เรื่องมันเกิดขึ้นในบ่ายวันหนึ่ง…
ในขณะที่ ฟิลิปป์ สตาร์ค (Philippe Starck) ดีไซเนอร์ชื่อก้องชาวฝรั่งเศส กำลังพักกินมื้อเที่ยงอยู่ที่ชายฝั่งอามาลฟี ในประเทศอิตาลี เขาสั่ง Calamari หรือเมนูปลาหมึกมาบรรเทาความหิว ระหว่างที่รออาหาร เขาครุ่นคิดถึงหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก Alessi แบรนด์ดีไซน์ชั้นนำจากอิตาลี ที่ได้รับรางวัลด้านการออกแบบมากอย่างมากมาย หน้าที่ของเขาคือ นำพรสวรรค์ที่ไม่เหมือนใครของตน มาเปลี่ยนสิ่งของบ้านๆ ที่ดูซ้ำซากให้ดูมีเรื่องราว และน่าสนใจ
จนกระทั่งบริกรมาเสิร์ฟ เขาเหลือบไปดูที่ถาด และพบว่าไม่มีมะนาวอยู่บนนั้นด้วย ระหว่างที่โบกมือเรียกบริกรนั้นเองก็
ปิ๊ง…!
จู่ๆ ไอเดียก็ผุดขึ้นมา ฟิลิปป์ สตาร์ค รีบสเก็ตมันลวกๆ ลงบนผ้าเช็ดปากด้วยความตื่นเต้น
20 ปี ผ่านไป ปัจจุบันผ้าเช็ดปากผืนนั้นถูกเก็บไว้ที่ Alessi Museum คราบมัน และรอยเลอะของมะนาวบนผ้าเช็ดปากที่อยู่ในงานสเก็ตนั้น ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานดีไซน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นนึงของโลก
นั่นก็คือ Juicy Salif Lemon Squeezer
Alberto Alessi ผู้จัดการของบริษัท เล่าว่า ตอนที่เราได้รับผ้าเช็ดปากจากสตาร์ค มันเต็มไปด้วยรอยต่างๆ ที่ดูเข้าใจยาก และคราบซอส แต่มันก็มีภาพสเก็ตอยู่ มันเป็นภาพสเก็ตรูปปลาหมึก หลังจากนั้นพวกเราเริ่มลงมือทำมัน จากที่ทำผิดรูปร่างไปบ้างในช่วงแรก ในที่สุดมันก็กลายมาเป็น Juicy Salif Lemon Squeezer ในที่สุด
ของล็อตแรกที่ถูกผลิตขึ้นในปี 1990 การมาของมันนำมาซึ่งการถกเถียงอย่างมากมาย เกี่ยวกับงานดีไซน์หลายๆ ชิ้นที่ผ่านมาของ ฟิลลิปป์ สตาร์ค บางคนบอกว่าใช้ไม่ดี บางคนก็บอกว่าทำให้โต๊ะทำงานยุ่งเหยิง บ้างก็ชื่นชมดีไซน์มากกว่าฟังก์ชันการใช้งาน แต่ไม่ว่าใครจะคิดยังไง เจ้าเครื่องคั้นเลมอนนี้ ก็กลายมาเป็นของยอดฮิตในที่สุด พิพิธภัณฑ์ศิลปะในนิวยอร์คถึงกับขนานนามมันว่าเป็น “งานศิลปะในครัว”
มีข่าวลือหนาหูว่า ฟิลิปป์ สตาร์ค พูดถึงผลงานตัวเองว่า “มันไม่ได้มีไว้เพื่อบีบมะนาว แต่มีไว้เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเปิดบทสนทนากันเท่านั้นแหละ”
ข่าวลือที่ว่า ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ เจ้าที่คั้นเลมอนนี้ ได้ย่นระยะห่างระหว่างงานศิลปะ และของใช้ ให้เหลือแค่เส้นบางๆ เท่านั้น สำหรับใครที่อยากเห็นของจริง ก็สามารถตามไปดูกันได้ที่ SALES GALLERY โครงการคอนโดมิเนียม KHUN by YOO ที่ชั้น 4 J-AVENUE ลงทะเบียนเยี่ยมชมได้ ที่นี่ เลย