Climate Change
กับความเหลื่อมล้ำ

สมัยหนุ่มๆ ผมจำได้ว่ามีภาพยนตร์ฮิตเรื่อง Blade Runner ที่แฮริสัน ฟอร์ด แสดงเป็นตัวเอก โดยในภาพยนตร์ดังกล่าวเค้าคาดการณ์ถึงอนาคตของเมืองที่มีรถไฟฟ้าบินได้ มีหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ สามารถตั้งครรภ์ได้ ซึ่งยังเป็นอนาคตที่คาดการณ์ได้ไม่ค่อยใกล้เคียงกับความเป็นจริงเท่าไหร่

แต่สิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์ดังกล่าวคาดเดาได้ใกล้เคียงมากก็คือสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของโลกที่เสื่อมโทรมลง เต็มไปด้วยมลพิษและภาวะอากาศที่สุดโต่ง รวมถึงความไม่เท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจของประชากรโลกในอนาคต ซึ่งอยากจะบอกว่าผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้มองความสัมพันธ์ของสองประเด็นนี้ได้ขาด เพราะมีความสอดคล้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศส่งผลกับการถ่างตัวของความไม่เท่าเทียม? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ลองดูในระดับโลกกันก่อน เราจะเห็นว่าโดยมากแล้วกลุ่มประเทศที่ยากจน แม้ตามสถิติแล้วจะมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เยอะนัก แต่ประเทศเหล่านี้มักตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะทำให้สภาพอากาศยากต่อการดำรงชีวิตของประชากรจำนวนมากที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่ง หรือในที่ราบ ชุมชนบ้านเรือนที่ไม่แข็ง เสียหายง่าย และไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงฉับพลันของสภาพภูมิอากาศ ขาดงบประมาณในการปรับปรุงผังเมือง ระบบวิศวกรรมพื้นฐาน รวมถึงความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่ตามมาจากภัยธรรมชาติ มลภาวะและโรคระบาด อีกทั้งผลผลิตทางเกษตรที่ลดลงและประสิทธิผลของแรงงานที่เสียเปล่าไป โดยตัวเลขจากการศึกษาบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหั่นรายได้ของกลุ่มประเทศที่ยากจนลงกว่า 30% และลดผลผลิตทางการเกษตรลงกว่า 21% นับจากปี 1961 เป็นต้นมา

ตัวเลขจากการวิเคราะห์บอกว่าระหว่างปี 1961 มาจนถึง 2000 จะเห็นว่ากลุ่มประเทศที่ยากจนรั้งท้ายถูกกลุ่มประเทศที่มั่งคั่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆ โดยเค้าบอกว่าช่องว่างด้านความมั่งคั่งระหว่าง 2 กลุ่มนี้เติบโตเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึง 25% ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับการเก็บสถิติของ Global Climate Risk Index ที่บอกว่ากลุ่มประเทศอันดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงในช่วงปี 1999-2018 อย่างเมียนม่า ไฮติ หรือ เนปาล ก็เป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มค่อนข้างยากจนอันดับต้นๆ เช่นกัน

แล้วถ้าเราลองส่องดูในระดับประเทศ เราเห็นอะไร ดูกันง่ายๆ ไม่ยากครับ ในกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งมากกว่าย่อมมีทรัพยากรในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเครื่องปรับอากาศที่ช่วยบรรเทาจากคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ยังสามารถจ่ายค่าไฟได้ไม่ต้องกังวล ในกรณีที่จะมีภัยพิบัติ คนที่มีความมั่งคั่งกว่าก็จะมีศักยภาพมากกว่าในการอพยพตัวเองออกจากพื้นที่และสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ตัวอย่างง่ายๆ เหล่านี้ชัดเจนว่ากลุ่มที่มีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจเสียเปรียบและเป็นความจริงที่ทำให้ช่องว่างด้านความมั่งคั่งขยายตัวเรื่อยๆ เพราะทรัพยากรที่เป็นตัวช่วยในการใช้ชีวิตและฟื้นตัวไม่เหมือนกัน

ผมพูดถึงภาพยนตร์ Blade Runner และยกประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกับความเท่าเทียมมาให้เป็นไอเดีย แต่ถ้ารู้สึกว่ายังไกลเกินไปก็ไม่เป็นไรครับ ลองคิดในมุมที่ใกล้ๆ ตัวดูก็ได้ ถ้าเรายังดำเนินชีวิตกันตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อสิ้นศตวรรษนี้ว่ากันว่าความรุนแรงของสภาพภูมิอากาศจะสุดโต่งถึงขั้นที่เมื่อคลื่นความร้อนปกคลุม มนุษย์จะไม่สามารถใช้ชีวิตข้างนอกบ้านตอนกลางวันได้เลยในบางประเทศ ซึ่งก็เริ่มเห็นแล้วจาก 2-3 ปีที่ผ่านมาในอเมริกาหรือออสเตรเลีย พื้นที่หลายแห่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มาก อย่างเกาะในแปซิฟิค บังคลาเทศ รัฐเท็กซัส รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วยก็จะจมอยู่ใต้น้ำถาวร

คราวนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านกลับไปหาภาพยนตร์อย่าง The Day After Tomorrow มาดูแทนแล้วกันครับ ดูจบแล้วอย่าลืมเตือนตัวเองนะครับว่าวันนี้เราได้ลงมือเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวให้น้อยลงหรือยัง?

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม