OLYMPIC GAMES Paris 2024
เล่าเรื่องราวของการดีไซน์
ในเมืองศิลปะผ่านการจัดงาน
แข่งกีฬาระดับโลก

Paris2024 ที่นี่ “ปารีส” มหานครแห่งศิลปะ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33 หรือ “Paris 2024” 

การกลับมาในฐานะเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง หลังผ่านไป 100 ปี งานนี้ทางฝรั่งเศสนั้นเรียกได้ว่าทุ่มสุดตัวจริงๆ ทำให้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างผ่านการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ”

คำขวัญประจำชาติของฝรั่งเศสได้ถูกนำมาเรียงร้อยไปในการออกแบบและจัดงานอย่างกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็น เกมส์การแข่งขันที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน “GAMES WIDE OPEN” เปิดพื้นที่เมืองเสมือนเป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ เพิ่มโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมในงานครั้งนี้ได้

การให้ความสำคัญกับ “ความเท่าเทียม” ด้วยการจัดงานทั้งโอลิมปิกและพาราลิมปิกอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ดีไซน์ร่วมกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดผ่านเรื่องราวในโปสเตอร์ที่สามารถต่อเป็นภาพเดียวกัน และมาสคอร์ต น้อง Phryges ที่ใส่ขาเทียมหนึ่งข้าง สื่อถึงการให้ความสำคัญกับการจัดงานทั้งโอลิมปิกและพาราลิมปิกเช่นเดียวกัน

ส่งไม้ต่อ “ความเท่าเทียมทางเพศ” ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศส นับเป็นครั้งแรกที่มีนักฬาหญิงเข้าร่วมการแข่งขันในปี ค.ศ. 1900 จนกระทั่งในปี 2024 นี้ที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่โดยมีนักกีฬาชายและหญิงในอัตราส่วนเท่ากันแบบ 50/50 เลยค่ะ

สำหรับ Olympic Games Paris 2024 ไม่ว่าจะมองในมุมไหน ก็เห็นความน่าสนใจเต็มไปหมด ทั้งเรื่องของศิลปวัฒนธรรมที่ถูกนำมาบอกเล่าอย่างร่วมสมัย การพัฒนาเมือง จัดสรรสิ่งแวดล้อม และการจัดงานโดยใช้ทรัพยการที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปถึงการสร้างสรรค์งาน “ดีไซน์” Visual Identity ที่แข็งแรงและสดใส สร้างความแปลกใหม่สมกับความเป็นเมืองแห่งศิลปะ   

เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ทุก “การดีไซน์” มีความหมายจริงๆ แสนสิริ จึงใส่ใจทุกรายละเอียดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และไม่เคยหยุดที่จะมองหาความเป็นไปได้เพื่อทำให้เป็นจริง 

สุดท้ายนี้ แสนสิริ ก็ขอส่งกำลังใจและร่วมยินดีกับเหล่านักกีฬาไทยทุกคนที่ได้ทำตามความฝันและได้รับเหรียญรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Paris 2024 ด้วยนะคะ 

ครั้งแรกที่นำพาการจัดงานแข่งขันและพิธีเปิดออกจากสเตเดียมมาสู่เมือง สอดคล้องกับแนวคิดหลักอย่าง “GAMES WIDE OPEN” บอกเล่าความเปิดกว้างให้ผู้คนได้เข้าถึงและมีส่วมร่วมกับ Olympic Games Paris 2024  

ในส่วนนี้เราจะมาพูดถึงแง่มุมของ “ศิลปวัฒนธรรม”  

เริ่มจากการเนรมิต “เมือง” ให้เหมือนเป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ ทั้งการจัดพิธีเปิดนอกสเตเดียมเป็นครั้งแรก ซึ่งก็รังสรรค์ความอลังการด้วยการจัดขบวนพาเหรดนักกีฬามาทางเรือล่องมาตามแม่น้ำสายสำคัญอย่าง “แม่น้ำแซน” เป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร โดยที่สองข้างทางมีสแตนด์สำหรับผู้ชมบริเวณริมฝั่งทั้งสองข้างทาง และยังล่องผ่านสถานที่สำคัญมากมาย

มหาวิหารน็อทร์-ดาม (Notre-dame de Paris)

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre Museum) 

เสาหินโอเบริกส์แห่งลักซอร์ (L’obélisque de Louxor) ณ จัตุรัสคองคอร์ด 

 หอไอเฟล (Eiffel Tower)

นอกจากพิธีเปิด สิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ “สนามกีฬาชั่วคราว” ที่ปรับจกสถานที่สำคัญที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้กลายเป็นพื้นที่แข่งกีฬาได้อย่างลงตัว 

 ลานแข่งสเก็ตบอร์ดสีสันสดใส ณ จัตุรัสคองคอร์ด 

 สนามแข่งวอลเลย์บอลชายหาด หน้าหอไอเฟล

 สนามแข่งกีฬาฟันดาบ ที่ กร็องปาแล (Grand Palais) 

นอกจากนี้ก็มีนิทรรศการและงานศิลปะมากมายในกรุงปารีสที่น่าไปเยี่ยมชม แต่สำหรับผลงานที่หลายคนคงจะได้เห็นผ่านตากันบ้างแล้วอย่าง “รูปปั้นวีนัส (Venus de milo) ทั้ง 6” ในเวอร์ชันสีสันสดใส ซึ่งเป็นตัวแทนของกีฬาต่างๆ ในการแข่งขันโอลิมปิก อย่าง บาสเก็ตบอล มวย พุ่งแหลน ยิงธนู โต้คลื่น และเทนนิส จากฝีมือการรังสรรค์ของ โลรองต์ เปร์โบส์ โดยจะจัดแสดงชั่วคราวที่ Assemblée Nationale จนถึงวันที่ 22 กันยายน 2024 นี้เท่านั้นค่ะ 

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ของจริงก็คงต้องไปลุ้นพร้อมๆ กันว่าทางเจ้าภาพจะมีอะไรมาเซอร์ไพรส์เรากันอีกหรือเปล่านะคะ  

เมื่อการรักษ์โลก กีฬา และความเป็นเมือง ต้องพัฒนาไปพร้อมกัน

โอลิมปิกครั้งนี้ ฝรั่งเศส จริงจังกับการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมมากๆ ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็น “การวางแผนจัดงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด” และเมื่องานจบแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การต่อยอด เพื่อให้ผู้คนในประเทศได้ใช้ต่อด้วยค่ะ  

หลังจากได้รับการส่งไม้ต่อในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกจากญี่ปุ่นแล้ว ทางฝรั่งเศส ก็เริ่มเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ มีการวางแผนพัฒนาเมือง เพื่อรองรับผู้คนจำนวนมาก โดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วและสร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศนั่นเอง

ฟื้นฟู ย่านแซน แซงต์ เดอนีส์ สู่การหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกโดยสร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งต่อสู่การใช้งานในอนาคต ด้วยการออกแบบให้เป็นย่านพร้อมอยู่อาศัยแบบคอมมูนิตี้ ใกล้ศูนย์กีฬาทางน้ำที่สร้างใหม่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และเชื่อมกับขนส่งสาธารณะ ทำให้สะดวกในการเดินทางด้วยค่ะ  

นอกจากนี้การปรับทัศนียภาพให้ปารีสมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น แล้วยังมีการปรับภูมิทัศน์เชื่อมต่อหอไอเฟลเข้ากับพื้นที่กลางเมือง เพื่อความสะดวกในการเดิน และลดการใช้รถยนต์ค่ะ 

สำหรับหัวข้อนี้จริงๆ แล้วก็มีประเด็นให้พูดถึงอีกมากมายหลายแง่มุม และในระยะยาวแพลนนี้จะเวิร์กไหม ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อเช่นเดียวกันค่ะ 

LOOK OF THE GAMES 

ปารีส กับ การดีไซน์ Visual Identity” ที่แข็งแรง สร้างภาพจำ การสื่อสารความหมายผ่านภาพ และการใช้สีสันได้อย่างลงตัว

การหยิบสไตล์ “ART DECO” ที่เคยเป็นที่นิยมในช่วงการจัดโอลิมปิกในปี ค.ศ. 1924 โดดเด่นด้วยการนำเส้นตรง เส้นโค้ง และรูปทรงเรขาคณิต มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน กลายเป็นลายกราฟิกที่ดูสวยงามและสามารถร้อยเรียงเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารผ่านองค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างลงตัว 

 สิ่งที่เสริมความร่วมสมัยให้กับการออกแบบ Visual Indentity ก็คือ การเลือกใช้ “สีพาสเทล” สดใส โดยสีที่เป็นธีมหลักในการออกแบบจะมี น้ำเงิน แดง เขียว และม่วง แซมด้วย สีทอง ขาว และชมพู ค่ะ

ส่วนสนามกีฬาและอุปกรณ์ต่างๆ จะคุมโทนด้วยสีม่วง เขียว และน้ำเงิน เรียกได้ว่า Colorful สุดๆ 

นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของแนวคิดในการออกแบบกราฟิก โดยเล่นจากคำว่า “Sous les pavés, la plage!” (ใต้แผ่นหินคือชายหาด) สู่คำว่า “Sous les pavés, les Jeux” (ใต้แผ่นหินคือเกม) เพื่อสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ 

เนื่องจากทุกเมืองในฝรั่งเศสจะมีแผ่นหินปูพื้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรม และด้วย “รูปทรงสี่เหลี่ยม” ของแผ่นหิน ทำให้สามารถรังสรรค์ลวดลายกราฟิก ที่มี HINT ซ่อนอยู่ ในศิลปะสไตล์ ART DECO โดยใช้ แพทเทิร์น และ สีพาสเทล ครีเอตลงไปเพื่อเล่าเอกลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศส เมืองแห่งศิลปะได้อย่างงดงามค่ะ 

ความงดงามของศิลปะสไตล์ Art Deco นั้นบอกเลยว่าคลาสสิกเหนือกาลเวลาจริงๆ ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษก็ถูกนำมาเล่าใหม่ได้อย่างลงตัว ที่โครงการเศรษฐสิริ วงแหวน-จตุโชติ ก็ได้รับการสรรค์สร้างจากสไตล์ Modern Art Deco ที่ยังคงสวยสง่า สมกับคำว่า Ars longa, Vita brevis ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น จริงๆ ค่ะ 


อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Olympics Paris 2024, Creative Review.uk, designboom, Capital Read,Urban Creature, Sarakadee Lite, Thai PBS, Building Design.uk, และ The International Olympic Committee

CONTRIBUTOR

Related Articles

Loy Kratong 2567

ประเพณีลอยกระทง มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่ถูกเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก

วันเพ็ญเดือน 12 น้ำก็นองเต็มตลิ่ง ถ้าได้ยินประโยคนี้ เนื้อเพลงที่ชวนให้นึกถึงค่ำคืนแห่งวันลอยกระทง ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทยที่มีมาอย่างยาวนาน และคนไทยทุกคนก็พร้อมใจสืบสานประเพณีลอยกระทงมาจวบจนทุกวันนี้ เพราะลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีความงดงามและมีเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ชาวต่างชาติอยากเดินทางมาเที่ยวเทศกาลลอยกระทงในประเทศไทย เพื่อสัมผัสกับความงดงามของประเพณีลอยกระทง  วันนี้ Sansiri Blog จะพาทุกท่านไปค้นพบว่าเหตุใดวัฒนธรรมการลอยกระทงจึงก้าวขึ้นเป็น Soft Power ของประเทศ และทำไมไทยถึงได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่ร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมอันดับ 8 ของโลก พร้อมแนะนำวิธีการร่วมสืบสานประเพณีนี้อย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันค่ะ

Moo Deng, หมูเด้ง

ปรากฏการณ์ “หมูเด้ง” พลังสื่อในยุคดิจิตอล สู่การครองใจคนทั่วโลก

นาทีนี้คงไม่มีใคร ไม่รู้จัก “หมูเด้ง” ฮิปโปโปเตมัสแคระ ที่เป็นกระแสในโลกโซเชียลและดังไกลไปทั่วโลก เรียกได้ว่า หมูเด้งเป็นซุปตาร์เมืองไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ทำให้คนทั่วโลกอยากเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย แล้วทุกคนสงสัยไหมคะว่าทำไม หมูเด้ง ถึงมีคนรักและเป็นกระแสนิยมมากมายขนาดนี้  วันนี้ Sansiri Blog จะมาเล่าถึง ปรากฏการณ์ “หมูเด้ง” ฮิปโปโปเตมัสแคระ ที่ดังไกลไปทั่วโลก ความน่ารักของสัตว์

“ไทยแลนด์แดนเฟรนด์ลี่” เมื่อรอยยิ้มสยามกลายเป็นทรัพย์สินล้ำค่า

รู้มั้ยว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในประเทศที่น่ารักที่สุดแห่งหนึ่งของโลกน ไม่ได้พูดเล่นๆ นะ เพราะนิตยสารดังอย่าง Condé Nast Traveller เพิ่งประกาศผล The friendliest countries in the world: 2024 Readers’ Choice Awards ออกมาหมาดๆ ลองทายว่าใครได้ที่