เรื่องเล่าเหล่ามนุษย์เป็ด

ก่อนหน้าผมได้เชิญเด็กรุ่นใหม่สองคน อย่างน้องหมูแฮม Gen Z ที่กำลังจะจบปริญญาตรี กับน้องแสนดี Gen Alpha ที่กำลังเรียนชั้นมัธยมต้น รร นานาชาติ มานั่งคุยอัด podcast ด้วยกัน จังหวะนึงน้องเค้าพูดถึง “มนุษย์เป็ด” ขึ้นมา เราก็ชะงักไปนิดสิครับ ต้องออกปากถามว่าคืออะไร (สงสัยผมอายุมากเกินไปหรือเปล่าไม่รู้!) ต้องให้เด็กๆ เค้าอธิบายให้ฟังครับ

ก็เลยเข้าใจว่าเจ้า “มนุษย์เป็ด” หรือที่ภาษาฝรั่งเค้าใช้คำว่า Jack of all trades หมายถึงคนประเภทที่ “ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่สุดสักอย่าง” เอาล่ะสิครับ เราเป็นผู้นำองค์กรสมองก็เลยผุดคำถามขึ้นมาทันใดว่าในยุคปัจจุบันต่อไปอนาคต คนประเภทไหนที่จะเป็นที่ต้องการมากกว่าในตลาดงาน ระหว่าง มนุษย์เป็ด กับ specialist สายวิชาชีพที่เชี่ยวเฉพาะ

สายวิชาชีพเฉพาะเค้ามีความออริจินัลที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ตำรา The Wealth of Nations ของนักเศรษฐศาสตร์ระดับตำนาน Adam Smith ที่พูดถึงหลักกาาร “division of labour” หรือการแบ่งงานกันทำเพื่อให้มีผลผลิตสูงขึ้น ยกตัวอย่างกรณีศึกษาคลาสสิคอย่างสายการผลิตรถยนต์ Model T ของฟอร์ดในยุคต้นศตวรรษที่ 20 และแนวคิดนี้ก็ถูกมองเป็นแม่แบบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันฟาก “มนุษย์เป็ด” ก็อาจมองว่าตัวเองได้เปรียบในยุคที่ตลาดงานสมัยนี้มองหาคนสไตล์ multi-tasking ทำอะไรก็ได้มาช่วยงานให้คุ้มที่สุดกับค่าจ้างจะไปเอาคนที่เก่งเฉพาะทางทำไม

แล้วคนประเภทไหนจะหางานได้ง่ายกว่ากันในอนาคต? เอาจากที่ผมอ่านๆ และเริ่มมองเห็นผลกระทบในเชิงเทคโนโลยีนะ มีอยู่ 2 เรื่องที่ผมคิดว่ามีนัยยะสำคัญกับคำถามข้างต้น

อย่างแรกคือความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่สายวิชาชีพเฉพาะทางหลายคนน่าจะต้องมองให้ขาด เราเริ่มเห็นหุ่นยนต์แทนที่แรงงานคนในสายพานการผลิต ชงกาแฟแทนบาริสต้า ผ่าตัดแทนศัลยแพทย์ ฯลฯ หรืออย่างนักวิเคราะห์ตัวเลขของกองทุนต่างๆ ก็เริ่มถูกปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำหน้าที่แทนแล้วก็ไม่น้อย ซึ่งทักษะพวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสายวิชาชีพเฉพาะทั้งนั้น มองไปอีก 5 ปีข้างหน้าผมว่าตลาดงานจะพลิกอย่างน่าสนใจทีเดียว ระหว่างสายวิชาชีพเฉพาะหรือมนุษย์เป็ด ใครจะเป็นคนทำงานคู่กับเจ้าเทคโนโลยีพวกนี้แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่ากัน นี่คือประเด็น

อีกอย่างที่จะพูดถึงคือเจ้าอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นี่แหละครับที่่กำลังทำให้คนประเภทสายวิชาชีพเฉพาะเริ่มกลายพันธ์มา multi-tasking มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เดี๋ยวนี้เครื่องมือ แอพพลิเคชั่น และแพล็ตฟอร์มต่างๆ ทำให้งานจุกจิกเช่นการติดต่อทำนัด การค้นข้อมูล แปลภาษา ตัดต่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว คิดภาษี ฯลฯ กลายเป็นงานที่ใครๆ ก็ทำได้เพราะมีเครื่องมือพวกนี้เป็นตัวช่วย ถ้าหากศัลยแพทย์ บาริสต้า นักวิเคราะห์กองทุนเกิดอยากประหยัดเงิน อยาก multi-task กับเค้าบ้างและเลือกที่จะทำหลายๆ เรื่องด้วยตัวเอง เวลาที่จะไปใช้สร้างสรรค์เทคนิคชงกาแฟใหม่ๆ หาวิธีรักษาโรคด้วยวิธีใหม่ๆ ก็น้อยลงสิครับ ความเก่งกาจเฉพาะด้านไม่ทวีคูณคุณค่าอย่างที่ควรจะเป็น

ในทางกลับกัน บทเรียน คอนเทนต์ ที่ถูกสร้างอยู่ในโลกออนไลน์ กำลังทำให้ “มนุษย์เป็ด” มีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะเฉพาะใหม่ๆ ได้ทดลองทำมากขึ้น (ก็คงไม่ได้ถึงขั้นผ่าตัดเป็นหรอกนะครับ) แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือช่องว่างทางทักษะเฉพาะระหว่างความเป็นสายวิชาชีพเฉพาะกับมนุษย์เป็ดก็จะลดลงไปเรื่อยๆ หรือไม่

คุณผู้อ่านที่เป็นมนุษย์เป็ดหรือสายวิชาชีพเฉพาะมีความคิดยังไงครับ? กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอันจะส่งผลต่อเรื่องการจ้างงานลองแชร์กันมาได้ เผื่อเอาเป็นหัวข้อสนทนาครั้งต่อไป

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม