โบซาร์

รู้จักศิลปะเหนือกาลเวลา ผ่านคำว่า ‘Beaux Arts-โบซาร์’

          ศิลปะนั้นถือกำเนิดขึ้นจากสุนทรียะของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งรอบตัว ศิลปะบางรูปแบบก่อกำเนิดขึ้นใหม่ตามกาลเวลา ในขณะที่ศิลปะจำนวนหนึ่งเกิดขึ้นและกลายเป็นแรงบันดาลใจของมนุษย์เรื่อยมา โดยเฉพาะในโลกตะวันตก สถาปัตยกรรมแบบกรีก-โรมันเปรียบเสมือนผลงานชิ้นเอกที่ถูกนำมารื้อฟื้นครั้งแล้วครั้งเล่า แม้กระทั่งช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคศิลปะสมัยใหม่ มนต์เสน่ห์ของมันได้กลับมาปกคลุมโลกตะวันตกอีกครั้งหนึ่งภายใต้ชื่อ Beaux Arts (โบซาร์)

– ความหรูหราทรงพลังของโบซาร์กลายเป็นแบบแผนในการสร้างสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น อาคารรัฐสภา ศาล ธนาคาร ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น –

 

ภาพของ Grand Palais des Champs-Élysées ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่จัดงานนิทรรศการโลกในปีค.ศ.1900 มักถูกใช้เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ที่มีชื่อเสียง

Beaux Arts_Grand Palais des Champ Elysees_Paris_Sansiri Blog (1)

Beaux Arts_Grand Palais des Champ Elysees_Paris_Sansiri Blog (2)

beaux-arts_sansiri-blog (7)

            Beaux Arts คือ สถาปัตยกรรมแบบโบซาร์หรือวิจิตรศิลป์ มีจุดเริ่มต้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เมื่อสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีส (École des Beaux-Arts in Paris) มุ่งฝึกนักศึกษาให้เรียนรู้และฝึกฝนจากตัวอย่างสถาปัตยกรรมกรีก-โรมัน อิตาเลียนเรเนอซองส์ และบาโรกฝรั่งเศส ด้วยวิธีการเรียนที่มุ่งเน้นให้เข้าใจศิลปะคลาสสิกอย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่ปรัชญาสู่การสร้างสรรค์ การเรียนรู้และฝึกฝนของเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ได้หลอมศิลปะยุคคลาสสิกผนวกเข้ากับโลกสมัยใหม่ได้อย่างงดงาม กลายเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโบซาร์ ซึ่งมาจากชื่อของสถาบันวิจิตรศิลป์นั่นเอง

beaux-arts_sansiri-blog (5)
Paris Museum of Fine Arts หรือ Small Palace กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อีกหนึ่งสถานที่จัดงานนิทรรศการโลกปี 1990

 

ขณะนั้นกรุงปารีสกลายเป็นจุดหมายสำคัญของนักศึกษาศิลปะจากหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังพวกเขาได้มีบทบาทสำคัญทางสถาปัตยกรรมในอเมริกา โดยการก่อตั้งกลุ่มสถาปนิกโบซาร์ (The Society of Beaux Arts Architects) ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สถาปนิกรุ่นใหม่ ทั้งยังจัดการประกวดด้านสถาปัตยกรรมเพื่อเฟ้นหาผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อ ณ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีสโดยตรง ด้วยเหตุนี้โบซาร์จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมอเมริกัน ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1920 ความหรูหราทรงพลังของโบซาร์กลายเป็นแบบแผนในการสร้างสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น อาคารรัฐสภา ศาล ธนาคาร ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

– สถาปนิกโบซาร์จะพิถีพิถันในการเลือกวัสดุอย่างมาก วัสดุส่วนใหญ่ถูกคัดสรรจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดในโลก ตัวอาคารส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินอ่อนสีสันสว่างมีริ้วลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ –

beaux-arts_sansiri-blog (9)
อาคาร Metropolis ใจกลางกรุงมาดริด ประเทศสเปน อีกหนึ่งแลนด์มาร์คที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้รับการออกแบบด้วยสไตล์ Beaux Arts

         

          ในด้านรูปแบบ โบซาร์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมแบบกรีก-โรมัน จึงเน้นความสมดุลลงตัวขององค์ประกอบต่างๆ แผนผังอาคารมีลักษณะสมมาตร ชั้นล่างยกพื้นสูงขึ้นโดยมีบันไดขนาดใหญ่พาเข้าสู่ห้องโถงขนาดใหญ่ให้ความรู้สึกโอ่อ่าอลังการ นอกจากนี้โบซาร์ยังมีจุดเด่นในด้านการตกแต่งที่วิจิตรตระการตา หัวเสา คอลัมน์ หน้าบัน ซุ้มประตูและหน้าต่างโค้ง เฉลียง ล้วนประดับประดาด้วยประติมากรรมรูปเทพเจ้ากรีกและลวดลายพรรณพฤกษา ช่วยให้อาคารดูงดงามอ่อนช้อยในทุกรายละเอียด

Detail of Beaux Arts_Sansiri Blog (2)
ลักษณะสมมาตรของหน้าบัน ซุ้มประตู ที่มาพร้อมรายละเอียดอันวิจิตรบรรจงของหัวเสาแบบโรมัน คือองค์ประกอบอันโดดเด่นของโบซาร์
Detail of Beaux Arts_Sansiri Blog (3)
หัวเสาแบบโครินเธียนที่ตกแต่งเป็นรูปใบไม้ ช่วยเพิ่มความหรูหราให้กับสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์
Detail of Beaux Arts_Sansiri Blog (1)
รูปปั้นของเทพเจ้ากรีก – เทพเมอร์คิวรี่ – ที่ถือว่าเป็นลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์

  

          สถาปนิกโบซาร์จะพิถีพิถันในการเลือกวัสดุอย่างมาก วัสดุส่วนใหญ่ถูกคัดสรรจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดในโลก ตัวอาคารส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินอ่อนสีสันสว่างมีริ้วลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ส่วนรายละเอียดต่างๆ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์จะตกแต่งด้วยไม้ขัดมันสีเข้ม ทองเหลือง บรอนซ์ และทองคำเพื่อเพิ่มความหรูหราคลาสสิค นอกจากนี้บางอาคารอาจมีจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรมเขียนสีบนปูนเปียก หรืออันเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ของชาวกรีก-โรมัน

          ทุกวันนี้ โบซาร์ซ่อนอยู่ในทุกย่างก้าวของกรุงปารีสและมหานครหลายแห่งของสหรัฐอเมริกา เช่น โรงอุปรากรปาแลการ์นิเย กรุงปารีส (Palais Garnier) เลื่องชื่อในการตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตาทั้งภายในและภายนอกอาคาร จนได้รับการยกย่องให้เป็นสถาปัตยกรรมเอกแห่งยุคสมัย หอสมุดรัฐสภาโทมัส เจฟเฟอร์สัน กรุงวอชิงตันดีซี (The Library of Congress, Thomas Jefferson Building) หนึ่งในสามหอสมุดรัฐสภาที่เก่าแก่และงดงามที่สุดในสหรัฐอเมริกา

beaux-arts_sansiri-blog (2)
โรงอุปรากรปาแลการ์นิเย แลนด์มาร์คอีกหนี่งแห่งของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
beaux-arts_sansiri-blog (12)
ภาพถ่ายทางอากาศของ Capitol Hill ในปีค.ศ. 1932 ซึ่งสามารถมองเห็นหอสมุดรัฐสภาโทมัส เจฟเฟอร์สัน ณ กรุงวอชิงตันดีซี
beaux-arts_sansiri-blog (3)
หอสมุดรัฐสภาโทมัส เจฟเฟอร์สัน กรุงวอชิงตันดีซี (The Library of Congress, Thomas Jefferson Building)

            

นอกจากนี้ ในกรุงนิวยอร์ก สถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอย่าง The New York Public Library ที่สร้างเสร็จเมื่อปีค.ศ.1911 และ Grand Central Terminal ยังถือเป็นผลผลิตจากวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ที่มีบริบทแวดล้อมผู้คนในชีวิตประจำวันอีกด้วย

  • The New York  Public Library หรือหอสมุดประชาชนนิวยอร์กซึ่งตั้งอยู่บนถนนฟิฟท์อเวนิว ให้บริการหนังสือกว่า 53 ล้านเล่ม มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอาคารมีอายุมากกว่า 100 ปีแล้ว

Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (5) Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (6) Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (7)

  • Grand Central Terminal หรือที่คนไทยคุ้นหูกันในชื่อ แกรนด์ เซ็นทรัล สเตชั่น เป็นการออกแบบและสร้างขึ้นใหม่แทนอาคารเดิม เมื่อปีค.ศ.1903 บนถนนสายที่ 42 และพาร์คอเวนิว ในย่านมิดทาวน์แมนฮัตตัน นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแล้ว Grand Central Terminal ยังจัดเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายภาพปีละหลายล้านคน

    Grandcentral_terminal_ny
    ภาพโดย Simonfieldhouse

    Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (3) Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (4)Beaux Arts_New York_Sansiri Blog (2)

 นอกจากอาคารสาธารณะทั้งสองแห่งนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์แล้ว ยังมีอาคารเชิงพาณิชย์ที่มีชื่อเสียงอย่างอาคาร Flatiron (แฟลตไอออน) ที่มีรูปทรงสามเหลี่ยม สูง 22 ชั้น และ Carnegie Hall (คาร์เนกี้ ฮอลล์) คอนเสิร์ตฮอลล์ ย่านมิดทาวน์ แมนฮัตตัน ที่ได้รับการออกแบบโดยมีแรงบันดาลใจจากศิลปะแบบโบซาร์

Flatiron Beaux Arts Sansiri Blog
นอกจากจะเคยได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่สูงที่สุดในกรุงนิวยอร์กแล้ว ยังกล่าวกันว่า Flatiron เป็นหนึ่งในอาคารที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดในโลกอีกด้วย
Carnegie Hall Beaux Arts Sansiri Blog
Carnegie Hall หนึ่งในอาคารที่ทรงคุณค่าด้านดนตรีแห่งหนึ่งของโลก บรรดานักดนตรีมืออาชีพทั่วโลกต่างใฝ่ฝันว่าจะได้มาแสดงในคอนเสิร์ต ฮอลล์ แห่งนี้

กล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ คือ ส่วนผสมระหว่างอารยธรรมคลาสสิกเหนือกาลเวลาที่ได้รับการคัดสรรผ่านรสนิยมอันหรูหราเฉพาะตัวของชาวฝรั่งเศส ผนวกเข้ากับความสามารถในการประยุกต์ของสถาปนิกชาวอเมริกัน จนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมคลาสสิกเหนือกาลเวลา ตอบโจทย์ทั้งในด้านสุนทรียะ และรองรับวิถีชีวิตเหนือระดับทั้งในปัจจุบันและอนาคต และสิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้โครงการ 98 Wireless ของแสนสิริเลือกใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมชนิดนี้ในการรังสรรค์อาคารให้กลายเป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่โดดเด่นที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

Related Articles

BELLOW! อย่าง สีเหลือง ... อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

BELLOW! อย่าง สีเหลือง … อยู่ตรงไหนในบ้านได้บ้าง

อย่าง “สีเหลือง” เบลโล่วว!  พร้อมแจกความสดใสไปทั่วเมืองกับเหล่าวายร้ายจอมป่วน “MINION” ที่กลับมาสร้างสีสันความสนุกอีกครั้ง ทำให้ปิ๊ง! ไอเดียและได้แงบันดาลใจจากสีเหลือ เหล่านี้ ถ้านำมาแต่งบ้าน จะนำไปแมตช์ตรงไหนให้ดูสนุกและสดใสได้บ้างนะ มาดูกันเลย สีเหลืองเป็นสีสันแห่งความสุข ความสดใส สร้างความคิดสร้างสรรค์ และเติมแรงบันดาลใจ หากเลือกโทนสีที่ใช่และเลือกใช้ให้ลงตัว เช่น การไล่เฉดสีเข้ม-อ่อน และจัดสรรสัดส่วนให้พอเหมาะ

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN

THE ERAS OF AESTHETIC DESIGN 40 ปีแห่งการดีไซน์ เล่าผ่านยุคสมัยอันรุ่งเรืองทางศิลปะ

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย “ศิลปะ” ก็ยังคงเป็นสิ่งสร้างความจรรโลงใจ เพลิดเพลิน รื่นรมย์ และผ่อนคลายให้กับมนุษย์ จากความวิจิตรงดงามในด้านต่างๆ ทั้ง สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม จิตรกรรม รวมไปถึงคีตศิลป์ต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวลได้รับการรังสรรค์และร้อยเรียงกันด้วย “การดีไซน์” ให้ลงตัว บทบาทของความผู้ด้านดีไซน์ของ แสนสิริ เองนั้นก็เองก็เริ่มจากความเชื่อ…เชื่อในความเป็นไปได้ใหม่ๆ พร้อมสานต่อยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปะให้คงอยู่ไปจนถึงอนาคต

Behind The Design EP3

Behind The Design EP.3: เพราะบ้านคือพื้นที่ของทุกคน? การดีไซน์ ⇆ ความเท่าเทียม

ในการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันเราอาจจะเจอกับหลายเหตุการณ์ที่ยากลำบากไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่แสนยากลำบาก เจอรถติด คนบนรถไฟฟ้าเยอะ เจอแอ่งน้ำตามทางเท้าใวัฝนตก แต่หากเปรียบเทียบกลุ่มคนพิการที่ต้องใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุที่เดินเหินได้ไม่คล่องตัวแล้ว ปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอนั้นอาจจะใหญ่กว่าคนทั่วไป  การเข้าใจในการออกแบบที่จะตอบโจทย์ผู้คนทุกกลุ่มหรือที่เรียกว่า “Universal Design” จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกคนทุกกลุ่ม โดยต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอกให้เกิดความเหมาะสม แต่สิ่งที่น่าจะตอบโจทย์ทุกคนน่าจะต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้น  นั่นก็คือ “บ้าน” วันนี้ Behind The Design อยากชวนทุกคนลองมองในมุมของคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพื้นที่