ความแตกต่าง

ความแตกต่างที่สร้างความได้เปรียบ: Diversity vs. Victory

ใครที่ติดตามวงการกรีฑาเชื่อว่าคงรู้จักนักวิ่งหญิงชาวแอฟริกาใต้ที่ชื่อว่า Caster Semenya ที่เคยชนะเลิศวิ่ง 800 เมตร การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกเมื่อเกือบ 10 ปีก่อนที่กรุงเบอร์ลิน ตอนนั้นเธอชนะคู่แข่งขาดลอยและเป็นที่เพ่งเล็งของวงการ เพราะโดนหาว่าได้เปรียบคู่แข่งคนอื่นเนื่องจากมีฮอร์โมน Testosterone ของเพศชายมากกว่าปกติทำให้ร่างกายของเธอแตกต่างจากผู้หญิงทั่วไปคือแข็งแรงและแกร่งกว่ามาก

จากกรณีของเธอทำให้ระยะหลังๆ สมาพันธ์กรีฑานานาชาติ หรือ IAAF เริ่มสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อจำกัดไม่ให้นักกรีฑาหญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวสูงเกินปกติได้เปรียบคนอื่นๆ ด้วยการบังคับให้ตรวจระดับฮอร์โมนเป็นระยะๆ และถ้าหากพบว่าก่อนการแข่งขันมีฮอร์โมนเพศชายสูงเกิน ก็จะบังคับให้นักกีฬาคนดังกล่าวทานยาเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนและไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความแตกต่าง
Caster Semenya ภาพจาก The Guardian

ข้อบังคับดังกล่าวส่งผลให้ Semenya ทำเวลาในการแข่งขันได้ช้าลงกว่าเดิมและพ่ายแพ้ในการแข่งขันโอลิมปิค 2012 ที่กรุงลอนดอนให้แก่นักวิ่งชาวรัสเซียที่เคยโจมตีความได้เปรียบของ Semenya แต่ที่น่าตลกคือท้ายสุดนักวิ่งชาวรัสเซียคนนั้นถูกปรับแพ้เนื่องจากตรวจพบสารกระตุ้นภายหลังและ Semenya ก็ได้รับเหรียญทองย้อนหลังจากกรณีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 IAAF ต้านทานกระแสต่อต้านกฎดังกล่าวไม่ไหว ต้องยกเลิกการบังคับการกินยาคุมฮอร์โมนและในปี 2015 Semenya ก็กลับมาชนะเหรียญทองในโอลิมปิคปี 2016 อีกครั้ง

แต่ปัจจุบัน IAAF ก็กลับลำอีกครั้งและยังมีการบังคับให้นักกีฬาที่ระดับฮอร์โมน Testosterone สูง กินยาควบคุมอยู่ในการแข่งขันบางประเภทของกรีฑา โดยเฉพาะการวิ่งระยะกลาง

จนกระทั่ง Semenya ได้ทำการร้องเรียนต่อศาลสูงสุดของกีฬาโลก (CAS: Court of Arbitration of Sport) ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการบอกว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ ทำให้ IAAF ต้องยกเลิกกฎดังกล่าวชั่วคราวอีกครั้ง จนกว่า CAS จะตัดสินคำร้องเรียนของ Semenya

Semenya
Caster Semenya ภาพจาก Athletics Weekly

ผมว่านี่เป็นกรณีของความไม่ลงตัวและการพยายามฝืนธรรมชาติโดยเอาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์กับความอิจฉาในชัยชนะมาต่อสู้กับความแตกต่างในแต่ละบุคคลที่ธรรมชาติกำหนดมา

ส่วนตัวผมเองนั้นคิดว่า diversity คือสิ่งธรรมชาติที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน การเอากฎเกณฑ์ที่จะบังคับเสมือนว่าทุกคนถูกสร้างมาเหมือนกันอาจจะไม่ค่อยแฟร์

Semenya มีช่วงเวลาที่เธอจะใช้สิ่งที่ธรรมชาติมอบให้เธอมาในการแข่งขันเพียงไม่กี่ปี เดี๋ยวเธอก็ต้องรีไทร์แล้ว และคงไม่ได้มี Semenya โผล่มาอีกหลายคนในอนาคต

ทำไม่เราไม่ปล่อยให้เธอแสดงศักยภาพของสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้เธอมาเต็มที่ ให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
นั่นต่างหาก คือความสวยงามที่ผมคิดว่าถูกต้อง

 

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน