English Premier League

English Premier League ลีกที่ดีที่สุดในโลก? พรีเมียร์ลีกหรือยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

“ลีกที่ดีที่สุดในโลก” เป็นคำพูดอ้างอิงถึง English Premier League (EPL) ที่เราคุ้นเคยกันดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งก็คงไม่มีใครกล้าเถียงในแง่ของความบันเทิงหรือความเข้มข้นของการแข่งขัน ว่ากินขาดลีกอื่นๆ ในโลกและโดยเฉพาะยุโรปอย่างสิ้นเชิง แต่จะยังใช่หรือไม่ในแง่ของ “คุณภาพ” เริ่มเป็นที่กังขา

fa-cup-2012-logo

ถ้ามองย้อนกลับไปไม่นาน นัดชิงชนะเลิศของ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก (UCL)ในปี 2013 และ 2014 เป็นการชิงกันระหว่างทีมจากบุนเดส ลีกา เยอรมันและจาก ลา ลีกา สเปนตามลำดับ และในปีนี้ภายหลังจากที่มีการประกาศมูลค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด พรีเมียร์ ลีก ที่ซื้อขายกันเป็นหลักแสนล้านบาทไปได้ไม่ถึงเดือน รอบ 8 ทีมสุดท้ายของบอลถ้วยสโมสนยุโรปปีนี้กลับปรากฏว่าไม่มีทีมตัวแทนจากลีกที่เรียกได้ว่า “รวยที่สุดในโลก” และเป็นลีกที่ทีมอันดับบ๊วยยังได้ค่าตอบแทนจากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดทีวีสูงกว่าทีมที่ได้ที่ 3 ในลา ลีกา สเปน แม้แต่ทีมเดียว ซึ่งครั้งสุดท้ายที่เคยเกิดเหตุการณ์นี้ก็ตั้ง 12 ปีแล้วเลยทีเดียว ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากและสื่อต่างๆ ก็ออกมาโพทนาโวยวายกันยกใหญ่ถึงความล้มเหลวในครั้งนี้ แต่ผมว่าอย่าเพิ่งตีโพยตีพายกันไปเลยครับ มองย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 2000 ต้นๆ ถ้าจำกันได้ไม่มีทีมจากอิตาลีเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายเช่นกัน

มองกันผิวเผิน หลายคนอาจมองว่าเป็นความล้มเหลวของทีมตัวแทนจาก EPL แต่อันที่จริงผมคิดว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันและเป็นเรื่องที่วงการลูกหนังเกาะอังกฤษอาจต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะมีหลายอย่างที่ลีกของฝั่งอังกฤษไม่เหมือนของประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ว่ากันเรื่องแรกก็คือการพักเบรค ฤดูหนาว มีการพูดถึงกันเยอะในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาว่าส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจของนักเตะที่เหนื่อยและกรอบ จะว่าไปการไม่มีเบรคนี้ก็เป็นเรื่องของประเพณีและประวัติศาสตร์ดั้งเดิมที่ทำให้ EPL ที่โดดเด่นและแตกต่างจนมาถึงวันนี้ กลายเป็นจุดขายอย่างหนึ่ง แม็ตช์ติดต่อกันช่วงคริสต์มาสต์และ Boxing Day เป็นที่สนใจของทั่วโลก ปัญหาคือว่าจะบาลานซ์ยังไง ยกตัวอย่างการบริหารจัดการที่เยอรมันถ้าสัปดาห์ไหนมีเตะ UCL บอลลีกสัปดาห์ก่อนหน้าจะขยับมาเตะวันศุกร์เพื่อเพิ่มวันพักอีกหนึ่งวัน แต่สำหรับ EPL ในสถานการณ์ที่ viewership และลิขสิทธิ์ของทีวีทั้งในและต่างประเทศมีมูลค่ามหาศาล จะยอมแลกหรือไม่กับแม็ทช์วันเสาร์ที่ทั้งเวลาการถ่ายทอดดีกว่าและคนดูทางทีวีเยอะกว่ามาก

c45de376a792eebe769b17ea506b3c84

อีกประเด็นหนึ่งคือรายการเตะบอลถ้วยทั้งหลายในอังกฤษ FA คัพ ลีกคัพ ถ้วยเล็ก ถ้วยใหญ่ แต่ละถ้วยมีความสำคัญที่แตกต่างกัน บ้างก็สำคัญในแง่ของประวัติศาสตร์ บ้างก็สำคัญในแง่ของเม็ดเงิน แต่เอาเข้าจริงต้องลองดูดีๆ ครับว่าแต่ละการแข่งขันส่งผลอย่างไรต่อ ประสิทธิภาพสูงสุด ของนักเตะในแต่ละทีมในแต่ละช่วงเวลา การที่สื่อต่างๆ ให้มูลค่าและเพ่งเล็งความสำเร็จในแต่ละถ้วยอันเนื่องมาจากการพยายามสร้างความสำคัญของสปอนเซอร์สนับสนุนถ้วยนั้นๆ บางทีก็กดดันให้สโมสรและผู้จัดการต้องเลือกที่จะเดินหมากตามน้ำทั้งที่บางครั้งอยากจะส่งทีมเล็กลงแข่งใจจะขาด แต่ผู้จัดการทีมมีทางเลือกหรือเพราะถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นก็มีการโวยว่าไม่สมน้ำสมเนื้อ โดนโจมตีจากหลายๆ ฝ่าย

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือวิถีของเกมฟุตบอลในอังกฤษที่ทราบกันดีอยู่ว่าเป็นลีกที่ เล่นเร็ว แรง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าอ่อนในเรื่องของแท็คติกทั้งในเกมจริงและการฝึกซ้อมที่ขาดมิติ ซึ่งเป็นความเห็นที่ออกมาจากปากของนักเตะอังกฤษที่ย้ายไปเล่นในฝั่งยุโรปที่เจอการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่า อันนี้ก็เกี่ยวพันกับเชิงพาณิชย์อีกเช่นกัน เพราะลีกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกจะมัวมาเล่นอุดประตูแล้วโต้กลับเร็วหรือครองบอลอย่างเดียวเพื่อรักษาสกอร์เสมอคงเป็นสิ่งที่แฟนบอลรับไม่ได้และส่งผลต่อกระแสนิยม สิ่งที่คนคาดหวังจาก EPL คือการเคลื่อนบอลไปข้างหน้า ความรวดเร็วในการทำเกม และการทำประตู ทุกทีมเล่นแบบนี้เหมือนกัน และขาดมิติทางแท็คติกอย่างมาก

อีกประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวถึงก็คือ EPL คือกรณีของเกมฟุตบอลที่ถูก commercialized อย่างสมบูรณ์ เจ้าของทีมหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็น oligarch หรือ tycoon จากฝั่งเอเชียเป็นคนชี้เป็นชี้ตายว่าจะซื้อนักเตะคนไหนเข้ามา จะขายคนไหนออกไปเพื่อบริหารหน้าบัญชีให้สวยหรูและได้กำไรสูงสุด รวมถึงการเปลี่ยนตัวผู้จัดการด้วย เรื่องนี้ทำให้เกิดอาการสะดุด ไม่เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักเตะต่างชาติที่ซื้อเข้ามาใหม่ต้องเสียสละเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ สไตล์การเล่น เพื่อนร่วมทีม สภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ขายเสื้อได้มากขึ้น ในขณะที่ผู้จัดการหลายคนที่ไม่เป็นที่พอใจของเจ้าของทีมหรือแฟนบอลก็ต้องหลีกทางให้คนใหม่มาแทนภายหลังการสร้างทีมไม่ถึง 2 ปี

เห็นไหมครับว่ามีหลายเหตุผลเหลือเกินที่ทำให้ EPL เริ่มถดถอยในบอลถ้วยยุโรป นี่คือความท้าทายสำคัญที่วงการฟุตบอลอังกฤษต้องหันกลับมามองและหาวิธีในการแก้ไข (ถ้าทุกคนที่เกี่ยวข้องยอมที่จะเปลี่ยนแปลงนะครับ)

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ