ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศ

ครั้งก่อนผมเขียนเรื่องแรงกดดันต่อสตรีเพศในช่วงโควิดที่มีหน้าที่ทั้งเรื่องงานและดูแลบ้านมาเขียนได้รับความสนใจจากผู้อ่านกันเยอะ (ไปอ่านกันที่นี่นะครับ คลิก) ครั้งนี้ผมขอลงลึกเพิ่มเติม 2-3 เรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศ 

เรื่องแรกเกี่ยวกับทางเลือกอาชีพของคนในสังคมไทยที่ถูกกำกับด้วยวิถีการแบ่งบทบาทหญิงชายตามค่านิยมเดิมๆ สถิติในประเทศเราจะเห็นว่ายังมีสตรีเพศอยู่ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้อยกว่าชาย ซึ่งในยุคนี้เป็นสายที่มีโอกาสทางอาชีพเปิดกว้างมากกว่า ยิ่งเข้าทำงานแล้วอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น วิศวกรรมหรือปัญญาประดิษฐ์ก็ยังถูกมองว่าเป็นอาชีพที่เหมาะกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ตัวเลขจาก World Economic Forum ระบุว่า สัดส่วนของนักวิชาชีพด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นผู้ชายยังนำลิ่วทิ้งห่างผู้หญิงร้อยละ 78 ต่อร้อยละ 22) 

ในโลกยุคดิจิทัลที่ automation หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทกับงานมากขึ้น ทักษะคนคนทำงานต้องเปลี่ยนไป ภาคธุรกิจที่จ้างงานสตรีเพศอยู่เยอะๆ อย่างท่องเที่ยว สายการบิน บริการ ร้านอาหาร และรีเทล จะโดนกระทบยังไง ทั้งภาครัฐและเอกชนควรคิดเตรียมแผน reskill ให้กับพวกเธออย่างจริงจังชัดเจนนะครับเพื่อที่จะได้พร้อมเมื่อเวลานั้นมาถึง 

Entrepreneurship ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนสตรีเพศมากขึ้น องค์กรใหญ่ๆ บางแห่งเพิ่มสัดส่วนผู้บริหารสตรีมากขึ้น หรือขึ้นเป็น CEO เลยก็มี เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่สำหรับสตรีที่อยากตั้งไข่ธุรกิจของตัวเอง ภาครัฐน่าจะให้ความสำคัญเยอะๆ อย่าง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เริ่มต้นได้ดีกับพวกธุรกิจ SME หรือ OTOP แต่อยากให้ขยายรวมถึงธุรกิจในโลกใหม่ด้วย ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเข้าใจกับบริบทธุรกิจใหม่ๆ อย่างแพล็ตฟอร์มหรือสตาร์ทอัพต่างๆ ไม่งั้นก็จะมองจำกัดการสนับสนุนแค่ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ เท่านั้น 

ในด้านสวัสดิการก็สำคัญ ภาครัฐควรปรับปรุงระบบสวัสดิการดูแลเด็กและครอบครัวให้ดี เช่นลงทุนกับเรื่องจับต้องได้อย่างสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้ดีให้คุณแม่สบายใจที่จะฝากบุตรไว้ มีโอกาสทำงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันเพื่อมิให้สมดุลย์หายไปมัวแต่ทำงานกันอย่างเดียว องค์กรหรือนายจ้างต่างๆ ก็ควรเปิดกว้างเรื่องการแบ่งเวลา  นโยบาย flexible work scheme มีออกกฎไปให้ชัดเจน อย่าให้พวกเธอต้องกลัวที่จะใช้สิทธิเรื่องพวกนี้เพราะกลัวโดนเพ่งเล็ง กลัวตกงานเพราะถ้าให้องค์กรเลือกก็จะเลือกเก็บผู้ชายไว้ก่อน ความคิดแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้น

เรื่องพวกนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ นะครับ แต่บทวิจัยของ McKinsey เค้าบอกว่าไอ้การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุรุษเพศและสตรีเพศในเรื่องพวกนี้แหละที่จะส่งผลทางบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกในอนาคต อย่างแน่นอน ถึงเวลาที่เราจะต้องขยับตัวกันจริงจังแล้วไหมครับ  

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน