วิถีฟุตบอลที่เปลี่ยนไปหลังโควิด-19

ช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ารายได้ของสโมสรที่มาจากค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์มีมูลค่าสูงมาก แต่ถึงแม้ว่าช่วงที่ผ่านมาค่าลิขสิทธิ์นี้จะขยับขึ้นมาเรื่อยๆ แต่คาดว่าช่วงพีคสุดของเงินที่บริษัทที่ควบคุมเน็ตเวิร์คของสื่อจะยอมจ่ายให้ลีกต่างๆ ในยุโรปได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ตัวแปรสำคัญที่สุดก็คือสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากโควิด-19 นั่นเอง

ลีกระดับโลกของยุโรปก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในช่วงของขาลงกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพรีเมียร์ลีกอังกฤษ บุนเดสลีกาของเยอรมัน ก็มีการต่อรองค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวระหว่างทีมบริหารลีกกับบริษัทที่ได้รับสิทธิ์ สำหรับสัญญาตัวปัจจุบันที่ยังบังคับใช้ มีทั้งการปรับลดเงินคืนให้สำหรับช่วง 3 เดือนที่ล็อคดาวน์ส่งผลให้ฟุตบอลไม่มีแข่งหรือมีการยอมผ่อนผันให้จ่ายช้าลง ซึ่งก็ยังดีกว่าตกลงกันไม่ได้แล้วโดนชักดาบค่าสัญญาไปเลย

ตัวเลขหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าฟองสบู่ในเรื่องนี้ได้กำลังแฟบลง (แต่ยังไม่ถึงกับแตกเสียทีเดียว) อย่างชัดเจนเลยคือค่าลิขสิทธิ์กว่า 4.4 พันล้านยูโรของบุนเดสลีกาที่เพิ่งจรดปากกาเซ็นกันไปเมื่อเดือนมิถุนายน (ระยะเวลาสัญญา 4 ปีซึ่งจะมีผลบังคับตั้งแต่ฤดูกาลหน้าเป็นต้นไป) มีมูลค่าลดลงจากสัญญาตัวเดิมถึง 5% เลยทีเดียว ซึ่งต่างจากสัญญาตัวก่อนที่เซ็นตอนฤดูกาล 2017-18 ที่มูลค่าเพิ่มจากของเดิมถึง 85%

อีกตัวอย่างล่าสุดก็คือปัญหาระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดลีก เอิง ของฝรั่งเศสรายปัจจุบันอย่าง Mediapro ที่จะขอเจรจาปรับลดเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาฉบับปัจจุบันเสียดื้อๆ ซะงั้น โดยอ้างว่าการแข่งขันฟุตบอลที่ปราศจากแฟนบอลในสนามและปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากโควิด-19 ทำให้ “สินค้า” ตัวนี้มีมูลค่าต่างไปจากเดิม และบริษัทฯ คิดว่าเหมาะสมกับการที่จะปรับลดมูลค่าของสัญญาสิทธิ์ในการถ่ายทอดนี้ลง ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนกับวงการฟุตบอลฝรั่งเศสอย่างมาก

มองไปยาวๆ ผมว่าวิถีของฟุตบอลจะเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเลยทีเดียว ซึ่งถ้ามองในแง่ดีก็จะพอจะมีมุมที่น่าสนใจอย่างเช่นบรรดานักฟุตบอลระดับเทพๆ ที่ค่าตัว ค่าเหนื่อยแพงๆ คงลดความสำคัญลงเพราะสโมสรต้องลดค่าใช้จ่าย ดังนั้นสิ่งที่ผมบอกไปถึงเรื่องของการสร้างมูลค่าของนักเตะท้องถิ่น นักเตะที่สโมสรปั้นเอง น่าจะมีบทบาทและเป็นทางเลือกของสโมสรต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้นักเตะรุ่นใหม่ๆ มีโอกาสลืมตาอ้าปากมากขึ้น

นักเตะเองในเชิงจิตวิทยาก็จะลุ้นตำแหน่งตัวจริงได้มากขึ้น ส่งผลให้มีการทุ่มเทกับการซ้อมเพื่อพัฒนาฝีมือที่ไม่ต้องถูกจับนั่งม้าสำรองเพราะต้องให้นักเตะค่าตัวแพงลงให้คุ้ม ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะยิ่งทำให้การพัฒนานักเตะท้องถิ่นมีการยกระดับไปในตัวอัตโนมัติ

สำหรับแฟนบอลผมว่าความสนใจจะหันมาให้การสนับสนุนดาวเด่นท้องถิ่นหรือเด็กปั้นของสโมสรมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่ดีกว่าสำหรับสโมสรต่างๆ รวมทั้งของในไทยเองด้วย ความรู้สึกร่วมในการเชียร์และทุ่มเทให้กับคนที่มาจากชุมชนรอบๆ สโมสรน่าจะมีสูงและเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนมากกว่าการลุ้นให้ซุปเปอร์สตาร์ที่เสียเงินซื้อมาเล่นให้ดีสมค่าตัว บรรยากาศการเชียร์ก็จะเป็นเชิงบวกในการให้กำลังใจมากขึ้น ไม่ใช่ชี้หน้าด่าถ้าเล่นไม่สมค่าตัว บรรยากาศในสนามฟุตบอลน่าจะเป็นที่พิศมัยมากขึ้นสำหรับครอบครัวที่มีเด็กและต้องการปลูกฝังให้เด็กรักและเชียร์ทีมต่างๆ

เห็นไหมครับเงินไม่มาก็ไม่ใช่จะแย่ไปเสียทีเดียว นับเป็นโอกาสในวิกฤติสำหรับสโมสรต่างๆ ที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับวิถีใหม่ยุคหลังโควิดกันทุกคน

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน