Instant replay

Instant replay ในวงการกีฬามีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับกีฬา

 Instant replay ในวงการกีฬามีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับกีฬา

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับกีฬา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่นักกีฬาใช้ ที่นับวันจะเบา มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้นักกีฬาเร็วขึ้น เหนื่อยน้อยลง ตอนนี้แทบจะเห็นได้ว่ากีฬาที่ต้องใช้ร่างกายของเราในการแข่งขันแทบจะไม่ต่างอะไรกับการแข่งขันรถสูตร 1 เลย เพราะมีการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามอนิเตอร์สมรรถภาพของนักกีฬาแบบองค์รวมตั้งแต่การเก็บข้อมูลจากการฝึกซ้อม เพื่อนำมาผันแปรกับองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อ  คำณวนหา maximum output ของแต่ละคนแต่ละประเภทกีฬาในแต่ละสถานการณ์เลยทีเดียว และจะเห็นได้ว่าในหลายๆ กีฬา การชนะกันเป็นเพียงแค่เสี้ยวของส่วนร้อยหรือส่วนพันวินาทีเท่านั้น ดังนั้นทุกองค์ประกอบของการเตรียมพร้อมเพื่อการแข่งขันมีความหมายมาก

นอกเหนือไปจากความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการเตรียมความพร้อมและการฝึกซ้อมแล้ว ในส่วนของการตัดสินแพ้ชนะ ผิดถูก เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทเยอะมากแล้วเช่นกัน

sp-940-referee

ย้อนกลับไปในอดีตการแข่งขันเทนนิสจะสนุกมากขึ้นเวลาผู้เล่นถกเถียง ออกอารมณ์ฉุนเฉียว โต้แย้งกับคำตัดสินของกรรมการกำกับเส้น ยกตัวอย่างคลาสสิคอย่างจอห์น แม็คเอ็นโร เมื่อสามสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันอาการแบบนี้จะไม่ค่อยมีให้เห็นแล้วเพราะกีฬาเทนนิสมีสิ่งที่เค้าเรียกว่า Hawk Eye Technology ที่เป็นระบบการบันทึกข้อมูลและสามารถรีเพลย์ให้เราดูได้เป็นภาพ 3 มิติว่าลูกที่กังขากันเมื่อสักครู่ลงบนเส้นหรือว่าออกนอกเส้น ผู้เล่นสามารถใช้สิทธิ์ในการเรียกดูภาพจากเทคโนโลยีดังกล่าวได้และคำตัดสินของผู้ตัดสินสามารถถูก overrule ได้หากผิดไปจากสิ่งที่เทคโนโลยีดังกล่าวบอก

การแข่งรถสูตร 1 ปัจจุบันเราก็เห็นการลงโทษนักขับย้อนหลังทั้งระหว่างการแข่งขันและภายหลังจากที่การแข่งขันจบลงแล้วหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นการลงโทษอันเกิดจากเหตุการณ์เช่นขับเร็วเกินกำหนดในพิตเลน ออกนอกเส้นที่กำหนด แซงในเขตห้ามแซง ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการตรวจจับทั้งสิ้น เพราะลำพังทีมงานที่ควบคุมการแข่งขันคงไม่สามารถตรวจจับรถกว่า 22 คันในสนามที่ยาวกว่า 3-4 กิโลฯ ได้ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็ส่งผลให้ตำแหน่งบนโพเดียมรับรางวัลต้องเปลี่ยนทันทีหรือมีผลย้อนหลังริบถ้วยรางวัลคืนหลังผ่านไปเป็นวันก็มี

fd7d654f-4ace-46d0-ad9a-89767436f1a8-1

แต่ต้องเรียกว่าฟุตบอล กีฬามหาฮิตของเรายังนับว่าล้าหลังอยู่มากกับการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการช่วยตัดสิน

ลองนึกดูสิครับ การเตรียมความพร้อมของนักกีฬาและทีมต่างๆ ในระดับทีมสโมสรโลกและระดับทีมชาติทรัพยากรทั้งทุนทรัพย์และบุคลากรความเชี่ยวชาญถูกนำมาใช้ตั้งเท่าไหร่ มีทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วิเคราะห์ศักยภาพของนักเตะตั้งแต่ยังไม่ซื้อเข้ามาร่วมทีม วิทยาศาสตร์การกีฬาทุกแขนงถูกนำมาพัฒนาประยุกต์เพื่อปรับขีดความสามารถของนักเตะแต่ละคนให้ถึงขีดสุด รวมถึงพัฒนาศักยภาพเฉพาะของนักเตะในแต่ละ skill ให้เหมาะสมกับตำแหน่งทั่วเองเล่น

ปัจจุบันนักฟุตบอลที่วิ่งเร็วๆ ก็ทำเวลา 100 เมตรได้แทบไม่ต่างจากนักวิ่งระดับโลกแล้ว ลูกยิงแต่ละลูกมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นักฟุตบอลแต่ละคนมี skill และลูกเล่นที่หลากหลายมากขึ้นที่ใช้ในการตบตากรรมการ แต่ในเกมฟุตบอลเรายังอาศัยความแม่นยำของสายตา ความเที่ยงตรงของจิตใจ และความมั่นใจในความคิดของกรรมการในสนามเพียง 1 คน ผู้กำกับเส้น 2 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสินอีกไม่กี่คนข้างสนาม ที่ดีหน่อยก็มีผู้กำกับเส้นตรงประตูมาเพิ่มอีกด้านละคน ซึ่งคนเหล่านี้ โดยเฉพาะกรรมการหลักจะต้องทำหน้าที่สอดส่อง เพ่งเล็ง ตัดสินใจ ไปพร้อมๆ กับการวิ่งตามแอ็คชั่นของเกมไปทั่วสนาม ท่ามกลางเสียงเชียร์ของกองเชียร์หลายหมื่น ผมคิดว่ามันเป็นความไม่สมดุลย์เสียจริงๆ ครับ

article-2221756-0109536E000004B0-545_468x354

ณ เวลานี้ ผมคิดว่าสมควรแล้วที่เราควรมี instant replay เพื่อช่วยการตัดสินในกีฬาฟุตบอล ข้อถกเถียงที่เคยว่ากันว่าจะทำให้เกมสะดุดและอรรถรสตกลงไปเป็นข้ออ้างที่หมดยุคแล้วครับ ปัจจุบันเกมฟุตบอลถูกพัฒนาให้ไหลลื่นมากขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเสียเวลาไปอีก 5 นาทีสำหรับการหยุดเกมเพื่อวิ่งไปดูหน้าจอทีวี มุมกล้องการถ่ายทอดในแต่ละสเตเดี้ยมสำหรับช่องโทรทัศน์ที่เสียลิขสิทธิ์หลายแสนล้านมีเป็นหลายร้อยตัวหลายร้อยมุม จะย้อนกลับมาดูชัดขนาดเห็นใบหญ้าปลิวกี่ใบตอนล้มลงก็สามารถทำได้ภายในไม่กี่วินาที หรือถ้าจะ extreme หน่อยบรรดาเทคโนโลยีแว่นตาที่มีจอแสดงผลต่างๆ ก็มีให้ใช้มากมายแล้ว

ในทางกลับกัน ผมกลับคิดว่าการมี instant replay จะช่วยสร้างมาตรฐานให้นักเตะมีความเป็นมืออาชีพจริงๆ มากขึ้น การแกล้งล้มเอาฟาล์ว การเล่นนอกเกมนอกสายตากรรมการ การประท้วงและการแกล้งเจ็บที่บางครั้งก็กินเวลากันหลายนาที ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่แฟนฟุตบอลไม่อยากเห็นก็จะหมดไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงขึ้นอยู่กับการสนับสนุนขององค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ FIFA ที่ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารกันอยู่เป็นประจำ ก็ไม่รู้ว่าเค้าจะให้ความสำคัญกับสิ่งเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับความใสสะอาดของเกมฟุตบอลหรือเปล่า

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม