English Premier League (EPL) ลีกของเศรษฐีอเมริกัน

เมื่อหลายเดือนก่อนผมเคยเล่าถึงเรื่องการประมูลค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของ English Premier League (EPL) ที่จบไปสำหรับฤดูกาลหน้าเป็นต้นไปที่ราคาพุ่งทะยานไปเป็นหลักแสนล้านบาทใน 3 ฤดูกาลที่จะถึงนี้ ส่งผลให้ทีมเล็กๆ ใน English Premier League สามารถกระเถิบตัวขึ้นเป็นทีม “เจ้าสัวน้อย” ขึ้นมาได้ทันตาเห็นเมื่อเทียบกับทีมระดับเดียวกันในลีกอื่นๆ ของยุโรป การเปลี่ยนแปลงที่เราเห็นแล้วก็คือบรรดานักเตะระดับโลกหลายๆ คนถูกแรงดึงดูดของเม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ใน English Premier League ดึงให้มาค้าแข้งในทีมต่างๆ มากมาย นอกจากนี้แล้ว เรายังเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากอีกอย่างสำหรับวงการฟุตบอลลีกของอังกฤษและยุโรปเอง นั่นคือการเข้ามาลงทุนด้วยการทุ่มเงินซื้อทีมหรือเข้ามาถือหุ้นในสโมสรฟุต English Premier League ของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งในนามบุคคลและบริษัท

ตั้งแต่อดีตกาลมา วัฒนธรรมของฟุตบอลลีกในอังกฤษที่อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของ FA บอกไว้ว่าผู้ถือหุ้นและกรรมการของสโมสรควรจะมีหน้าที่ในการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันสโมสร มิใช่หากำไรให้ตัวเอง แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ย้อนกลับไปภายในช่วงสิบปี ตอนที่ค่าลิขสิทธิ์ยังไม่ทะยานขึ้นไปสูงแบบนี้ มีไม่กี่สโมสรที่ผลประกอบการเป็นบวก ดังนั้นเมื่อมีนักลงทุนยื่นมือเข้ามาบรรดาเจ้าของหลายรายก็ตกลงใจเทขายหุ้นที่พวกเค้าถือสืบทอดกันมานาน และทำให้เราได้รู้จักคนอย่างเช่นนาย Roman Abramovich หรือ Sheik Mansour of Abu Dhabi

แต่ช่วงระยะหลัง เราเริ่มเห็นนักลงทุนจากทางฝั่งอเมริกาเข้ามาถือหุ้นและลงทุนในสโมสร English Premier League เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมิได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นสโมสรระดับชั้นนำเสมอไป ณ ตอนนี้มีทีมใน English Premier League ถึง 7 ทีมที่มีเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติอเมริกัน ไล่ตั้งแต่ Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool, Manchester United, Sunderland และล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้วนักลงทุนชาวอเมริกัน 2 คนที่เป็นเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลอย่า Philadelphia 76ers ก็เพิ่งซื้อหุ้นทีม Crystal Palace คนละ 18% เพื่อเข้าร่วมบริหารทีมกับประธานสโมสรคนเดิมชาวอังกฤษเรียบร้อยไปแล้ว และดูเหมือนว่ากระแสจะยังไม่หยุดแค่นี้ ล่าสุดก็มีข่าวว่า Everton ก็กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากฝั่งอเมริกาที่เพิ่งอกหักจากการเข้าซื้อหุ้นสโมสร Swansea เอีกสโมสรหนึ่งด้วย

เกิดอะไรขึ้น ทำไมสโมสรใน English Premier League ถึงได้ฮ็อตฮิตกับนักลงทุนทางฝั่งอเมริกากันนัก จากที่ผมเคยเขียนไปคราวก่อนถึงธุรกิจกีฬาในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นธุรกิจที่หลายต่อหลายคนอยากเข้ามามีส่วนร่วมเพราะมีตลาดที่ใหญ่มาก แต่การลงทุนกับสโมสรกีฬาในสหรัฐฯ เองไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะมีกำแพงกั้นในด้านปริมาณของเงินที่ต้องใช้จำนวนมหาศาลไม่ว่าจะเป็นทีมจาก NBA หรือ NFL หรือ MLB (เบสบอล)

การเป็นเจ้าของสโมสรหรือทีมกีฬาในสหรัฐฯ อย่างบาสเก็ตบอล อเมริกันฟุตบอล หรือเบสบอล ก็เรียกได้ว่าเป็น “ขาใหญ่” ในประเทศ แต่ถ้าเป็น ฟุตบอล แล้วล่ะก็ เรากำลังพูดถึง exposure ในตลาดอื่นๆ ที่กีฬาพวกนี้ยังเข้าไม่ถึง เรียกได้ว่ายังห่างชั้นกันเยอะเพราะตลาดของ EPL เปิดกว้างในระดับรากหญ้าแทบทุกทวีปยกตัวอย่างดีลล่าสุดที่ China Media Capital จากประเทศจีนเข้าไปซื้อหุ้นสโมสร Manchester City นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้สโมสรได้เข้าใกล้ตลาดฟุตบอลที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกประเทศหนึ่งทีเดียว

นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของการลงทุน การเข้าถือหุ้นในสโมสรฟุตบอลในยุโรป โดยเฉพาะ EPL ยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะนักลงทุนเหล่านี้มีทีมให้เลือกมากมาย ถ้านับเฉพาะลีกของอังกฤษแล้ว นอกเหนือจากทีมใน EPL ก็ยังมีดิวิชั่นล่างๆ ที่น่าสนในเพราะต้องบอกว่าค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดที่ทีมในดิวิชั่นถัดมาได้กันต่อปีก็ไม่ใช่น้อยเช่นกัน จะเลือกเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในสโมสรใหญ่ หรือจะเลือกถือหุ้นใหญ่ในทีมขนาดกลาง-เล็ก แต่มีฐานแฟนบอลเยอะและมองเห็นโอกาสในการขยับขยายหรือก้าวขึ้นมาท้าทายทีมใหญ่ขาประจำ ยกตัวอย่างเช่น Leicester City ในปีนี้ ใครจะไปคาดคิดว่า Champion’s League ปีหน้าเราจะได้เห็นทีมนี้ลงสนามด้วย

นอกจากนี้แล้ว ตัวเลขต่างๆ ในสหรัฐฯ ก็บ่งชี้ถึงความแรงของ EPL ด้วย ไม่ว่าจำนวนคนติดตามการถ่ายทอดการแข่งขันเฉลี่ยเกมละ 480,000 คน และพุ่งขึ้นไปถึงกว่า 1.2 ล้านคนในแม็ตช์ระหว่าง Manchester United กับ Arsenal หรือค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดที่สถานียักษ์ใหญ่อย่าง NBC ยอมจ่ายถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับ 6 ฤดูกาลที่จะถึงก็คงเพียงพอที่จะชี้นำให้หันมาสนใจกันได้

แม้กระทั่งนักวิเคราะห์ตลาดธุรกิจกีฬาในอเมริกาเองก็ยอมรับว่ากีฬา ฟุตบอล ของทางฝั่งยุโรป ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากคนอเมริกันเอง จากตัวเลขเค้าบอกไว้ว่าฟุตบอลอาชีพ (ซึ่งหมายรวมถึงทั้ง MLS เองและลีกอื่นๆ ในยุโรป) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 2 สำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-34 ปี จะแพ้ก็แค่ อเมริกันฟุตบอล เท่านั้น และจากแนวโน้มดังกล่าวมีการคาดเดาไว้ว่าอีกไม่เกิน 20 ปี ฟุตบอลอาชีพ จะแซงกีฬาประจำชาติอีก 2 อย่างของสหรัฐฯ อย่างเบสบอลและบาสเก็ตบอลในทุกกลุ่มอายุเลยทีเดียว

ต้องยอมรับครับว่านักลงทุนเหล่านี้ฉลาดเป็นกรดในการหาเงินมาลงทุน ยกตัวอย่างเช่นกรณีของครอบครัว Glazer ตอนซื้อหุ้น Manchester United ก็ควักกระเป๋าลงทุนด้วยเงินตัวเองแค่ 1 ใน 3 (ประมาณ 272 ล้านปอนด์จากมูลค่าการซื้อขายกว่า 790 ล้านปอนด์) และส่วนที่เหลือก็กู้ยืมโดยผ่านสโมสรที่เข้า take over เรียบร้อยแล้ว และใช้โอกาสที่สโมสรมีมูลค่าเชิงพาณิชย์มหาศาลสร้างรายได้เพิ่มและเอารายได้ส่วนนี้มาชดใช้หนี้รวมทั้งดอกเบี้ยที่กู้ยืมมา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ Manchester United ยังมีหนี้จำนวนมหาศาลที่ต้องเคลียร์

นอกจากนี้แล้วนักลงทุนจากฝั่งอเมริกาที่มาลงทุนใน EPL ส่วนมากจะเป็นเจ้าของ franchise ทีมกีฬาต่างๆ ในสหรัฐฯ อยู่แล้ว ดังนั้นพวกเค้าจึงคุ้นเคยกับการวางแผนระยะกลาง-ยาว หาความคุ้มค่าจากค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ค่า merchandising ค่าสปอนเซอร์ และโอกาสที่สโมสรจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีกทั้งยังเข้าใจในการมองเห็นสโมสรเป็นเครื่องจักรสร้างรายได้ต่อยอดกับตัวเองอย่างกรณีของ Arsenal ที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่นามว่า Stan Kroenke สั่งให้ว่าจ้างบริษัทของตัวเองเป็นที่ปรึกษาและเก็บเงินจากสโมสรปีละกว่า 3 ล้านปอนด์

จากภาพที่เห็น ผมทำนายเลยว่าแม้อเมริกาจะไม่ใช่ชาติมหาอำนาจทางด้านลูกหนังในสนามแข่งขัน แต่ไม่นานครับ ผมเชื่อว่าอเมริกาจะเป็นเจ้าของทีมมหาอำนาจลูกหนังในทุกลีกก็เป็นได้

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ