“มหกรรมจัดงานแข่งกีฬาโอลิมปิก ลดต้นทุนจัดงาน แบบ Low-cost”

ประเด็นร้อน ลดต้นทุนการจัดงาน โอลิมปิก !

เมื่อสองสัปดาห์ก่อนผมเขียนถึงเรื่องของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกของเมืองและประเทศต่างๆ โดยประเด็นสำคัญในครั้งที่แล้วคือ ต้นทุนของการจัดมหกรรมกีฬาใหญ่ระดับโลกอย่างโอลิมปิกนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีและสูงมากเสียจนบางเมืองที่เสนอตัวก็เริ่มมองว่าไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้และเริ่มมีการขอถอนตัวจากการเสนอชื่อเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพแล้วอย่างเช่นบอสตันเป็นต้น และแม้กระทั่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคสากลหรือ IOC นาย Thomas Bach เองก็มีแนวทางที่ชัดเจนว่าต้องการให้ต้นทุนในการจัดกีฬาโอลิมปิกในครั้งต่อๆ ไปลดลงภายหลังมีกระแสต่อต้านที่หนาหูขึ้นจากจำนวนเงินมหาศาลที่ลงไปกับโอลิมปิกที่ปักกี่งในปี 2008 และโอลิมปิกฤดูหนาวที่ Sochi รัสเซียเมื่อปีก่อน

Screen-Shot-2015-04-27-at-10.48.37-AM

ณ ตอนนี้เริ่มมีการหันมามองโมเด็ลของการรื้อฟื้นเอาเมืองที่เคยจัดโอลิมปิกมาแล้วขึ้นมาเป็นสถานที่จัดการแข่งขันยกตัวอย่างเช่น Los Angeles ที่กำลังถูกหมายตาให้เสนอตัวแทนเมือง Boston เนื่องจากถูกมองว่ามีโครงสร้างพื้นฐานหลายๆ อย่างที่มีอยู่แล้วและต้องการเพียงแค่การ up grade หรือ renovate ขึ้นมาเสียใหม่ โดยดูเหมือนว่าทรรศคติของคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศอย่างสหรัฐฯ เริ่มที่จะมอง ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและผลกระทบระยะยาวมากกว่า glory และควมภาคภูมิใจของคนในเมืองที่จะได้เป็นเจ้าภาพเพราะตอนนี้ชั่งน้ำหนักยังไงเรื่องความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจก็มาก่อน

แต่เรื่องของโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของสนามกีฬาต่างๆ ที่ถูกสร้างตั้งแต่ปี 1932 และปรับปรุงใช้ใหม่ในปี 1984 ก็ไม่ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบสำหรับโอลิมปิกในยุคนี้ ยกตัวอย่างแค่สนามกีฬาโคลีเซียมใหญ่ที่จะต้องถูกใช้ในพิธีเปิดและปิด ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1932 ถ้าจะใช้อีกในครั้งนี้ผมว่าบิลค่าซ่อมและปรับปรุงต้องมหาศาลแน่ๆ ไล่ตั้งแต่รอยร้าวต่างๆ ตามกาลเวลา ระบบไฟฟ้าทั้งหมดคงต้อง re-wire ใหม่เพื่อความปลอดภัย ระบบเสียงที่ยังเป็นรุ่นเก่าเปรียบเทียบกับโชว์ที่ล้วนแล้วแต่อลังการทัง้สิ้น โดยเค้ามีการสำรวจกันแล้วว่าถ้าหากจะปรับปรุงระบบเสียงให้ทันสมัยเหมือนสนามใหม่ๆ ปัจจุบันก็เป็นไปได้ยากแล้วเพราะตำแหน่งในการติดตั้งลำโพงของโครงการนี้ไม่ค่อยมีจุดที่เหมาะสม นี่ยังไม่รวมระบบพวก stadium  wi-fi hot spot หรือ automation ต่างๆ ที่ต้องใส่เพิ่มเข้าไปอีกมากมายเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิตัล

ดูเหมือนว่าการลดค่าใช้จ่ายในการจัดกีฬาโอลิมปิกในด้านโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกคงเป็นไปได้ยาก แล้วถ้างั้นมีทางเลือกอื่นไหมที่จะช่วยลดต้นทุนได้

มีแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “ทำไมเราไม่ลดประเภทกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกเสียเลย” เพราะคิดเอาง่ายๆ ถ้าจำนวนกีฬาลดลง จำนวนผู้เข้าแข่งขันก็ลดลง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ถูกวางแผนและสร้างขึ้นตามจำนวนกีฬาและผู้เข้าแข่งขัน จำนวนบุคลากรที่จะต้องใช้ในการสนับสนุนและบริหารก็ลดลงอย่างแน่นอน แต่คำถามก็คือ “แล้วเราจะลดกีฬาประเภทไหนดี” ในเมื่อเราก็เห็นกันอยู่ประจำทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติที่มีการเพิ่มกีฬาใหม่ๆ เข้าไปเสมอๆ แทนที่จะลดประเภทลง

ข้อเสนอที่น่าสนใจอันหนึ่งก็คือ คงไว้แค่กีฬาที่ตัดสินกันด้วยตัวเลขที่จับต้องได้เป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาจับเวลา ตลับเมตรวัดระยะทาง/ความสูง และตาชั่งน้ำหนัก ซึ่งกีฬาที่ตัดสินกันด้วย ตัวเลข ประเภทนี้ก็ได้แก่ กรีฑาลู่และลานต่างๆ ว่ายน้ำ พายเรือ เรือใบ ยิงธนู เป็นต้น หรือถ้าเป็นกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวก็คงไว้แค่พวก สกีสลาลม สกีอัลไพน์ สเก็ตน้ำแข็งความเร็ว ฯลฯ พวกนี้

ข้อเสนออันที่สองที่น่าสนใจก็คือ กีฬาทุกประเภทที่ใช้ คะแนนจากดุลยพินิจของกรรมการ เอาออกไปให้หมด ไม่ว่าจะเป็น มวยสากลสมัครเล่น กระโดดน้ำ ยิมนาสติก ระบำใต้น้ำ หรือถ้าเป็นโอลิมปิคฤดูหนาวก็พวก figure skate เป็นต้น

โอลิมปิค WSJ.net

Credit: www.wsj.net

ที่มีแนวคิดแบบนี้เสนอมาก็เพราะว่ากีฬาโอลิมปิก ทุกครั้งทุกสมัยจะต้องมีความไม่โปร่งใสหรือเรียกง่ายๆ ว่า การโกงคะแนน สำหรับกีฬาประเภท ตัดสินคะแนนจากดุลยพินิจของกรรมการ

ในอดีตเราได้เห็นตัวอย่างที่น่าเกลียดมาหลายครั้งแล้วซึ่งถ้าผู้อ่านไปหาข้อมูลเพิ่มเติมดูก็จะพอทราบว่ากีฬาที่นิยม โกงคะแนน กันมากที่สุดก็คือมวยสากลสมัครเล่นสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน และ figure skate สำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งน่าจะเป็นข้อเสนอที่ขัดใจหลายๆ คนเพราะกีฬาทั้งสองประเภทนี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากอยู่ในการถ่ายทอดแต่ละโอลิมปิกและมักจะมียอดผู้ชมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโอลิมปิกในแต่ละครั้ง

ลองมองย้อนกลับไปในอดีตไม่นานที่ลอนดอนปี 2012 เราก็ได้เห็นกันแล้วสำหรับความเสื่อมของการให้คะแนนจากดุลยพินิจของกรรมการในการให้นักชกจาก Azerbaijan ชนะคะแนนคู่แข่งแบบขัดสายตาคนดูถึง 2 รุ่น โดยถึงกับทำให้นักพากษ์มวยคนหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ในอเมริกาถึงกับพูดออกาอากาศว่า “ครั้งหน้าคงต้องเอากระโถนมาไว้ข้างๆ เวลาพากษ์เพราะการตัดสินอันอัปยศในวันนี้ทำให้ผมคลื่นไส้มากๆ” โดยมีการสืบค้นและพบภายหลังว่าอาจมีการเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนกว่า 9 ล้านเหรียญที่สมาคมมวยของ Azerbaijan มอบให้กับสมาพันธ์มวยสมัครเล่นก่อนโอลิมปิกเพื่อ guarantee เหรียญทองสำหรับประเทศตน

หรือถ้านานไปอีกหน่อยก็ยังจำได้สำหรับโอลิมปิกที่เกาหลีใต้ปี 1998 ที่นักชกอเมริกันที่ชื่อว่า Roy Jones Junior แพ้คะแนนนักชกเจ้าถิ่น Park Si-Hun แบบน่ากังขาในรอบชิงและเป็นแม็ทช์ที่กรรมการทำหน้าที่ได้เลอะเทอะมากที่สุดครั้งหนึ่ง ถึงขนาดที่ตัวนักชกเกาหลีเองก็ทำหน้าไม่ถูกตอนขึ้นรับเหรียญรางวัลเลยทีเดียว ชัดเจนครับ กีฬาอะไรที่ใช้คะแนนจากการตัดสินใจของ มนุษย์ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อ คอร์รัปชั่น และ อคติ ย่อมไม่คู่ควรต่อการยกย่องผู้ชนะ

Roy-Jones-Jr-1988-e1344337255210

นอกจากนี้แล้วยังมีแนวคิดที่บอกว่าบรรดากีฬาทั้งหลายที่มีทัวร์นาเมนต์ Major ใหญ่ๆ เป็นของตัวเองอย่างเช่นเทนนิส กอล์ฟ ก็ไม่จำเป็นต้องบรรจุเข้าในโอลิมปิกไหมเพราะตลอดทั้งปีมีการแข่งขันที่มีศักดิ์ศรีสูงมากพออยู่แล้ว แถมยังมีแม็ตช์ระหว่างประเทศเช่น เทนนิส Davis Cup และกอล์ฟ Ryder Cup อยู่แล้วด้วยและผมเชื่อว่าในแง่ของตัวเลขผู้ติดตามชมก็มากกว่าด้วย ถ้าผมเป็น Andy Murray เองผมก็คงอยากได้แชมป์ Grand Slam เทนนิสมากกว่าที่จะได้เหรียญทองโอลิมปิกนะครับ

นอกจากนี้แล้วกีฬาสุดฮิตอย่างฟุตบอลก็เช่นกัน เนื่องจากเราก็มีทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลก ฟุตบอลยูโร ฟุตบอลโคป้าอเมริกา ฯลฯ มากมายอยู่แล้ว ทำไมโอลิมปิกจะต้องมีกีฬาประเภทนี้รวมไปด้วย อีกทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการมีสิทธิ์เข้าร่วมทีมโอลิมปิกของนักกีฬาทั้งประเภทนี้ก็กำหนดไว้ค่อนข้างเข้มข้น ซุปเปอร์สตาร์ทั้งหลายที่เก่งๆ ก็ไม่ได้ค่อยได้มีโอกาสในการร่วมทีมชาติมาแข่งโอลิมปิกอยู่แล้วอีกเช่นกัน นี่หมายรวมถึงบาสเก็ตบอลอีกกีฬาก็เหมือนกันครับ

ถ้าสมาพันธ์โอลิมปิคนานาชาติ IOC ต้องการที่จะลดต้นทุนในการจัดจริงๆ ผมว่าถ้าคงประเภทกีฬาเดิมๆ ไว้แล้วผลักดันให้แต่ละประเทศพยายามเขียมเงินในการสร้างโครงสร้างต่างๆ เป็นเรื่องยาก ใครมีเงินก็อยากถลุง ไหนจะเรื่อง หน้าตาประเทศ ไหนจะเรื่อง kick back ต่างๆ ยากครับ ผมว่าแนวคิดลดประเภทกีฬาน่าจะเข้าท่ากว่า จะว่าไปในระดับภูมิภาคเราลองมาดูกันก็ได้นะครับว่าการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์แต่ละทีที่เราเทเงินกันไปเยอะๆ ลองตัดกีฬาประเภทประจำชาติที่ใช้ดุลยพินิจจากกรรมการเป็นตัวตัดสินไปเลยดีกว่า ไม่งั้นเจ้าภาพก็ได้เหรียญทองกันประจำทุกครั้งไปครับ

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม