ความแตกต่าง

ความแตกต่างที่สร้างความได้เปรียบ: Diversity vs. Victory

ใครที่ติดตามวงการกรีฑาเชื่อว่าคงรู้จักนักวิ่งหญิงชาวแอฟริกาใต้ที่ชื่อว่า Caster Semenya ที่เคยชนะเลิศวิ่ง 800 เมตร การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกเมื่อเกือบ 10 ปีก่อนที่กรุงเบอร์ลิน ตอนนั้นเธอชนะคู่แข่งขาดลอยและเป็นที่เพ่งเล็งของวงการ เพราะโดนหาว่าได้เปรียบคู่แข่งคนอื่นเนื่องจากมีฮอร์โมน Testosterone ของเพศชายมากกว่าปกติทำให้ร่างกายของเธอแตกต่างจากผู้หญิงทั่วไปคือแข็งแรงและแกร่งกว่ามาก

จากกรณีของเธอทำให้ระยะหลังๆ สมาพันธ์กรีฑานานาชาติ หรือ IAAF เริ่มสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อจำกัดไม่ให้นักกรีฑาหญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวสูงเกินปกติได้เปรียบคนอื่นๆ ด้วยการบังคับให้ตรวจระดับฮอร์โมนเป็นระยะๆ และถ้าหากพบว่าก่อนการแข่งขันมีฮอร์โมนเพศชายสูงเกิน ก็จะบังคับให้นักกีฬาคนดังกล่าวทานยาเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนและไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความแตกต่าง
Caster Semenya ภาพจาก The Guardian

ข้อบังคับดังกล่าวส่งผลให้ Semenya ทำเวลาในการแข่งขันได้ช้าลงกว่าเดิมและพ่ายแพ้ในการแข่งขันโอลิมปิค 2012 ที่กรุงลอนดอนให้แก่นักวิ่งชาวรัสเซียที่เคยโจมตีความได้เปรียบของ Semenya แต่ที่น่าตลกคือท้ายสุดนักวิ่งชาวรัสเซียคนนั้นถูกปรับแพ้เนื่องจากตรวจพบสารกระตุ้นภายหลังและ Semenya ก็ได้รับเหรียญทองย้อนหลังจากกรณีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 IAAF ต้านทานกระแสต่อต้านกฎดังกล่าวไม่ไหว ต้องยกเลิกการบังคับการกินยาคุมฮอร์โมนและในปี 2015 Semenya ก็กลับมาชนะเหรียญทองในโอลิมปิคปี 2016 อีกครั้ง

แต่ปัจจุบัน IAAF ก็กลับลำอีกครั้งและยังมีการบังคับให้นักกีฬาที่ระดับฮอร์โมน Testosterone สูง กินยาควบคุมอยู่ในการแข่งขันบางประเภทของกรีฑา โดยเฉพาะการวิ่งระยะกลาง

จนกระทั่ง Semenya ได้ทำการร้องเรียนต่อศาลสูงสุดของกีฬาโลก (CAS: Court of Arbitration of Sport) ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการบอกว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ ทำให้ IAAF ต้องยกเลิกกฎดังกล่าวชั่วคราวอีกครั้ง จนกว่า CAS จะตัดสินคำร้องเรียนของ Semenya

Semenya
Caster Semenya ภาพจาก Athletics Weekly

ผมว่านี่เป็นกรณีของความไม่ลงตัวและการพยายามฝืนธรรมชาติโดยเอาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์กับความอิจฉาในชัยชนะมาต่อสู้กับความแตกต่างในแต่ละบุคคลที่ธรรมชาติกำหนดมา

ส่วนตัวผมเองนั้นคิดว่า diversity คือสิ่งธรรมชาติที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน การเอากฎเกณฑ์ที่จะบังคับเสมือนว่าทุกคนถูกสร้างมาเหมือนกันอาจจะไม่ค่อยแฟร์

Semenya มีช่วงเวลาที่เธอจะใช้สิ่งที่ธรรมชาติมอบให้เธอมาในการแข่งขันเพียงไม่กี่ปี เดี๋ยวเธอก็ต้องรีไทร์แล้ว และคงไม่ได้มี Semenya โผล่มาอีกหลายคนในอนาคต

ทำไม่เราไม่ปล่อยให้เธอแสดงศักยภาพของสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้เธอมาเต็มที่ ให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
นั่นต่างหาก คือความสวยงามที่ผมคิดว่าถูกต้อง

 

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม