Behind The Design EP.3: เพราะบ้านคือพื้นที่ของทุกคน?
การดีไซน์ ⇆ ความเท่าเทียม

ในการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันเราอาจจะเจอกับหลายเหตุการณ์ที่ยากลำบากไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่แสนยากลำบาก เจอรถติด คนบนรถไฟฟ้าเยอะ เจอแอ่งน้ำตามทางเท้าใวัฝนตก แต่หากเปรียบเทียบกลุ่มคนพิการที่ต้องใช้วีลแชร์ หรือผู้สูงอายุที่เดินเหินได้ไม่คล่องตัวแล้ว ปัญหาที่พวกเขาต้องพบเจอนั้นอาจจะใหญ่กว่าคนทั่วไป 

การเข้าใจในการออกแบบที่จะตอบโจทย์ผู้คนทุกกลุ่มหรือที่เรียกว่า “Universal Design” จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการร่วมมือของทุกคนทุกกลุ่ม โดยต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอกให้เกิดความเหมาะสม แต่สิ่งที่น่าจะตอบโจทย์ทุกคนน่าจะต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้น  นั่นก็คือ “บ้าน”

วันนี้ Behind The Design อยากชวนทุกคนลองมองในมุมของคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบพื้นที่ กับแนวคิดจะทำเช่นไรให้ “บ้าน” เป็นพื้นที่ของทุกคนด้วยการออกแบบดีไซน์ให้ทุกคนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

Behind The Design EP.3 ชวนทุกคนมาคุยกับ หญิง “กนกวรรณ นาคนาม” เจ้าของเพจ Yooyingsopa : ชีวิตบนวีลแชร์,  แบมแบม “ชนิสรา หน่ายมี” Content Creator จากแสนสิริ และ แก๊ก “ปัทมาวดี ดีซอน” Aesthetics & Landscape Design – Team Lead จากแสนสิริ

Behind The Design EP3

เมื่อสภาพแวดล้อมไม่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของคนพิการ

“เราไม่ได้พิการแต่สภาพแวดล้อมต่างหากที่ทำให้เราพิการ” คำพูดของ ”หญิง” ที่ สะท้อนมุมการใช้ชีวิตของคนพิการ เมื่อสภาพแวดล้อมไม่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตภายหลังจากที่ต้องมานั่งวีลแชร์ทำให้เป็นคนที่มีข้อจำกัดบางอย่างในชีวิต กลายเป็นคนที่ต้องคิดก่อนว่าจะเดินทางยังไง ต้องมีคนไปส่งไหม หรือ ขนส่งสาธารณะที่จะไปซับพอร์ตกับวีลแชร์ไหม

ในมุมมองของ ”แบมแบม” ที่ต้องเดินทางออกไปใช้ชีวิตคนเดียวเป็นประจำ บางทีทางเดินหรือสภาพแวดล้อมในที่ที่ต้องไปไม่ได้ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิต บางสถานที่ไม่มีทางลาด ไม่มีลิฟต์ หรือถ้ามีอาจจะใช้ไม่ได้ ทางอาจจะลาดเกินไป หรือที่เกาะใช้ไม่ได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ หากสภาพแวดล้อมตอบโจทย์ จะทำให้เราใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้น 

Behind The Design EP3

“การออกแบบ” พื้นที่ ให้ตอบโจทย์เริ่มจากความเข้าใจ

ในมุมมองของ “แก๊ก” มองว่าเราต้องเข้าใจว่าคนแต่ละกลุ่มเขามีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตอย่างไร? เราจึงหันกลับไปมองคนในสังคมมีคนกลุ่มไหนบ้าง  เพื่อที่เราจะได้เข้าใจปัญหาและออกแบบให้ตอบโจทย์และสมบูรณ์แบบมากขึ้น 

Behind The Design EP3

“บ้าน” ต้องมีความเท่าเทียมและต้องเป็นพื้นที่ของทุกคน 

ในมุมมองของ “หญิง” มองว่าเราอาศัยอยู่ที่บ้าน 70% – 80% หากบ้านไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเรา ทำให้ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้แบบ 100% อาจจะทำให้เกิดความเครียด  ถ้าหาก “บ้าน” เป็นเหมือน Safe Zone ที่เราใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ เหมือนกับคนทุกคน แค่เปลี่ยนจากการเดินมานั่งวีลแชร์ก็ทำให้เรารู้สึกดี สบายใจ ลดความเครียดและทำให้รู้สึกว่า เราเป็นคนคนนึงที่สามารถใช้ชีวิตได้

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้เห็นว่าในสังคมมีกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย และสิ่งที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน คือ “Universal Design” นั่นเอง

“Universal Design” ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน 

ทุกคนอาจจะสงสัยว่า “Universal Design” นั้นคืออะไร ในมุมมองของ“แก๊ก” กล่าวว่า  Universal Design การออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน ไม่ว่าเขาจะเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ หรือมีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตอย่างไร และต้องเป็นการออกแบบที่คนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร อยู่ในสภาพแวดล้อมปลอดภัย สะดวกสบายและมีความสุข 

Behind The Design EP3

“แบมแบม” ยังกล่าวเสริมต่ออีกว่า การออกแบบ Universal Design ต้องออกแบบให้ใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่สร้างขึ้นมาเพื่อให้มี และต้องไม่แบ่งแยกว่าเขาจะเป็นคนพิการ หรือคนแก่ แต่คนทุกคนที่อยู่ในสังคมต้องสามารถใช้งานได้ 

Behind The Design EP3

ฟังก์ชันการใช้งานที่ออกแบบมาเพื่อ “คนพิการ”หรือ “ผู้สูงอายุ”

“แก๊ก” ชวนย้อนมองกลับไปถึงคนที่มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนที่เดินได้ไม่สะดวก หรือคนที่ต้องใช้วีลแชร์ในชีวิตประจำวัน จึงต้องออกแบบให้ไม่ลื่น หรือมองเห็นพื้นต่างระดับอย่างชัดเจน จะทำให้คนที่มีข้อจำกัด ใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น 

อย่างห้องด้านล่างก็เป็นห้องออกแบบในลักษณะ Mutifuntion หรือห้องผู้สูงอายุ หากเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มจะมี absoftion floor ทำให้ช่วยลดแรงกระแทก หรือการวางโต๊ะและเตียงต้องคำนึงถึงสัดส่วน พื้นที่ที่คนพิการใช้งานได้สะดวก ลุกนั่งได้สบาย รวมถึงห้องน้ำคนพิการอาจจะต้องทำพิเศษ เพื่อให้รถเข็นวีลแชร์ สามารถเข้าไปได้ ควรมีพื้นที่ต่างระดับให้น้อยที่สุด และอ่างล้างหน้าควรที่จะทำให้คนนั่งวีลแชร์สามารถมองเห็นหน้าตัวเองในกระจกได้

Behind The Design EP3

”หญิง” กล่าวเสริมอีกว่า ห้องน้ำคนพิการสำคัญมาก สำหรับคนที่นั่งวีลแชร์ ห้องน้ำต้องกว้างพอที่จะทำให้วีลแชร์หมุนตัวเข้าไปที่อ่างล้างหน้าโดยที่ขาไม่ติด สิ่งนี้อาจจะเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่หากคนที่ออกแบบเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนที่นั่งวีลแชร์จริง ๆ จะทำให้ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น

การออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวช่วยเยียวยาจิตใจ

ในมุมมองของ “แก๊ก”มองว่า การดีไซน์นอกจากจะนึกถึงฟังก์ชันการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงถึง ความสวยงาม ความสะดวกสบาย อากาศที่ดี ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยในเรื่องสภาพจิตใจของเรา 

“หญิง” ยังกล่าวเสริมอีกว่า การที่เราออกไปข้างนอกได้ไปเจอพื้นที่สีเขียว หรือได้ปั่นวีลแชร์เล่นในสวน โดยที่พื้นที่โดยรอบที่เราอยู่อาศัยออกแบบให้เป็น Universal Design เราจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ โดยที่เราไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากใครจะทำให้เราเกิดความสบายใจ 

ไม่เพียงเท่านั้น “แก๊ก” ยังกล่าวต่ออีกว่า พื้นที่สีเขียวไม่เพียงแต่ช่วยเยียวยาจิตใจของคนพิการเท่านั้น แต่การมีพื้นที่สีเขียว หรือ Garden area ยังทำให้เด็กและคนแก่มองออกไปแล้วฮิวใจตัวเองได้ รวมถึงการออกไปใช้งานพื้นที่ภายนอกบ้าน ได้ชมธรรมชาติได้นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ได้เห็นแสงและเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็สามารถเยียวยาจิตใจได้เช่นกัน  นอกจากฟังก์ชันที่ต้องตอบโจทย์กับการใช้งานและมีความปลอดภัย ยังต้องมี “Educational Playground” ให้เด็กๆ เล่น โดยที่พวกเขาไม่บาดเจ็บ หากเขากลิ้งหล่นลงไป รวมถึงเครื่องเล่นต้องมีระยะห่างที่เหมาะสม ไม่กระแทกกัน เพื่อพวกเขาจะได้เล่นเครื่องเล่นได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยที่สุด 

“แบมแบม” ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่คนพิการได้ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับคนพิการอีกด้วย 

Behind The Design EP3

หาก “บ้าน”ตอบโจทย์คนพิการ คนพิการจะใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ

ในมุมมองของ  “หญิง” มองว่าหากสภาพแวดล้อมในบ้านอบอุ่นและตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของเรา จะทำให้ปัญหาที่เราคิดว่ามันแย่ มากๆ เราไปไหนไม่ได้แล้ว เราต้องอยู่ติดเตียง หรือเดินไม่ได้ จะทำให้เราไม่ได้รู้สึกแย่ขนาดนั้น อย่างเราเดินไม่ได้เราก็นั่งวีลแชร์ หากบ้านที่เราอยู่ไม่ซับพอร์ต เราก็ปรับบ้าน หรือว่าสมัยนี้ก็จะมีบ้านที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่นั่งวีลแชร์มากขึ้น มีห้องอยู่ชั้นล่างทำให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ เหมือนเราไม่ได้เป็นอะไรเลย แค่เปลี่ยนจากการเดินมานั่งวีลแชร์เท่านั้นเอง

Behind The Design EP3

เพราะ “ความเท่าเทียม”และ “ความสุข” จะทำให้สังคมน่าอยู่ 

ในมุมมองของ “แก๊ก” ต้องการอยากจะให้สร้างสังคมที่เท่าเทียม เสมอภาคและปลอดภัยสำหรับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบาย ความยืดหยุ่นต่างๆ ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ร่วมกันได้ ถ้าหากคนทุกคนรู้สึกปลอดภัยและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พวกเขาจะส่งต่อความสุขไปเรื่อยๆ แล้วสังคมของเราจะน่าอยู่ขึ้น และเราก็จะรู้สึกว่าทุกๆ คนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเสมอภาค

การออกแบบ “บ้าน” ที่เท่าเทียม

ในมุมมองของ “แก๊ก” มองว่า “บ้าน” คือเซฟโซนของทุกคน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราอยู่บ้านแล้วรู้สึกไม่ปลอดภัย เขาจะไม่เรียกว่า “บ้าน” การที่จะทำให้ “บ้าน”ที่มีคนทุกเพศทุกวัยอยู่ร่วมกัน แล้วรู้สึกมีความสุขและปลอดภัยอันนี้แหละที่เรามองว่า คือ “บ้าน”

ในโลกที่มีความหลากหลายของผู้คน มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน  ทำให้ทุกการออกแบบ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตในบ้าน ในพื้นที่อยู่อาศัย ได้อย่างตอบโจทย์และลงตัวและสร้างบ้านให้มีความเท่าเทียม สร้างบ้านให้เป็นพื้นที่ของทุกคน 

Related Articles

Behind The Design EP.4 ดีไซน์แบบไหน? เข้าใจความ PET FRIENDLY 

ทุกคนรู้ไหมว่า จากผลสำรวจปี​​ 2566 พบว่าคนไทยกว่า 49% เลือกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นลูกกันมากขึ้น ยอมจ่ายค่าดูแลลูกๆ 4 ขาเฉลี่ยสูงถึง 14,200 บาทต่อตัว นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงคือ หนึ่ง ในสมาชิกคนสำคัญของครอบครัวที่เราให้ความสำคัญ ในปี พ.ศ. 2567 เป็นปีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แข่งกันสร้างคอนโดที่เลี้ยงสัตว์ได้ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักสามารถอยู่ร่วมชายคากับมนุษย์หรือเจ้าของได้

versailles Olympics Paris 2024

พระราชวังแวร์ซายจากตำนานราชวงศ์สู่สนามแข่งระดับโลก

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่ถือเป็นไอคอนนิคของประเทศฝรั่งเศส หนึ่งในลิสต์ที่ทุกคนพูดถึงคงหนีไม่พ้นพระราชวังแวร์ซาย และทุกคนรู้ไหมว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ด้วยนะ ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแข่งม้าที่สวยงามไม่แพ้กับสนามกีฬา Eiffel Tower Stadium หรือ Place de la Concorde ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดเลยนะ วันนี้ Sansiri Blog

Olympics

OLYMPIC GAMES Paris 2024 เล่าเรื่องราวของการดีไซน์ในเมืองศิลปะ ผ่านการจัดงานแข่งกีฬาระดับโลก

Paris2024 ที่นี่ “ปารีส” มหานครแห่งศิลปะ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33 หรือ “Paris 2024”  การกลับมาในฐานะเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง หลังผ่านไป 100 ปี งานนี้ทางฝรั่งเศสนั้นเรียกได้ว่าทุ่มสุดตัวจริงๆ ทำให้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างผ่านการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” คำขวัญประจำชาติของฝรั่งเศสได้ถูกนำมาเรียงร้อยไปในการออกแบบและจัดงานอย่างกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็น