ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ความสำเร็จระดับสากล

          อย่างที่ทราบกันดีในวงการผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ว่าในงาน “Asia Pacific Property Awards 2016-2017” ที่ผ่านมา แสนสิริสามารถคว้า 5 รางวัลมาครอง รวมถึงรางวัลสูงสุด Five-Star Award ในสาขา Architecture ด้านสถาปัตยกรรมการบริการพื้นที่สาธารณะยอดเยี่ยม (Best Public Service Architecture Thailand) จากโครงการเศรษฐสิริ ราชพฤกษ์-จรัญสนิทวงศ์ สร้างความภาคภูมิใจให้กับบริษัทและพนักงานแสนสิริทุกคน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1
นายวันจักร์ บุรณศิริ (ขวา) ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ และ มร.คอบบี้ เลธเธอร์ (ซ้าย) หัวหน้าฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ไทยในงาน Asia Pacific Property Awards 2016-2017 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2

อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ ประเภทรางวัลที่เราได้รับนั้น ทำให้เราภูมิใจมากเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะตอกย้ำความเป็นเลิศด้านการออกแบบแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราตั้งใจออกแบบมาเพื่อลูกค้าโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนั้นไม่สูญเปล่า

ไปดูกันว่าผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการซึ่งได้รับรางวัลนี้ ได้มีประสบการณ์พิเศษแบบใดร่วมกับเราบ้าง กับข้อมูล exclusive และเบื้องหลังการออกแบบที่นำมาเปิดเผยที่แสนสิริ บล็อก เท่านั้น

เบื้องหลังการออกแบบคลับเฮาส์ของ โครงการเศรษฐสิริ ราชพฤกษ์-จรัญสนิทวงศ์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3

  • หลังคากระเบื้องดินเผา เป็นสัญลักษณ์ของวัสดุพื้นถิ่น
  • ผนัง และ sky light กระจกตัดแสง ช่วยเพิ่มแสงสว่างให้ตัวอาคารและประหยัดพลังงาน
  • ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้จริงซึ่งหายาก และเป็นวัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่ายกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น 4Sansiri_Setthasiri Ratchaphruek - Charan_Clubhouse 10
  • ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมไทย ที่คำนึงถึงการอยู่กับธรรมชาติและการประหยัดพลังงาน คือชายคาที่ยื่นยาว องศาของหลังคาที่ลาดชัน ช่วยกันแดดกันฝน แต่รับลมได้ดี
  • เส้นสายของโครงสร้างที่ใช้รับแรงของอาคาร กลายเป็นส่วนตกแต่งของอาคารไปในตัว สร้างความสวยงามให้กับอาคาร นอกจากนี้ sky light และผนังกระจก ยังช่วยนำแสงและกระจายแสงสว่างเข้ามาภายในตัวอาคารอีกด้วSetthasiri Ratchaphruek-Charun_Sansiri Blog (2) Setthasiri Ratchaphruek-Charun_Sansiri Blog (3)ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5
  • คำนึงถึงภาวะอยู่สบายในตัวอาคาร ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศที่ร้อนชิ้นของประเทศไทย โดยวางตัวอาคารและช่องเปิดให้สามารถรับลมและถ่ายเทอากาศได้ดีในทุกฤดูกาลของประเทศไทย รวมทั้งหลังคาที่มีความลาดชัน ช่วยกระจายความร้อนภายในอาคารให้ลอยสูงขึ้น และลดความร้อนภายนอกที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร

ด้วยการออกแบบให้ Lobby Lounge อยู่ที่ชั้นสอง เหมือนชานบ้านของเรือนไทยที่มีการยกใต้ถุนสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม และน้ำ กลายเป็นพื้นที่ที่ “ไม่ใช้พลังงาน” และยังได้ประโยชน์ในแง่มุมมองจากภายในอาคารที่จะสามารถมองเห็นวิวสระว่ายน้ำและสวนสีเขียวด้านนอกภูมิปัญญาท้องถิ่น 6 Setthasiri Ratchaphruek-Charun_Sansiri Blog (5)ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6

นอกจากนี้ อีกสี่โครงการที่เราได้รับรางวัลระดับ Highly Commended นั้น ก็สามารถตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมทุกประเภท คือ บ้านเดี่ยว (นาราสิริ บางนา ได้รับรางวัลสาขา Architecture ด้านสถาปัตยกรรมบ้านเดี่ยว) ทาวน์โฮม (ทาวน์ อเวนิว ซิกซ์ตี้ วิภาวดี 60 ได้รับรางวัลสาขา Interior ด้านการออกแบบห้องตัวอย่าง) และคอนโดมิเนียม (เดอะ เดค ป่าตอง และ The XXXIX ได้รับรางวัลสาขา Development ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวสูงตามลำดับ)

และแสนสิริยังได้รับอีก 3 รางวัลจากการส่งผลงานการออกแบบโครงการของแสนสิริเข้าประกวดโดยพันธมิตรสถาปนิกชั้นนำของเมืองไทย ได้แก่ รางวัล Five-Star Awards ด้าน Best Architecture Multiple Residence จากโครงการเดอะ เดค ป่าตอง ผลงานของสถาปนิก สมดุล จำกัด หรือ Sd A รางวัล Highly Commended ด้าน Residential Landscape Architecture จากโครงการออทัมน์  ผลงานของสนิทัศน์ สตูดิโอ (Sanitas Studio) และสาขา Interior ด้าน Interior Design Apartment  จากโครงการบ้านปลายหาด ผลงานของ Steven J. Leach JR. & Associates Limited.

ความสำเร็จจากการรับรางวัลของแสนสิริในครั้งนี้ นับเป็นเป็นการตอกย้ำศักยภาพที่แข็งแกร่งของบริษัททั้งในเวทีระดับประเทศและต่างประเทศ ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทยที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพผ่านการพัฒนาที่อยู่อาศัยอันหลากหลายที่ตอบโจทย์ทั้งด้านดีไซน์และการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง

เกี่ยวกับรางวัล ‘ASIA PACIFIC PROPERTY AWARDS 2016-2017’ 

รางวัล ‘ASIA PACIFIC PROPERTY AWARDS 2016-2017’ แบ่งออกเป็น 4 สาขา ประกอบด้วย สาขา Real Estate สาขา Architecture สาขา Interior Design และสาขา Development โดยมี บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียกว่า 100 บริษัทจาก 25 ประเทศเข้าร่วมรับรางวัลจากเวทีนี้ โดยการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลกกว่า 70 คน รวมถึงจาก UK’s House of Lords

Related Articles

BehindTheDesign_Ep02-3

Behind the design EP.2 สายรักษ์โลก VS นักดีไซน์บ้าน จะเดินอยู่บนเส้นทางเดียวกันได้อย่างไร ?

ในทุกวันนี้มนุษย์กำลังเผชิญสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว หลายพื้นที่ของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสถานการณ์ ไฟป่า ภัยแล้ง ภัยพิบัติ คลื่นความร้อน น้ำท่วม พายุฝน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน แน่นอนว่าปัญหากำลังเกิดขึ้นในบ้านของเราทุกคน ‘บ้าน’ ที่ถูกนิยามว่า ‘โลก’ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่ทำให้เกิดการผลิต การบริโภค และการทิ้งที่มากขึ้นทวีคูณ วันนี้ Behind

behind the design

Behind the Design: ตี่ลี่ฮวงจุ้ย – หลักการดีไซน์ หยินหยางของบ้านที่ขาดกันไม่ได้

‘บ้าน’ คือพื้นที่ที่สำคัญต่อความรู้สึก ซึ่งนิยามอาจแตกต่างกันไปในหลายมุมมอง Behind The Design จะชวนมาฟังความหมายของบ้านที่ดี โดยเล่าจากสองศาสตร์ที่บางคนอาจคิดว่าอยู่ตรงข้ามกันคนละขั้ว นั่นก็คือศิลปะแห่งการออกแบบอันเป็นสากล Architecture & Interior Design และศาสตร์แห่งตี่ลี่ฮวงจุ้ย ที่เชื่อมโยงไปด้วยกันได้อย่างเหนือคาด รู้จักตี่ลี่ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ย หมายถึง ธรรมชาติ ทำเล

sanctuary space-burasiri watcharapol-บุราสิริ วัชรพล

รวมฟังก์ชันเด็ด ที่คนอยู่บ้าน “หลงรัก”

ว่ากันว่า ความสวยจากภายในจะยั่งยืนและเปล่งประกายสู่ภายนอกบ้านของแสนสิริก็เหมือนกัน เราไม่ได้ยืนหนึ่งแค่เรื่องดีไซน์สวย แต่ฟังก์ชันการใช้งานยังตอบโจทย์มากจนยิ่งส่งเสริมให้บ้านทุกหลังสมบูรณ์แบบขึ้นไปอีก และด้วยความที่เราออกแบบโดยนำความต้องการจริงๆ ของลูกค้ามาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นนี่แหละ ถึงทำให้บ้านทุกหลัง ทุกโครงการของเรามีเอกลักษณ์เรื่องฟังก์ชันที่ตอบโจทย์คนทุกวัยในทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะโครงการไหนก็เน้นที่ความ “อยู่สบาย” ปรับฟังก์ชัน ให้ธรรมชาติใกล้ชิดคุณทุกวัน 24 ชั่วโมง ทุกวันนี้ มนุษย์เราโหยหาธรรมชาติมาเติมเต็มวันที่เหนื่อยและเครียดจากการทำงาน แต่แทนที่เราจะดั้นด้นขับรถไปไกลๆ เพื่อให้เจอพื้นที่สีเขียวแบบเต็มตา จะดีกว่าไหม ถ้าเราเปลี่ยนให้ธรรมชาติมาใกล้ตัวเรามากขึ้นแทน?