Olympics Paris ในรอบ 100 ปี
สะท้อนประวัติศาสตร์ การออกแบบ
ความเท่าเทียมและสิ่งแวดล้อม

การแข่งขันกีฬาระดับโลกสุดยิ่งใหญ่อย่างโอลิมปิกกลับมาแล้วกับสี่ปีที่เรานักกีฬาและคนที่ชื่นชอบกีฬา ลอยคอ…รอคอย หลังจากประเทศฝรั่งเศสได้รับการส่งไม้ต่อจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีก่อน กับการกลับมาจัดการแข่งขันโอลิมปิกอีกครั้งในรอบ 100 ปี ของประเทศฝรั่งเศส จะมีความพิเศษและยิ่งใหญ่ขนาดไหน 

Olympics Paris 2024

วันนี้ Sansiri blog จะมาเล่าถึงต้นกำเนิดของโอลิมปิก การออกแบบที่สะท้อนความเป็นฝรั่งเศส ความเท่าเทียม และการจัดงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนฟังกันค่ะ

กรีกต้นกำเนิดโอลิมปิก

โอลิมปิกจัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกในยุคกรีกโบราณ โดยจะเน้นการแข่งขันกีฬาประเภทกรีฑา รวมถึงจะมีการแข่งขันรถม้าและต่อสู้อีกด้วย ในยุคนั้นผู้เข้าแข่งขันกีฬาต้องเปลือยกายและเป็นผู้ชายเท่านั้น ต่อมามีการปรับให้มีกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ มวยปล้ำ วิ่ง กระโดด ขว้างจักรและพุ่งแหลน การจัดแข่งขันโอลิมปิกมีต่อเนื่องมาประมาณ 1200 ปี จนกระทั่ง ค.ศ. 393 กีฬาโอลิมปิกถูกยกเลิกไปกว่า 15 ทศวรรษ เพราะเหตุผลทางศาสนา การเล่นพนัน และมีการว่าจ้างนักกีฬาลงแข่งขันโอลิมปิกเพื่อเอาเงินรางวัล ฯลฯ 

ต่อมาการแข่งขันโอลิมปิกกลับมาจัดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1896 ที่ประเทศกรีซ กรุงเอเธนส์ นั่นเอง โดยครั้งแรกที่กลับมาจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเพียง 15 ประเทศ หลังจากนั้นประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกในทุกๆ 4 ปีจวบจนปัจจุบัน

“ฝรั่งเศส” กลับมาจัดโอลิมปิกในรอบ 100 ปี

Olympics 2024 ได้วนมาจากอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 33  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำให้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งคือ Paris 2024 การที่ประเทศฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 

โดยครั้งแรกฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 1900  ในปีนั้นได้มีการให้ผู้หญิงลงแข่งกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกและครั้งที่สองในปี ค.ศ.1924 โดยในปีนั้นได้สร้างหมู่บ้านโอลิมปิกในฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก จะเห็นได้ว่าประเทศฝรั่งเศสกลับมาจัดการแข่งขันโอลิมปิกในรอบ 100 ปี การจัดแข่งกีฬาโอลิมปิกจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม 2024 – 11 สิงหาคม 2024 โดยปีนี้มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 32 ชนิด และมีเหรียญทั้งหมด 329 เหรียญ ที่นักกีฬาผู้ที่ได้รับชัยชนะจะได้ครอบครองนั่นเอง

Paris 2024 นอกจากจะมีการแข่งกีฬาแล้วยังมีการผสมผสานวัฒนธรรมความเป็นปารีสเซียนเข้ากันอีกด้วย โดยคอนเซ็ปต์ของงานในปีนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความงดงาม การให้ชุมชนโดยรอบเข้ามามีส่วนร่วมและหลอมรวมอดีตเข้ากับปัจจุบัน เพื่อส่งต่อถึงอนาคตสู่ความยั่งยืนของประเทศฝรั่งเศส ให้ทั่วโลกได้รับรู้อีกด้วย 

การออกแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงความเท่าเทียม

โลโก้โอลิมปิกปารีส 2024

โลโก้โอลิมปิกปารีส 2024 ถูกออกแบบโดย มาธิเยอ เลออันเนอร์ (Mathieu Lehanneur) ดีไซเนอร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซึ่งในโลโก้จะประกอบไปด้วย 3 สัญลักษณ์ดังนี้ 

เหรียญทอง หมายถึง ชัยชนะการประสบความสำเร็จ

เปลวไฟ หมายถึง ความมุ่งมั่น ความหวัง ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

มาเรียน (Marianne) หมายถึง สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ ความเท่าเทียมและภราดรภาพ 

โปสเตอร์โอลิมปิกปารีส 2024

โปสเตอร์โอลิมปิกปารีส 2024 ถูกออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ “Games wide open” โดยมีการสื่อถึงเอกลักษณ์ที่เป็นมนต์เสน่ห์ของประเทศฝรั่งเศสไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น หอไอเฟล แม่น้ำแซน ประตูชัย ฯลฯ รวมถึงการมีคนในภาพถึง 40,000 คน โดยมีเพศชายเพศหญิงเท่ากันเพื่อสื่อให้เห็นถึงความเท่าเทียมอีกด้วย 

โดยผู้ออกแบบรังสรรค์โปสเตอร์นี้ มีชื่อว่า Ugo Gatton เป็นนักวาดภาพประกอบชาวฝรั่งเศส ที่มีสไตล์การวาดเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง 

ภาพนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเมืองปารีสผสมผสานกับการแข่งกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยโปสเตอร์ดังกล่าวจะมีทั้งแบบกลางวันและกลางคืน

“ฟรีจีส”  มาสคอตโอลิมปิกปารีส 2024

มาสคอตโอลิมปิก ปารีส 2024 มีชื่อว่า “ฟรีจีส” (Phryge)   มาสคอตได้รับแรงบันดาลใจมาจากหมวกของชาวฟรีเจียที่สวมใส่ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพและประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส

รวมถึงยังมีมาสคอต“ฟรีจีส”ที่ใส่รันนิ่งเบลดหรือขาเทียมช่วยวิ่ง ถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหว สำหรับการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมอีกด้วย 

มาสคอตยังมีคติประจำใจ คือ “ไปคนเดียวไปได้เร็วกว่า แต่ถ้าร่วมมือกันเราจะไปได้ไกลกว่า” ที่สื่อให้เห็นถึงความสามัคคีอีกด้วย

คบเพลิงโอลิมปิกปารีส 2024

คบเพลิงโอลิมปิก 2024 ออกแบบโดยมาธิเยอ เลออันเนอร์ (Mathieu Lehanneur) นักออกแบบชาวฝรั่งเศส โดยมีแนวคิด คือ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม น้ำ สันติภาพ ซึ่งสื่อความหมายได้ดังนี้

ความเสมอภาคและความเท่าเทียม คบเพลิงมีรูปทรงสมมาตรกันทั้งแนวตั้งแนวนอนสื่อให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันของทุกคน การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มีนักกีฬาทั้งชายและหญิงเท่ากันอีกด้วย

น้ำและสันติภาพ  ออกแบบคบเพลิงส่วนล่างโดยใช้แท่งเหล็กให้มีลักษณะคล้ายริ้วคลื่น ของแม่น้ำแซน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญของฝรั่งเศส 

สันติภาพ ตัวคบเพลิงจะมีลักษณะโค้งมน สื่อให้เห็นถึงสันติภาพ ความสงบสุขและความอ่อนโยน ซึ่งหมายรวมถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความสามัคคี 

นอกจากนี้ยังมีการออกแบบให้ปลายคบเพลิง เหมือนกับเปลวไฟที่ลุกโชน สื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ความหวัง และพลังนั่นเอง อีกทั้งการทำคบเพลิงยังคำนึงถึงความยั่งยืนเพราะใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำ เช่น เหล็ก หินอ่อน และไม้โอ๊ค ซึ่งเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยคบเพลิงนี้จะผลิตประมาณ 2,000 อัน เพื่อใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกปีนี้เท่านั้น โดยถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ออกแบบให้ทั้งโลโก้ โปสเตอร์ มาสคอต คบเพลิง ใช้ร่วมกันทั้งโอลิมปิกเกมและพาราลิมปิกเกมนั่นเอง

ล่องเรือแทนการเดินพาเหรดในพิธีโอลิมปิก

ในอดีตพิธีเปิดกิฬาโอลิมปิกทุกครั้ง จะเป็นการเดินพาเหรดของเหล่านักกีฬาในสนาม แต่โอลิมปิกที่ปารีสครั้งนี้มีความพิเศษที่แตกต่างออกไปจากทุกปี โดยปีนี้เหล่านักกีฬาจะล่องเรือในแม่น้ำแซน ใจกลางกรุงปารีสด้วยระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นค่อยมารวมตัวการในสนามกีฬา “ทรอกาเดโร” เพื่อจุดไฟคบเพลิงโอลิมปิก สำหรับเหตุผลที่เปลี่ยนจากการเดินพาเหรดมาล่องเรือ เพราะอยากให้ทุกคนได้ชมพิธีเปิดอย่างทั่วถึงโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนั่นเอง 

โอลิมปิกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาทางเจ้าภาพต้องการ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้มากกว่าครึ่งของการจัดโอลิมปิกครั้งที่แล้ว โดยการลดการก่อสร้าง ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วหรือการสร้างขึ้นมาชั่วคราว โดยใช้สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วถึง 95% เลยทีเดียว เช่น สนามกีฬา Stade de France ซึ่งเดิมสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1998 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสนามหลักที่ใช้ในการจัดโอลิมปิกครั้งนี้

โดยการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ประเทศฝรั่งเศสได้สร้างสนามกีฬาขึ้นใหม่เพียงแห่งเดียว มีชื่อว่า ศูนย์กีฬาทางน้ำแซ็งต์เดอนี โดยมีส่วนที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติและ ตกแต่งด้วยวัสดุรีไซเคิล อีกทั้งสนามกีฬาแห่งนี้ยังใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์อีกด้วย

โอลิมปิกครั้งนี้ยังมีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาขึ้นใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างผสมผสานความยั่งยืนกับชุมชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ จะเน้นการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในหมู่บ้านโอลิมปิกมีการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นพื้นที่เปิดโล่งรับแสงเชื่อมต่อกับพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงยังมีพื้นที่สีเขียวภายในหมู่บ้านและมีการใช้ยานพาหนะที่เป็นพลังงานสะอาด รวมถึงหากจบการแข่งขันโอลิมปิก หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นที่อยู่อาศัยและสำนักงานเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ความพิเศษของการจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ในปีนี้จะให้ได้ว่าทางเจ้าภาพให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม การเข้าถึงทุกคนชุมชนโดยรอบ และความยั่งยืนเป็นอย่างมาก และนี่คงเป็นเสน่ห์ของการจัดแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 ในครั้งนี้นั่นเองค่ะ


Source

https://olympics.com/ioc/news/new-paris-2024-slogan-games-wide-open-welcomed-by-ioc-president 

https://www.facebook.com/story.php?id=100050368484911&story_fbid=1105913064430966

https://www.bbc.com/sport/articles/cz99g6g8m92o 

https://olympics.com/en/news/the-history-of-the-olympic-games 

https://www.thaipbs.or.th/news/content/341946 

https://www.dezeen.com/2023/07/25/paris-2024-torch-olympic-paralympic-games-mathieu-lehanneur/ 

https://www.bbc.com/thai/articles/cv2jldzm4mmo

https://www.pptvhd36.com/sport/news/228603 

https://www.designboom.com/design/mathieu-lehanneur-paris-2024-torch-steel-seine-river-07-25-2023/ 

https://www.tnnthailand.com/news/tech/169181/ 

https://www.marketingoops.com/campaigns/design/design-logo-paris-2024/ 

https://www.designboom.com/art/paris-2024-intricate-iconic-posters-olympic-paralympic-games-ugo-gattoni-03-06-2024/ 

https://www.reuters.com/sports/paris-2024-unveils-surrealistic-official-posters-2024-03-04/ 

https://olympics.com/en/paris-2024/the-games/the-brand/iconic-posters 

Related Articles

Paralympic

Paralympic 2024 การก้าวข้ามขีดจำกัดของคนพิการสู่การแข่งขันกีฬาระดับโลก

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าคนพิการก็เล่นกีฬาได้นะ หลายปีที่ผ่านมาได้มีการจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้จัดที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส วันนี้ Sansiri blog จะมาเล่าถึงการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก สัญลักษณ์พาราลิมปิก ต้นกำเนิดของพาราลิมปิก กีฬาที่ผู้พิการเล่นได้ การออกแบบหมู่บ้านนักกีฬาและการปรับสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของนักกีฬาพาราลิมปิกให้ฟังกันค่ะ ทุกคนคงเคยได้ยินการแข่งกีฬาพาราลิมปิกผ่านหูกันบ้างใช่ไหมละคะ และรู้ไหมว่ากีฬาพาราลิมปิกเกมส์คืออะไร? พาราลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาสำหรับผู้พิการโดยส่วนมากจะเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางสติปัญญา โดยองค์กรที่จัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกมีชื่อว่าพาราลิมปิกสากล (IPC) ในปัจจุบันพาราลิมปิกสากลจะจัดภายหลังจากการแข่งขันโอลิมปิกจบลง

versailles Olympics Paris 2024

พระราชวังแวร์ซายจากตำนานราชวงศ์สู่สนามแข่งระดับโลก

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่ถือเป็นไอคอนนิคของประเทศฝรั่งเศส หนึ่งในลิสต์ที่ทุกคนพูดถึงคงหนีไม่พ้นพระราชวังแวร์ซาย และทุกคนรู้ไหมว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ใช้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ด้วยนะ ซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแข่งม้าที่สวยงามไม่แพ้กับสนามกีฬา Eiffel Tower Stadium หรือ Place de la Concorde ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดเลยนะ วันนี้ Sansiri Blog

Olympics

OLYMPIC GAMES Paris 2024 เล่าเรื่องราวของการดีไซน์ในเมืองศิลปะ ผ่านการจัดงานแข่งกีฬาระดับโลก

Paris2024 ที่นี่ “ปารีส” มหานครแห่งศิลปะ สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 33 หรือ “Paris 2024”  การกลับมาในฐานะเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง หลังผ่านไป 100 ปี งานนี้ทางฝรั่งเศสนั้นเรียกได้ว่าทุ่มสุดตัวจริงๆ ทำให้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างผ่านการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน“เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” คำขวัญประจำชาติของฝรั่งเศสได้ถูกนำมาเรียงร้อยไปในการออกแบบและจัดงานอย่างกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็น