช้าหน่อย ซึ่งผลกระทบอาจต่อเนื่องยาว 2-3 ฤดูการเลยทีเดียว

และพอเกี่ยวข้องกับเรื่องของบอลลีก ก็จะมีเรื่องเชิงพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประมูลได้สิทธิ์การถ่ายทอดสด ที่ต้องปรับกันกระบวนใหญ่ เช่นของฝั่งอเมริกา เจ้าใหญ่อย่าง Fox กับ Telemundo ที่ฟุตบอลโลกปลายปีจะไปทับกับปฏิทินกีฬาฝั่งนั้น ยอดคนดูลด สปอนเซอร์ต้องแบ่งเงิน รายได้จากการถ่ายทอดอาจไม่เข้าเป้า วิธีแก้ปัญหาแบบ FIFA ก็คือการยกประโยชน์ให้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดปี 2026 กับทั้งสองสถานีเลย โดยไม่ต้องมีการประมูลราคาเพื่อปิดปาก

fifa-qatar_2692713b

ทั้งหมดทั้งมวล ถ้าดูกันผิวเผินจะเหมือนว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ การจัดฟุตบอลในประเทศตะวันออกกลาง ช่วงหน้าร้อนเหมาะสมหรือไม่ แต่ถ้าดูกันอย่างถ่องแท้ ผมคิดว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ความล้มเหลว ของการบริหารงานของ FIFA ในการดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ อันเป็นผลมาจากความโลภ ความเย่อหยิ่ง และความพยายามในการปัดกวาดข้อผิดพลาด อันเกิดมาจากการมอบสิทธิ์นี้เข้าไปใต้พรม อย่างไม่สนใจใยดีอะไรทั้งสิ้นครับ

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม