ตำนานวันไหว้พระจันทร์
ความเชื่อ สู่การผสมผสาน
วัฒนธรรมไทย - จีน

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลที่สำคัญอีกเทศกาลหนึ่งของคนจีนรองจากเทศกาลตรุษจีนเลยก็ว่าได้ แล้วทุกคนเคยสงสัยไหมค่ะว่าทำไมคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนถึงต้องไหว้พระจันทร์ 

moon-festival

วันนี้ Sansiri Blog จะมาเล่าถึงเหตุผลทำไมคนจีนถึงนิยมไหว้พระจันทร์  ตำนาน “ฉางเอ๋อ” ต้นกำเนิดวันไหว้พระจันทร์ ขนมไหว้พระจันทร์และความหมายของไส้ขนมไหว้พระจันทร์ วิธีการไหว้พระจันทร์ และการไหว้พระจันทร์กับการผสมผสานวัฒนธรรมไทยให้ทุกคนฟังกันค่ะ 

ทำไมคนจีนถึงต้องไหว้พระจันทร์ 

เทศกาลไหว้พระจันทร์จะมีขึ้นในช่วง 15 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม วันจะไม่ตรงกัน เพราะยึดตามปฏิทินจันทรคติของจีนเป็นหลัก ปีนี้ วันไหว้พระจันทร์จะตรงกับวันที่ 17 กันยายน 2567 โดยเทศกาลไหว้พระจันทร์ จะเกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วงของประเทศจีน ภาษาจีนจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า “จงชิวเจี๋ย” ซึ่งแปลว่าเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงนั่นเองค่ะ

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนจีนถึงต้องไหว้พระจันทร์ เนื่องจากคนจีนเชื่อกันว่าพระจันทร์ สามารถดลบันดาลพืชพรรณผลผลิตทางการเกษตร และในช่วงไหว้พระจันทร์เป็นช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว จึงอยากขอบคุณพระจันทร์ที่ทำให้เก็บผลผลิตได้อย่างราบรื่น 

ตำนาน “ฉางเอ๋อ” ต้นกำเนิดวันไหว้พระจันทร์

มีตำนานเกี่ยวกับการไหว้พระจันทร์ที่ถูกเล่าขานมานับพันปีของ “เทพธิดาฉางเอ๋อ”กับ “จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้” แต่ก็มีหลายเวอร์ชั่นที่คนเล่ากันและถูกปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในที่นี้เราจะอ้างอิงจากในช่อง YouTube ของ netflix โดยมีชื่อตอนว่า เจาะลึกตำนาน ‘ฉางเอ๋อ’ ต้นกำเนิดเทพีแห่งดวงจันทร์ โดยเป็นตำนานของเทพธิดาฉางเอ๋อที่ได้ขึ้นไปอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ทิ้งสามีผู้เป็นที่รักไว้ที่โลกมนุษย์ ในอดีตกาลมีพระอาทิตย์ทั้งหมด 10 ดวง ทั้งหมดเป็นโอรสของเง็กเซียนฮ่องเต้ ประมุขแห่งสรวงสวรรค์ วันหนึ่งพระอาทิตย์ทั้ง 10 ดวงจึงออกมาเที่ยวเล่นบนโลกมนุษย์ แต่โลกไม่อาจทนความร้อนของพระอาทิตย์ได้ ทำให้มนุษย์และพืชพรรณต่างๆ กลายเป็นเถ้าถ่าน  เน็กเซียนฮ่องเต้จึงให้จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้ไปทำยังไงก็ได้ให้เหล่าพระอาทิตย์ทั้ง 10 ดวง หยุดก่อความวุ่นวาย แต่พระอาทิตย์ดื้อ จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้ที่อยากจะช่วยโลก ใช้ธนูยิงพระอาทิตย์จนเหลือ 9 ดวง เง็กเซียนฮ่องเต้จึงเนรเทศให้ จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้กับภรรยาเทพธิดาฉางเอ๋อมาอยู่บนโลกมนุษย์

ภรรยาของเขาเสียใจอย่างมากเขาจึงตามหายาอายุวัฒนะ เพื่อที่จะทำให้ชีวิตเป็นอมตะ จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้ตามหายาอายุวัฒนะจนเจอ แต่กฎของยาอายุวัฒนะจะต้องกินร่วมกันทั้งสองคนถึงจะเป็นอมตะ แต่เทพธิดาฉางเอ๋อ กินยาอายุวัฒนะนั้นเข้าไปคนเดียวเพราะอยากกลับสวรรค์ แต่เพราะโดนเนรเทศจึงลอยขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์แทน จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้โกรธมากจึงจะตามไปยิงธนูใส่นางผู้เป็นที่รัก แต่เขาไม่สามารถฆ่านางผู้เป็นที่รักได้ลง จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้จึงไปสร้างพระราชวังบนดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของหยิน หรือเพศชาย เทพธิดาฉางเอ๋อ ที่ไปอยู่บนดวงจันทร์เป็นตัวแทนของหยางหรือ เพศหญิง ในวันขึ้น 15 เดือน 8 หรือวันไหว้พระจันทร์ของทุกปี จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้จะสามารถไปหาภรรยาของเขาได้บนดวงจันทร์และผู้คนต่างนำเครื่องเซ่นไหว้มาสักการะเทพธิดาฉางเอ๋อเพื่อขอพร

หรือบางตำนานก็เล่าว่า มีโจรผู้ร้ายต้องการขโมยยาอายุวัฒนะ เทพธิดาฉางเอ๋อจึงกินเข้าไปจนหมดแล้วลอยไปอยู่บนดวงจันทร์ จอมทัณฑ์เกาโฮ่วอี้เสียใจมากจึงนำอาหารและขนมที่ภรรยาชอบไปไว้ใต้แสงจันทร์ในวันที่ 15 เดือน 8 หลังจากนั้นก็มีเทศกาลไหว้พระจันทร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมานั่นเองค่ะ

ขนมไหว้พระจันทร์ต้องเป็น “ทรงกลม” “สี่เหลี่ยม”  หรือ “วงรี”

ขนมไหว้พระจันทร์ต้องเป็นทรงกลม แบน เป็นวงรีหรือเป็นสี่เหลี่ยมก็ได้แต่ต้องไม่เป็นก้อนกลม อาจเพราะจะทำให้ดูขาดความประณีตและสวยงาม ในวัฒนธรรมของชาวจีน “ความกลม”เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์และความมั่นคง หากไหว้พระจันทร์แล้วความอุดมสมบูรณ์ เงินทองจะไหลมาเทมา 

ถ้ามีรูปพระจันทร์เต็มดวงบนขนมจะสื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง การรักใคร่กลมเกลียวของคนในครอบครัว (ไม่จำเป็นต้องรูปพระจันทร์บนขนม) หรือจะเป็นสัญลักษณ์อื่นๆ ที่สื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ก็ได้ แต่ต้องมีความหมายและสัญลักษณ์ที่เป็นมงคล เช่น มังกร ดอกไม้ หรืออักษรจีนที่มีความหมายดี 

รวมถึงคนในครอบครัวจะกลับมาเจอกัน กินขนมไหว้พระจันทร์ร่วมกันและจะมอบขนมไหว้พระจันทร์ให้ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงความปรารถนาดีและความรักต่อผู้ได้รับขนมไหว้พระจันทร์ โดยขนมไหว้พระจันทร์มีชื่อในภาษาจีนว่า “เย่วปิ่ง”

ไส้ขนมไหว้พระจันทร์สื่อถึงความเป็นสิริมงคล

รู้หรือไม่ว่าไส้ของขนมไหว้พระจันทร์ก็มีความหมายที่เป็นสิริมงคลที่ผู้ให้ต้องการให้เกิดกับผู้รับ เช่น

ไส้ทุเรียน หมายถึงความเฉลียวฉลาด และความมั่งมีศรีสุข

ไส้ไข่เค็ม หมายถึง ชีวิตที่สุกสว่างเหมือนดังดวงจันทร์ยามค่ำคืน

ไส้เม็ดบัว หมายถึง การมีอายุมั่นขวัญยืน

ไส้ถั่ว หมายถึง การมีทรัพย์สินเงินทอง ร่ำรวย มีกินมีใช้ไปตลอด

ไส้ลูกพลัม  หมายถึง การเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ที่ดี เช่นเริ่มต้นชีวิตใหม่ 

ไส้ถั่วแดง หมายถึง ให้มีความกล้าหาญชาญชัย

ไส้ถั่วดำ หมายถึง การมีอำนาจบารมี

การไหว้พระจันทร์ฉบับดั้งเดิม

การไหว้พระจันทร์เป็นประเพณีดั้งเดิมที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ในสมัยก่อนจะทำเฉพาะช่วงเวลากลางคืนในวันที่ 15 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงส่องสว่างอย่างสวยงามที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีในการขอพรจากพระนางฉางเอ๋อนั่นเอง 

วิธีไหว้พระจันทร์ เตรียมของไหว้ จัดโต๊ะบูชา และการไหว้ขอพร

เตรียมของไหว้

ขนมไหว้พระจันทร์และขนมอีก 3 อย่าง เช่น ขนมเปี๊ยะ สาคูแดง 4 ถ้วย หรือขนมโก๋ ผลไม้ที่เป็นมงคล 4 อย่าง เช่น ส้ม ส้มโอ สาลี่ ทำทีม ธูป เทียน ดอกไม้ น้ำชา 4 ถ้วย (น้ำชาอาจมีหรือไม่มีก็ได้) อาหารเจ 4 อย่าง ของใช้ส่วนตัวผู้หญิง กระดาษเงิน กระดาษทอง กระดาษไหว้พระจันทร์ โคมไฟ ต้นอ้อย 

จัดโต๊ะบูชา

ตั้งโต๊ะในที่โล่งแจ้ง หันหน้าเข้าหาพระจันทร์ วางของไหว้ 

ไหว้ขอพร

จุดธูปเทียน ไหว้และอธิษฐานขอพร จากนั้นตั้งทิ้งไว้จนกว่าธูปเทียนจะหมด ถึงจะสามารถเก็บของไหว้ได้ 

เทศกาลไหว้พระจันทร์ในบ้านเรา (ประเทศไทย) 

ในประเทศไทยมีคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยประมาณ 7 – 10 ล้านคน เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ในบ้านเราจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะคนในจังหวัดกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ตและนครสวรรค์ 

ในปีนี้ย่านไชน่าทาวน์อย่างเยาวราชจะมีการจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสวนา การชมการแสดงและการทำ workshop ต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนและวันไหว้พระจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 13-17 กันยายน 2567 และยังมีอีกหลายสถานที่ที่จัดเทศกาลไหว้พระจันทร์อีกด้วย ในบางแห่งมีการผสมผสานวัฒนธรรมจีนกับประเพณีไทยเข้าด้วยกัน เช่น การทำบุญตักบาตรในตอนเช้าของวันไหว้พระจันทร์ 

ในบ้านเราการไหว้ขอพรเป็นสิ่งสำคัญในเทศกาลไหว้พระจันทร์เช่นกัน โดยคนไทยเชื้อสายจีนเกือบทุกครอบครัวจะมาไหว้และขอพรในคืนไหว้พระจันทร์ เพื่อขอให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เงินทองไหลมาเทมา สุขภาพแข็งแรง ฯลฯ เพราะเชื่อว่าการขอพรในคืนพระจันทร์เต็มดวงจะทำให้มีโอกาสสมปรารถนามากยิ่งขึ้น 

การไหว้พระจันทร์ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญสำหรับคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการขอพรให้มีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองจากดวงจันทร์ตามความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานแล้ว เทศกาลนี้ยังเป็นการรวมญาติให้คนในครอบครัวได้กลับมาเจอกันนั่นเองค่ะ


Source

https://www.thairath.co.th/lifestyle/calendar/2193911 

https://youtu.be/SGY2rlBqoO8?si=_AXCX9sW9yhBct7K 

https://www.sanook.com/horoscope/69721/ 

https://www.thaipbs.or.th/now/content/377 

https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/206256 

https://www.aurora.co.th/news/page_news/216/ 

Related Articles

Paralympic

Paralympic 2024 การก้าวข้ามขีดจำกัดของคนพิการสู่การแข่งขันกีฬาระดับโลก

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าคนพิการก็เล่นกีฬาได้นะ หลายปีที่ผ่านมาได้มีการจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้จัดที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส วันนี้ Sansiri blog จะมาเล่าถึงการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก สัญลักษณ์พาราลิมปิก ต้นกำเนิดของพาราลิมปิก กีฬาที่ผู้พิการเล่นได้ การออกแบบหมู่บ้านนักกีฬาและการปรับสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของนักกีฬาพาราลิมปิกให้ฟังกันค่ะ ทุกคนคงเคยได้ยินการแข่งกีฬาพาราลิมปิกผ่านหูกันบ้างใช่ไหมละคะ และรู้ไหมว่ากีฬาพาราลิมปิกเกมส์คืออะไร? พาราลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาสำหรับผู้พิการโดยส่วนมากจะเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางสติปัญญา โดยองค์กรที่จัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกมีชื่อว่าพาราลิมปิกสากล (IPC) ในปัจจุบันพาราลิมปิกสากลจะจัดภายหลังจากการแข่งขันโอลิมปิกจบลง

versailles Olympics Paris 2024

พระราชวังแวร์ซายจากตำนานราชวงศ์สู่สนามแข่งระดับโลก

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่ถือเป็นไอคอนนิคของประเทศฝรั่งเศส หนึ่งในลิสต์ที่ทุกคนพูดถึงคงหนีไม่พ้นพระราชวังแวร์ซาย และทุกคนรู้ไหมว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ด้วยนะ ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแข่งม้าที่สวยงามไม่แพ้กับสนามกีฬา Eiffel Tower Stadium หรือ Place de la Concorde ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดเลยนะ วันนี้ Sansiri Blog

Olympics

OLYMPIC GAMES Paris 2024 เล่าเรื่องราวของการดีไซน์ในเมืองศิลปะ ผ่านการจัดงานแข่งกีฬาระดับโลก

Paris2024 ที่นี่ “ปารีส” มหานครแห่งศิลปะ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33 หรือ “Paris 2024”  การกลับมาในฐานะเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง หลังผ่านไป 100 ปี งานนี้ทางฝรั่งเศสนั้นเรียกได้ว่าทุ่มสุดตัวจริงๆ ทำให้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างผ่านการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” คำขวัญประจำชาติของฝรั่งเศสได้ถูกนำมาเรียงร้อยไปในการออกแบบและจัดงานอย่างกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็น