ความโลภและการทุจริต สำหรับดีลใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

Dark Side ของฟุตบอล ในที่สุดก็จบกันไปสำหรับดีลใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลพรีเมียร์ลีก เมื่อ Raheem Sterling ได้ย้ายจากลิเวอร์พูลไปยังแมนเชสเตอร์ซิตี้สมความมุ่งหมาย และได้แถมป้ายติดตัวว่าเป็นนักเตะสัญชาติอังกฤษค่าตัวสูงที่สุดด้วยค่าตัว 49 ล้านปอนด์ แซงหน้าอดีตกองหน้าที่ลิเวอร์พูลเองก็เคยช้ำใจมาแล้วอย่าง Andy Carroll ตอนซื้อมาจาก New Castle ในปี 2011 ด้วยค่าตัว 35 ล้านปอนด์ และ Sterling ยังได้ชื่อว่าเป็นนักเตะที่อายุต่ำกว่า 21 ที่มีค่าตัวสูงที่สุดอีกด้วยในประวัติศาสตร์ของความบ้าคลั่งในการใช้เงินของสโมสรฟุตบอลระดับโลก สำหรับงานนี้มาดูกันว่าใครได้อะไรกันบ้าง สำหรับสโมสรเก่าอย่างลิเวอร์พูล อันดับแรกเลยคือได้เงินค่าตัวเพื่อมาปรับทัพของตัวเอง โดยในเม็ดเงิน 49 ล้านปอนด์ที่ได้นั้นจะไม่ได้เต็มๆ แต่ต้องแบ่งให้ Queen’s Park Rangers ทีมต้นสังกัดของ Sterling ก่อนย้ายมาลิเวอร์พูลประมาณเกือบๆ 9 ล้านปอนด์ เนื่องจากเป็นดีลที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ตอนลิเวอร์พูลซื้อตัวมาว่า Queen’s Park Rangers จะได้ส่วนแบ่งจากการขายประมาณ 20% ของราคาค่าตัวนักเตะหากมีการขายออกไป ซึ่งก็ถือว่าส้มหล่นสำหรับ Queen’s Park Rangers เลยทีเดียว www.mirror.co.uk

ภาพจาก  www.mirror.co.uk

ในอีกส่วนหนึ่งของลิเวอร์พูลที่จะได้ก็คือการกำจัด distraction ออกไปจากสารบบ ณ ก่อนที่ฤดูกาลใหม่จะเริ่ม เพราะเรื่องคาราคาซังของดีลนี้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในหลายๆ ด้าน ทั้งความมั่นคงในจิตใจของโค้ช ความพะวักพะวงของตัวนักเตะในทีมว่าถ้า Sterling ไป การหมุนเวียนตำแหน่งผู้เล่นจะมีใครมาแทน หรือแม้กระทั่งเจ้าของสโมสรก็กังวลว่าเงินถ้าได้มาจะเอาไปซื้อใครได้ทันเวลาไหม ฯลฯ แล้วในส่วนนักเตะได้อะไร ที่แน่ๆ Sterling จะกลายเป็นผู้เล่นที่มีค่าเหนื่อยสูงที่สุดคนหนึ่งในเกาะอังกฤษด้วยค่าตอบแทนสัปดาห์ละประมาณ 180,000 ปอนด์ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ต้องแบ่งให้กับ agent ของเค้า Aidy Ward โดยเป็นอัตราส่วนประมาณ 5% ของค่าเหนื่อยต่อสัปดาห์ที่ Sterling ได้ตลอดระยะเวลาของสัญญา ซึ่งก็ตกประมาณ 2 ล้านกว่าปอนด์ www.mirror.co.uk 2

ภาพจาก  www.mirror.co.uk

สำหรับดีลนี้แม้จะดูเหมือนวุ่นวาย แต่ดูจริงๆ แล้วไม่มีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ผิดกับหลายๆ ดีลในอดีตที่มีความซับซ้อนอันเนื่องมาจากสิ่งสกปรกโสมมที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก บางทีก็ต้องหลับตาข้างหนึ่งเพื่อให้ลืมๆ มันไป นั่นก็คือการคอร์รัปชั่นในเชิงการปฏิบัติเวลามีการซื้อขายตัวนักเตะ ที่เป็นความประพฤติมิชอบของบรรดาเอเจนต์ ผู้จัดการทีม และบางครั้งเจ้าของสโมสรเองด้วยซ้ำไป ในแวดวงการค้าขายหรือการทำสัญญาขนาดใหญ่กับหน่วยงานราชการ เราคงคุ้นเคยกับคำว่า kickback กันดีใช่ไหมครับ ความหมายง่ายๆ ก็คือค่าตอบแทนที่ผู้ที่รับงาน (แอบๆ) จ่ายให้กับผู้มีอำนาจในการว่าจ้างหรือสั่งซื้อ โดยที่เราได้ยินบ่อยๆ ในระบบไทยๆ เราก็ 20-30% ของมูลค่างานทั้งหมด ซึ่งลอง google ดูคำนี้ในเว็ปจะมีศัพท์แสลงของทางฝั่งอังกฤษขึ้นมาคือคำว่า “bung” “bung” คือค่าเงินใต้โต๊ะที่เอเจนท์ตัวแทนนักกีฬา (ผู้ที่มักจะได้ส่วนแบ่งเป็น % จากการซื้อ – ขายตัวนักเตะซึ่งในระดับโลกมักเป็นมูลค่ามหาศาล)เสนอให้กับผู้จัดการทีม โค้ช หรือแม้กระทั่งเจ้าของสโมสร (ในกรณีที่เจ้าของไม่ใช่มหาเศรษฐี) เพื่อให้ช่วย “ปั้น” หรือ “facilitate” การย้ายทีมของนักเตะให้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งในวงการฟุตบอลอังกฤษมีเรื่อง bung ปรากฏเป็นกรณีอื้อฉาวอยู่หลา
ยครั้ง ถ้าเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์อันไม่ไกลมากนักของฟุตบอลอังกฤษ โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 10 กว่าปีนี้ก็จะมีเรื่องของ Sam Allardyce ที่เคยถูกสอบสวนกรณีจากสารคดีของ BBC ออกมาตีแผ่และอ้างอิงถึงชื่อเค้าในดีลที่น่าจะมีนอกมีในในเรื่องของการซื้อขายตัว เนื่องจากลูกชายของเค้าเป็นเอเจนท์นักกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาค่าตัวของนักเตะกับสโมสรโดยตรง the guardian

ภาพจาก www.theguardian.com

หรือของ Nigel Clough ผู้ล่วงลับก็ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้จัดการทีมคนหนึ่งที่รับเงิน bung อย่างออกหน้าและเป็นที่รู้กันในวงการซื้อ-ขายนักเตะในยุคที่เค้าทำทีมอยู่ และอีกชื่อหนึ่งที่วนเวียนอยู่ในกระแสของการรับทรัพย์ประเภท bung อยู่เรื่อยๆ ก็คือ Harry Redknapp ซึ่งประมาณสามปีก่อนก็เพิ่งมีกรณีฟ้องร้องเรื่องของเงินหลบเลี่ยงภาษีในบัญชีที่ประเทศ Monaco ของเค้าที่เป็นบัญชีที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรับเงิน bung ยกตัวอย่างเช่น 100,000 ปอนด์ที่เค้าได้จากการขาย Peter Crouch จาก Portsmouth ให้กับ Aston Villa ในปี 2002 หรือแม้กระทั่ง Sir Alex Ferguson เองก็เคยมีกรณีเช่นนี้เหมือนกันเพราะลูกชายเค้า Jason เคยมีบริษัท Elite Agency ที่ดูแลเรื่องการโยกย้ายทีมของนักเตะและ Sir Alex ก็เคยใช้บริการของบริษัทนี้ สร้างความเคลือบแคลงใจให้กับประธานสโมสรและกรรมการ ส่งผลให้ Man U ตัดสินใจยกเลิกการทำธุรกรรมกับ Elite Agency อีกต่อไป นอกเหนือจาก bung แล้ว ยังมีศัพท์ที่ว่า “tapping up” ที่เป็นพฤติกรรมของทั้งสโมสรและเอเจนท์ที่เข้าหานักเตะที่ตัวเองหมายปองด้วยสิ่งล่อต่างๆ ถ้าเป็นนักเตะที่ดูดีมีอนาคตและยังไม่มีสังกัดเป็นจริงเป็นจัง พฤติกรรม tapping up เกิดได้ตั้งแต่การที่เอเจนท์ หรือ สโมสร วิ่งเข้าหาตัวนักเตะเองหรือผู้ปกครองในกรณีที่เป็นเยาวชนพร้อมกับประเคนข้อเสนอและสิ่งตอบแทนล่อใจเพื่อให้นักเตะคนนั้นเข้ามาอยู่ในสังกัด ซึ่งพฤติกรรม tapping up นี้เกิดขึ้นกับกระทั่งอดีตนักฟุตบอลระดับตำนานอย่างพี่น้อง Charlton ของ Man U ที่เคยมีคนศึกษาถึงชีวประวัติเค้าและมีการพูดถึงเงินจำนวนมากที่ Sir Matt Busby ผู้จัดการระดับตำนานเคยส่งให้บิดามารดาของทั้งสองเพื่อเป็นการจูงใจ แต่ในปัจจุบัน พฤติกรรม tapping up มักจะเกิดในกรณีระหว่างสโมสรเสียมากกว่า กล่าวคือถ้าหากมีนักเตะคนไหนที่สโมสรหมายปองไว้ ก็อาจมีการ approach แบบลับๆ โดยผ่านเอเจนต์ เป็นการนำเสนอข้อเสนอค่าเหนื่อย ค่าตอบแทน ที่ดีกว่าสโมสรเดิมที่นักเตะมีสัญญาอยู่ ทำให้นักเตะมีอาการเป๋และอาจเปลี่ยนใจขอขึ้นบัญชีย้ายทีมได้ไม่ยาก ตัวอย่างที่เห็นเมื่อเร็วๆ นี้ก็สมัย Jose Mourinho ตอนคุมทีม Chelsea ในปี 2005 ก็เคยโดนข้อหา tapping up แบ็คซ้ายทีมชาติอังกฤษ Ashley Cole จาก Arsenal โดยท้ายสุดเอเจนต์ของ Cole โดนถอนใบอนุญาตและ Chelsea โดนปรับเงินและตัดแต้มด้วย siamsport.co.th

ภาพจาก www.siamsport.co.th

จะเห็นได้ว่าฟุตบอลที่เราเรียกกันว่า the beautiful game ไม่ได้สวยงามเสมอไป แต่มีด้านมืด หรือ dark side ที่มาในรูปแบบของความโลภและการทุจริตที่เป็นผลมาจากการ commercialization และความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของเกมฟุตบอล อันนี้คือความจริงที่ผมเชื่อว่าวงการฟุตบอลไทยเราคงจะเจอกันในไม่ช้าก็เร็ว แต่สำหรับคนไทยบางคนที่มีโอกาสได้สัมผัสการเป็นเจ้าของสโมสรระดับโลกอย่าง Manchester City หรือ Leicester City ผมเชื่อว่า dark side ของธุรกิจสโมสรฟุตบอลน่าจะเป็นเรื่องที่ส่งผลให้ปวดหัวอยู่ไม่น้อย เป็นกลโกงของวงการที่ “น่าจะ” และ “อาจจะ” ทำให้บางคนที่ไม่ได้เตรียมใจจะไปเจอเรื่องแบบนี้เหนื่อยหน่ายจนถึงขั้นต้องขายทีมให
้กับคนอื่นเลยทีเดียว

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม