Jose Mourinho

จิตวิทยาการคุมทีมฟุตบอล กับสุดยอดโค้ช Jose Mourinho

Jose Mourinho สุดยอดโค้ช

Jose Mourinho คุณเป็นแฟนบอลของเชลซีใช่ไหม ถ้าคำตอบคือ “ไม่ใช่” ผมเชื่อได้เลยว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่เหม็นหน้า José Mourinho อย่างแน่นอน แต่ถ้าคุณสนใจในเรื่องของจิตวิทยา คุณควรจะทึ่งกับ approach ที่เค้านำมาใช้กับวงการฟุตบอลเพราะเค้าเป็นที่ยอมรับของบรรดานักมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ว่าเป็นผู้จัดการทีมที่เก่งในด้านจิตวิทยามากที่สุดของโลก และนี่คือข้อแตกต่างที่ทำให้เค้า standout จากคนอื่นๆ อย่างชัดเจน

135106755_resize Mourinho เชื่อว่าสิ่งที่จะสร้างความแตกต่างให้กับ ชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ และเป็นสิ่งหนึ่งที่บรรดาโค้ชและผู้จัดการทีมฟุตบอลทั่วไปยังมองข้ามไปก็คือ จิตวิทยาที่จะถูกนำมาใช้ในการดึงเอาศักยภาพของนักกีฬาแต่ละคนมาให้ได้มากที่สุดและเค้าก็มีแนวคิดที่น่าสนใจในเรื่องนี้หลายๆ มุม แต่ผมขอเลือกที่ผมศึกษาและอ่านเจอ 2 ประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมาเล่าให้ฟัง

  1. Mourinho เลือกที่จะไม่ สั่ง ให้ลูกทีมเค้าทำอย่างที่ต้องการแต่ใช้หลักการที่เรียกว่า Guided Discovery ที่ผมอ่านแล้วคิดว่านี่คือวิธีคิดที่สุดยอดของโค้ชระดับโลกของจริง

“Players at this level don’t accept what they’re told simply because of the authority of the person who’s saying it. We have to show them that we’re right. I call it ‘guided discovery’; that is they discover according to my clues. I construct practice situations that will lead them on a certain path.”

  1. Mourinho เลือกที่ให้ทีมของเค้าประกอบไปด้วย “นักรบ” เป็น “ผู้รอดชีวิต” ที่แข็งแกร่งที่สุดที่ถูกคัดเลือกด้วยกระบวนการมาแล้ว และพร้อมจะสู้ถวายหัวร่วมกัน โดยจะสังเกตุได้ง่ายๆ ว่าเค้าจะไม่เคยเรียกลูกทีมว่า “boys” หรือ “lads” ที่เป็นศัพท์แสลงของอังกฤษเลย แต่เค้าเลือกที่จะใช้คำว่า “men” เพื่อให้เกียรติและยกระดับลูกทีมของเค้าทุกคน

“I only go to war with those I trust.” นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของ Mourinho ผู้จัดการทีมฟุตบอลที่ผมเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เข้ามา disrupt วงการฟุตบอลได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม