Autograph Hunter
Grab ล่าลายเซ็นฉบับ "ส่งตรง"

ราวๆ สัก 15 ปีก่อน ตอนยังเป็นบรรณาธิการเซคชั่นเทรนด์ไลฟ์สไตล์ในนสพ. กรุงเทพธุรกิจ ผมจำได้ว่า ตัวเองเคยเสนอทำปกสัมภาษณ์ฝรั่งคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ เขาทำบริษัทขาย “ลายเซ็น” นักกีฬาหลายๆ ประเภท 

แต่ที่ดังเพราะว่าไปจับเอา ดีโก้ มาราโดน่า มาเซ็นถุงมือโกล์กับ ปีเตอร์ ชิลตัน ในโอกาสครบรอบ 20 ปี โมเมนท์ Hand of God บอลโลก 1986 ผมจำได้ว่าบริษัทแห่งนี้ชื่อว่า Allstarsingning

Diego Maradona and Peter Shilton Sansiri Blog
ภาพจาก The Sun

ช่วง 15-20 ปีที่แล้ว ธุรกิจขายลายเซ็นนักกีฬายังเป็นเรื่องใหม่ ที่หลายคนไม่ทราบว่ามี พอ Allstarsingning ไปลงแอดในนิตยสาร four four two แฟนบอลบ้านเราก็เริ่มรู้จัก สิ่งที่ทำให้บริษัทนี้เป็นที่ยอมรับก็คือ เขาจะเชิญนักกีฬา นักบอล นักมวย มานั่งเซ็นสดๆ ต่อหน้า โดยถ่ายคลิปไว้เป็นหลักฐาน และโดยเฉลี่ยมักจะเซ็นราวๆ 30-50 ตัว ตามความดังของคนเซ็น

คำโฆษณาหนึ่งที่อ่านพบบ่อยๆ ก็คือ ลายเซ็นคนนี้หมดแล้วหมดเลย แบบว่ามาเซ็นครั้งเดียวเลิก หลายคนที่เคยเป็นลูกค้าปี 2005-2007 แบบผม คงไม่มีใครรู้ว่าอีก 10 ปีต่อมา ธุรกิจลายเซ็นจะเติบโตมาคู่กับอุตสาหกรรม “พรีเมียร์ลีก” ของอังกฤษ ขนาดที่ว่าตอนนี้มีราวๆ 30 บริษัทให้บริการด้านนี้ ทั้งยังเปิดเผยและแอบซ่อน ทั้งยัง “โจ่งแจ้ง” และ “กระมิดกระเมี้ยน”

โจ่งแจ้งไม่น่าสนใจ แต่ “กระมิดกระเมี้ยน” นี่ ผมอยากเล่าสัก 7 ข้อ

1. เครือข่ายล่าลายเซ็น

การเติบโตของธุรกิจล่าลายเซ็นนักกีฬา ทำให้เกิดแกงค์เฉพาะกิจขึ้นในยุโรป วางเครือข่ายล่ากันเป็นทีมเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น ทีมหนึ่งมี 10 คน แบ่งกันไปเลยลีกละ 2 คน ประจำพรีเมียร์ลีก, ลา ลีกา, บุนเดสลีกา, ลีก เอิง หรือกัลโช่ แล้วทำงานเป็นทีม แบ่งรายได้ร่วมกัน เพราะบางทีแฟนบอลของอิตาลีก็อยากได้ลายเซ็นเมสซี หรือพี่โด้ ในขณะเดียวกัน มีแฟนๆ ในเอเชียไม่น้อยนะ ก็อาจจะอยากได้ลายเซ็นของนักบอลดังๆ ที่สร้างตัวในแต่ละลีก

Autograph signing Sansiri Blog
ภาพจาก Liverpoolecho

2. ปะปนและเส้นสาย

จากข้อแรก หลายคนคงสงสัยว่า แล้วแกงค์พวกนี้ “เข้าถึง” นักฟุตบอลดังๆ ได้อย่างไร ?

คนเหล่านี้มีเส้นสายเยอะครับ บางทีเอเจนท์ก็รู้จักกัน เดินเข้าเดินออกในกิจกรรมแจกลายเซ็นของหลายสโมสร เอาอย่างง่ายๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า แฟนบอลที่ยืนเบียดแย่งขอลายเซ็นนักเตะนั้น ทั้งที่หน้าทางออกสนามซ้อม เทรนนิงกราวด์ เป็น “แฟนบอล” จริงๆ แกงค์พวกนี้ก็ปะปนไปกับแฟนบอล แท้บ้าง เทียมบ้าง …ที่เด็ดไปกว่านั้น ต้องอ่านข้อที่ 3

3. (สืบ)หาข้อมูล

ผมเคยถามสมาชิกหนึ่ง ในธุรกิจเหล่านี้ว่า พวกคุณรู้ได้ยังไงว่า จะเจอนักบอลดังๆ ที่สนามบิน ที่ลานจอดรถสโมสร ที่ทางเข้าออกสนามซ้อม เขายักไหล่บอกว่า ไม่เห็นจะยากเลย ก็เช็คสายการบินที่สโมสรใช้เดินทาง แค่นี้เขาก็รู้แล้วว่า นักบอลทีมนี้จะเดินทางถึงกี่โมง ตารางการซ้อมก็ถามได้จากคนวงใน ยิ่งถ้าทีมบินไปแข่งบอลยุโรป บางทีมก็จับไฟลท์ดึกกลับเลย หรือบางทีก็เครื่องบินส่วนตัวของสโมสร เขาเล่าว่า ครั้งหนึ่ง เรอัลมาดริด บินกลับถึงมาดริดเที่ยงคืน พวกเขายังมารอตรงทางออกที่จอดรถ เวลานักบอลขับรถออกมา เห็นแฟนบอลเด็กๆ ยืนข้างทาง ก็สงสาร จอดรถ ลดหน้าต่าง เซ็นให้!

เขาบอกว่า เด็กคนนั้นอาจเป็นลูกของแกงค์ล่าลายเซ็นก็ได้?

Real Madrid arrive at Manchester Airport
ภาพจาก Mirror

4. เทคนิคเพิ่มปริมาณ

สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าและอยากเตือนก็คือ แม้เสื้อรีโทรพร้อมลายเซ็นจะขายกันในระดับ 10,000-50,000 หรือทะลุไปแสนบาท ตามแต่ว่าเสื้อตัวนั้น มีลายเซ็นกี่คน แต่เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมมันมีออกมาเยอะจัง เช่นถ้าคุณไปยืนขอข้างทาง นักเตะก็ไม่มีทางเซ็นให้คุณคนเดียว 4-5 ตัวแน่นอน เพราะเขาต้องเดินเซ็นไปเรื่อยๆ แม้แต่บางบริษัทที่ทำการค้าขายเป็นทางการ โดยมีรูป จำนวนเสื้อ ที่เซ็น

แล้วทำไมมันยังไม่หมดสักที สมมติคิดในแง่ร้าย ฝรั่งคนหนึ่งบอกว่า แหม ถ้าเขาให้เซ็นมา 30 ตัว เขามาปลอมเอง เพิ่มเติมบ้าง ไม่ได้หรือ ?

นี่ฝรั่งที่ทำธุรกิจนี้ พูดเอง !

5. แต่งและเติมเสริมมูลค่า

เคยคิดมั้ยว่า ต่อให้เสื้อมีลายเซ็นเป็นของแท้ ต้นทุนของมันราคาเท่าใด ?

ผมลองตรวจสอบเสื้อมาหลายครั้ง เสื้อแทบทั้งหมดเป็นเสื้อ retro ตัวละพันบาท ซื้อได้ทั่วไป พอกระจายทีมล่าลายเซ็นกัน ต้นทุนก็ไม่มียกเว้นการเสียเวลารอ ไปนั่งรอ ยืนรอ ดักรอ บางทีคอยทั้งวันก็คุ้ม เพราะว่าเมื่อมันนำมาถึงลูกค้าแล้ว มีการนำไปใส่กรอบให้ดูสวยงาม ทำรูปประกอบ ตรงนี้ก็มีค่าใช้จ่ายนิดน้อยมากๆ เสร็จปุ๊ปก็ขายในราคา 35,000 บาทขึ้นไป

จากเสื้อ retro ราคาพันบาท สมมุติล่ามาได้ 20 ตัว และขายหมด ในราคานี้ total ก็ 700,000 บาท …ล่าสุดเสื้อลิเวอร์พูลแบบมีลายเซ็น 10 คน พร้อมรูปหลักฐานว่าเซ็นปะปนในกลุ่มแฟนบอลจริง ถูกขายในบ้านเราราคา 90,000 บาท และเกลี้ยงทั้ง 6 กรอบรูป

sport kit with autograph sansiri blog
ภาพจาก Supersportcenter

6. ลายเซ็น mirror ขั้นเทพ

บางบริษัทมีการทำเป็นรูปธรรมจริง เชิญนักเตะ น้กมวย ตัวเป็นๆ มาปรากฏตัว และมีการทำโฆษณากันทางออนไลน์ แต่โปรดจำไว้ว่า ถ้าเสื้อตัวนั้นมีลายเซ็นเป็นทีม หรือมากกว่าหนึ่งคน น้ำหนักลายเซ็นต้องไม่เท่ากัน เพราะคนเรามีน้ำหนักการเขียนไม่เหมือนกัน ที่สำคัญนักบอลหลายคนถนัดมือซ้าย ซึ่งก็จะเซ็นต่างจากคนถนัดมือขวา

อย่าลืมว่าโลกเรานี้ มีเทพปลอมลายเซ็นเก่งๆ มากมาย ตอนเราเด็กๆ เพื่อนก็เซ็นสมุดพกแทนพ่อแม่เพื่อน โตมาหน่อยฝ่ายบัญชียังเคยยักยอกทรัพย์ ด้วยการปลอมลายเซ็นท่านประธาน

นับประสาอะไรกับลายเซ็นลอยลมแบบนักบอล !

7. ภาพ ลวง ตา

อย่าเชื่อรูปประกอบการขาย มากนัก

นักบอลเซ็นไว้เป็นร้อยๆ แห่ง คนจะหลอกลวง พรินท์เอาจากกูเกิ้ลมาประกอบก็ได้ จริงไหม?

สำหรับแฟนตัวยงที่คลั่งไคล้บรรดานักเตะคนดังแล้ว เหล่า Autograph Hunter ก็ไม่ต่างอะไรกับ Grab ที่บริการส่งตรงลายเซ็นถึงมือเรา แต่อยากให้ดูและพิจารณาให้ดีว่าลายเซ็นเหล่านั้นเป็นของแท้ของเทียม หรือได้มาอย่างไร เพราะต้องระวังจะตกเป็นเหยื่อของ Money Hunter ในคราบ Autograph Hunter!

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ