พลาสติกในชีวิตประจำวัน
แยกทิ้งยังไงบ้าง?

จัดการขยะรีไซเคิลนับเป็นเรื่องง่าย

ถ้าเป็นแค่ขยะจากกระป๋องอลูมิเนียม กระดาษ ขวดแก้ว แต่พอเป็นขยะพลาสติกเป็นต้องกุมขมับกันเลยทีเดียว เพราะพลาสติกมีถึง 7 สัญลักษณ์ที่นำไปรีไซเคิลได้และต้องแยกกลุ่มก่อนทิ้งให้ชัดเจน เอาไปทิ้งปะปนกันไม่ได้ด้วย

แล้วพลาสติกในชีวิตประจำวันที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ เป็นพลาสติกหมายเลขไรกัน ไม่ต้องห่วง…แสนสิริจะบอกทริคการสังเกตพลาสติกที่ใช้ว่าอยู่หมายเลขอะไร เพื่อนำไปแยกจัดการได้ถูกต้องกัน

ขวดพลาสติก

Waste to Worth-sansiri-วิธีทิ้งขยะพลาสติก-แยกขยะ-แยกพลาสติก

ทุกวันเราใช้ขวดพลาสติกกันเยอะแน่นอนอยู่แล้ว ตั้งแต่ขวดพลาสติกที่ใช้ดื่มน้ำ จนไปถึงขวดพลาสติกที่บ้านไว้บรรจุแชมพู่ สบู่ และอื่นๆ อีกเพียบ ซึ่งเราสังเกตขวดเหล่านี้ได้ง่ายๆ ตามนี้

– หมายเลข 1 PETE เป็นขวดพลาสติกที่แบรนด์น้ำดื่ม น้ำเปล่า ใช้กันส่วนมากอยู่แล้ว ลักษณะพลาสติกก้นขวดจะมีความใสวาว ยืดหยุ่นพอสมควร
– หมายเลข 2 HDPE ส่วนมากจะเป็นขวดพลาสติกที่บรรจุนมเปรี้ยว แชมพู สบู่ มั้นมันเครื่อง น้ำกลั่น ที่มีลักษณะขุ่นเข้มจนเกือบมองไม่เห็นหรือไม่เห็นเลย มีความแข็งประมาณหนึ่ง
– หมายเลข 5 PP เห็นได้ตามตลาดนัด ร้านชำ ที่ไว้บรรจุน้ำผลไม้ขวดเล็กๆ ลักษณะพลาสติกจะมีความขุ่นใสพอมองเห็น มีความแข็งประมาณหนึ่ง

ขวดพลาสติกเหล่านี้ก่อนทิ้ง ควรเทน้ำออกจากขวดให้หมด ล้างทำความสะอาดเล็กน้อย และบีให้แบนแยกไว้เป็นกลุ่มๆ

ถุงพลาสติก

Waste to Worth-sansiri-วิธีทิ้งขยะพลาสติก-แยกขยะ-แยกพลาสติก

ทุกวันเราใช้ขวดพลาสติกมากแล้ว ถุงพลาสติกใช้มากกว่าอีก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นใช้บรรจุของต่างๆ มากมาย หากจัดการก่อนทิ้งไม่ดีจะนำไปรีไซเคิลต่อได้ยากมาก แต่ไม่ต้องห่วง เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ

– หมายเลข 2 HDPE เป็นถุงพลาสติกที่เราจะได้รับจากมินิมาร์ทมาอยู่เสมอ ลักษณะพลาสติกจะมีเสียงดังก๊อบแก๊บ ยืดได้ และมีความเหนียวประมาณหนึ่ง
– หมายเลข 4 LDPE ส่วนใหญ่ที่เราใช้จะเป็นถุงดำใส่ขยะหรือถุงอาหารแช่แข็ง ซึ่งจะมีความเหนียว นิ่ม และยืดออกได้เยอะพอสมควร
– หมายเลข 5 PP พบได้เมื่อไปเดินจ่ายตลาด แล้วแม่ค้าก็จะบรรจุอาหารใส่ถุงแกงทนความร้อนให้ ซึ่งพลาสติกจะมีความใส และยืดออกได้เล็กน้อย

สุดท้ายเป็นพลาสติกที่เราใช้บ่อยมากเหมือนกันนั่นคือ ถุงพลาสติกขนมในมินิมาร์ทที่มีชั้นพลาสติกทับซ้อนกันเยอะ ไม่จัดอยู่ในหมายเลขอะไรเลย แต่เราสามารถส่งรีไซเคิลไปได้ที่โครงการ Green Road ถุงพลาสติกเหล่านี้ก่อนทิ้งจัดการได้ง่ายๆ คือ ล้างคราบสกปรกออกและเช็ดให้แห้ง แต่หากมีวัสดุอื่นติดมาด้วยอย่าง เทปกาว ให้แกะแยกออกก่อนทิ้ง

กล่องพลาสติก

Waste to Worth-sansiri-วิธีทิ้งขยะพลาสติก-แยกขยะ-แยกพลาสติก

กล่องพลาสติกก็เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ใช้เป็นประจำ วันไหนรีบๆ ก็ต้องสั่งเดลิเวอรี่มาส่งอาหารและก็มาพร้อมกับกล่องพลาสติกให้เรามาแยกก่อนทิ้ง ซึ่งมีวิธีสังเกตง่ายๆ มากเลย

– หมายเลข 1 PETE กล่องใส่ข้าว ใส่ขนม ที่เราจะเห็นในร้านค้าทั่วไปเมื่อสั่งกลับบ้าน มีลักษณะที่ใส แต่แตกง่ายสุดๆ
– หมายเลข 5 PP กล่องพลาสติกประเภทนี้ส่วนใหญ่อยู่ในร้านมินิมาร์ทที่เป็นข้าวสำหรับไว้เวฟ ซึ่งจะมีความขุ่นหรือมีสีสัน แข็งแรงทนความร้อนได้ระดับหนึ่ง
– หมายเลข 6 PS เป็นกล่องโฟมที่เราจะเห็นตามร้านอาหารที่ต้องการประหยัดต้นทุน สังเกตได้ง่ายๆ เลยคือจะมีสี และฉีกขาดง่าย

กล่องพลาสติกก่อนแยก ควรล้างคราบสกปรกออกให้หมด จากนั้นเช็ดหรือตากให้แห้ง ถ้ามีเทปกาวหรือวัสดุอื่นติดอยู่ ให้แกะออกก่อนแยกทิ้งด้วย

ช้อนส้อมพลาสติก

Waste to Worth-sansiri-วิธีทิ้งขยะพลาสติก-แยกขยะ-แยกพลาสติก

ช้อนส้อมพลาสติกที่มาคู่กับบรรภัณฑ์อาหารที่สั่งเดลิเวอรี่มา ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าแยกทิ้งไม่ดีก็ก่อเกิดขยะได้มหาศาลเลยทีเดียว ซึ่งหลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทพลาสติกให้เราแยกทิ้ง

– หมายเลข 5 PP เป็นช้อนส้อมที่มีสี จิ้มหรือตัดเนื้อขาดไหมไม่รู้ แต่ยืดงอ ไม่หักง่ายๆ แน่นอน
– หมายเลข 6 PS ช้อนส้อมที่จิ้มเนื้อทีไรเป็นต้องแตก หรือตักกินเข้าปากก็มีโอกาสบาดได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีมีความใสและแตกหักง่าย

ช้อนส้อมพลาสติกจัดการได้ง่ายๆ เพียงแบ่งเป็นกลุ่มให้ชัดเจน ล้างทำความสะอาดและตากให้แห้งก่อนทิ้งนั่นเอง

Waste to Worth โครงการแยกขยะสร้างมูลค่า ต่อยอดจากวิสัยทัศน์ Sansiri Green Mission 2020 ที่แสนสิริและพลัส พร็อพเพอร์ตี้เราจริงจัง นอกจากนี้ แสนสิริเรายังพร้อมต่อยอดการสร้าง Sustainability ให้แนวคิดของความยั่งยืนขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น โดยได้ร่วมจับมือกับเหล่าพันธมิตร ในพันธกิจที่จะมุ่งมั่นร่วมกันสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน

เพราะแสนสิริ เราพร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ เปลี่ยนโลกใบเดิมให้สดใสเพื่อสังคมที่น่าอยู่ยิ่งกว่าเดิม

CONTRIBUTOR

Related Articles

world environment day

3 เทรนด์ตามกระแส ที่เราทำร้ายสิ่งแวดล้อมแบบไม่รู้ตัว

แค่จะตามเทรนด์ เพราะของมันต้องมี แต่เรากลับทำร้ายโลกไม่รู้ตัว? รู้ไหมว่าเทรนด์ตามกระแสที่เกิดขึ้นบางอย่างเป็นเรื่องน่าสนใจ และหลายคนก็มักจะทำตาม และอยากลองกัน แต่ในทางกลับกันบางเทรนด์ก็สามารถส่งผลกระทบต่อตัวเรา ต่อสังคม หรือกับสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกัน จนเรากลายเป็นผู้ร้ายต่อโลกแบบไม่รู้ตัว ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีนั้นเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ WorldEnvironmentDay แสนสิริเลยขอยก 3 เทรนด์ตามกระแสมาแรงไม่มีตก ที่คนไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาฮิตกัน

จากแสงตะวัน สู่แผงโซลาร์ แสงอาทิตย์เพื่อโลก

อะไรคือคำตอบเพื่อก้าวเข้าไปสู่อนาคตของการรักษ์โลก? แสงจากดวงตะวันคำตอบของพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อโลก เป้าหมายของแสนสิริไม่ใช่เพียงลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ดังนั้นนอกจากการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว แสนสิริยังมีนวัตกรรมบ้านเย็น หรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และลงทุนกับนวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นพลังงานทางเลือกให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้อาจดูเป็นเพียงพลังเล็กๆ แต่เราก็หวังให้คอมมูนิตี้ของแสนสิริ เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนและส่งต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนในการช่วยรักษา และดูแลโลกใบนี้ อีกทั้งพร้อมส่งต่อเจตนาเหล่านี้สู่รุ่นต่อไป เพื่อให้โลกอยู่กับมนุษย์เราได้อย่างยืนยาว นำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในพื้นที่ ด้วยคุณค่าอันมหาศาลของแสงตะวันนี้เอง ทำให้แสนสิริที่หมายมั่นและมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สร้างจุดเปลี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตระหนักถึงการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่สะอาดและปราศจากการก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

“Green Cement” คอนกรีตรักษ์โลก เพื่อโลก เพื่อเรา

ที่อยู่อาศัยคือสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ในปัจจุบันเมื่อสิ่งแวดล้อมถูกเบียดเบียนมากขึ้นเรื่อยๆ คำถามคือ เราจะทำยังไงให้สิ่งที่มนุษย์ปลูกสร้างส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ให้น้อยที่สุด? เราขอแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ ‘คอนกรีตรักษ์โลก’ หรือ ‘ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก’ (Hydraulic Cement) ที่ผ่านการพัฒนาคิดค้น โดยใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในการผลิต ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยลงตามไปด้วย นอกจากคุณภาพด้านฟังก์ชันไม่เป็นรองคอนกรีตทั่วไปแล้ว ยังช่วยตอบโจทย์ด้านการดูแลโลกอย่างอ่อนโยนตั้งแต่กระบวนการผลิต แสนสิริกับความตั้งใจที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการเป็นอสังหาเจ้าแรกในไทยที่เริ่มใช้คอนกรีตรักษ์โลกในโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ มากกว่า 23 โครงการ