อนาคตที่ริบหรี่ของ Fitness & Gym?

ในยุคที่ “เวลา” กลายเป็นสิ่งมีค่าสำหรับพวกเราทุกคน ยุคที่เราต้องเผชิญมรสุมของโลกดิจิตัลที่ทำให้เราเชื่อมต่อกับโลกรอบๆ ตัวตลอดเวลา อีเมล ข้อความ feed ต่างๆ ที่เราไม่กล้าที่จะละความสนใจเพราะกลัว fear of missing out กลายเป็นภาระทางชีวิตของคนยุคนี้ไปเสียแล้ว เราเคยถามตัวเองกันบ้างไหมครับว่าเวลาที่เราจะสามารถ disconnect นอกจากตอนนอนแล้วมีเวลาไหนอีกบ้าง

สำหรับคนรุ่นผมและเพื่อนๆ เวลาที่เรานัดกันเล่นฟุตบอล ลงสนามซ้อมหรือแข่งกัน เป็นเกือบ 2 ชั่วโมง (ถ้าเล่นไหว) ที่เราได้อยู่กับเกมนั่นแหละครับ เวลาที่มีค่าสุดๆ ที่เราจะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัวเรามากนัก

ไม่ต่างกันครับ เวลาผมเดินผ่านกระจกของยิม มองลอดเข้าไปเห็นคนรุ่นใหม่ๆ แต่งตัวสีสันสดใส แม็ทชิ่งกับรองเท้ากีฬาแนวแฟชั่นที่ผสานกับเทคโนโลยีราคาไม่น้อย ผมเชื่อว่า ยิมและฟิตเนสเหล่านี้แหละครับคือศูนย์กลางชีวิตช่วงเย็นถึงค่ำของคนทำงาน กลุ่มคนที่ชีวิตงานเขยิบเข้ากินเวลาชีวิตส่วนตัวมากขึ้น สิ่งที่เค้ามองหาคือเวลาสัก 1-2 ชั่วโมงเพื่อที่จะปลดปล่อยพลังแบบไม่ต้องเสียเวลามากนักและพร้อมที่จะเดินตัวเบา รู้สึกดีที่ได้ burn ไขมันออกไป

4-5 ปีที่ผ่านมา นับได้ว่าเทรนด์การออกกำลังในรูปแบบใหม่ๆ ได้ขยายตัวเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ฟิตเนสหรือยิมแบบดั้งเดิมที่เป็น free weight อุปกรณ์ต่างๆ และคลาสโยคะ เริ่มถูกท้าทายด้วยการออกกำลังรูปแบบใหม่ๆ ประเภท hybrid ไม่ว่าจะเป็นคลาส body combat คลาสปั่นจักรยาน หรือการเทรนแบบ high intensity ผสมผสานกับการเคลื่อนไหวแบบตื่นเต้นมากขึ้น การออกกำลังกายในรูปแบบใหม่พวกนี้เป็นสิ่งที่มีสเน่ห์และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง tribe ผู้เล่นในรูปแบบใหม่ๆ

ธุรกิจยิมนี้ได้ขยายตัวเยอะขึ้นในระยะที่ผ่านมา มีทั้งเจ้าเก่าที่อยู่มานานแต่ปรับตัวให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับเจ้าใหม่ที่เป็นเชนจากต่างประเทศสีแดงสดใสทันสมัยถูกใจคนรุ่นใหม่ มาจนล่าสุดเริ่มเห็นยิมประเภทเปิด 24 ชั่วโมงเปิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทำให้ผมเคยสงสัยว่าจะมีคนเล่นจริงหรือ ในมุมความสำเร็จของธุรกิจผมตอบไม่ได้ แต่ในมุมของธุรกิจอสังหาฯ แน่นอนครับเรายินดีที่เห็นพื้นที่ในห้าง ในตึกต่างๆ ถูก take up ด้วยยิมเหล่านี้ ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างร้างไม่สร้างรายได้ให้กับเจ้าของตึก ดูแล้วมีชีวิตชีวาขึ้นเยอะ

แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ความล้ำยุคทางเทคโนโลยีและโลกแห่งการเชื่อมต่อ ก็กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรากันอีกครั้ง ยิม หรือ ฟิตเนส ที่เป็นศูนย์กลางชีวิตแห่งหนึ่งของคนเมืองที่เราเรียกกันว่า ยิม นี้ก็กำลังถูกท้าทาย ตัวอย่างที่เห็นว่าเกิดขึ้นแล้วก็คือพวก studio ปั่นจักรยานที่ได้รับความนิยมมากมายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาครับ

พวกสาวกขาปั่นที่ยอมลงทุนกับชุดเท่ห์ๆ รองเท้า clip-on สวยๆ แล้วไปเบียดเสียดปั่นจักรยานปาดเหงื่อกระเด็นโดนคนอื่นแบบสวยๆ หล่อๆ  และให้เทรนเนอร์ตะโกนกระตุ้นพร้อมเสียงเพลงดังสะใจ อีกหน่อยคุณสามารถปั่นจักรยานกับเทรนเนอร์ส่วนตัวออนไลน์ได้แล้วนะครับ มี startup สัญชาติอเมริกัน (ผู้ก่อตั้งเป็นเพื่อนผมสมัยเรียนที่นั่น) ที่ชื่อ Peloton ที่เพิ่งออก IPO ไปเค้ามีโมเด็ลใหม่ที่ขาย/เช่าจักรยานออกกำลังพร้อมกับ membership การเข้าถึง training session บนหน้าจอที่ออกแบบมาสำหรับนักปั่นหลากหลายเทคนิคและประเภท ไม่ต่างอะไรกับเทรนเนอร์ตัวจริงเลย

Startup รายนี้กลายเป็นที่จับตาเพราะสามารถ scale จำนวนสมาชิกได้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่สำหรับสร้าง studio เลยแม้แต่น้อย ว่ากันว่าตอนนี้มีสมาชิกกว่า 400,000 คนแล้วที่ซื้อจักรยาน Peloton ไปไว้ที่บ้าน (ยอดเมื่อสิ้นปีที่แล้ว)

ก็น่าสนใจนะครับว่า hub ที่เป็นศูนย์กลางชีวิตของคนเมืองหลายๆ อย่างกำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อ individual มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วในอนาคตการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์เราจะเป็นยังไง ความสำคัญที่เราจะให้กับเวลา ที่เราได้ disconnect และพบปะกับมนุษย์ตัวเป็นๆ ด้วยกันจะลดลงไหม ผมว่าในอีก 10 ปีต่อจากนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเลยทีเดียว ไม่เชื่อลองคอยดูครับ

 

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม