พรีเมียร์ลีกฉบับโควิด-19 
จ่ายไม่จ่าย?

สื่อดาวรุ่งที่กำลังมาแรงอย่าง The Athletic จะมีรายงานออกมาว่า พรีเมียร์ลีกของอังกฤษ อาจจะมีการประกาศ “โมฆะ” การแข่งขันฤดูกาลนี้ จนแฟนๆ ลิเวอร์พูลอาจจะหงายหน้า ไม่อยากเชื่อ

แต่มันก็มีเค้าว่าจะเป็นจริง เมื่อ อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน นายใหญ่ของยูฟ่า ก็ออกมา “โยนหินถามทาง” กับไอเดียนี้

ทว่านี่ไม่ใช่ทางออกที่ใครจะทำได้โดยง่าย แม้แต่ฟีฟ่า !

ไม่ง่ายเพราะว่า พรีเมียร์ลีกเป็นแบรนด์ที่ผลประโยชน์ ถูกมัดล้อมทั้งหน้าและหลัง อย่างยากจะตัดสินอะไรง่ายๆ ทางออกเดียวคือ ต้องรอไปจนกว่าโลกจะดีขึ้น ไม่ดีก็ต้องรอ… เพราะมองไม่เห็นเลยว่า การจะตัดจบ หรือยกเลิกจะทำได้อย่างไร

และเมื่อลองยกหูสัมภาษณ์คุยกับวงในจริงๆ แล้ว จะพบได้ว่า การยกเลิกก็ต้องเกิดได้เพียงประการเดียวคือ โควิด ลุกลามไปทั่วอย่างต่อเนื่องหลายๆ เดือน จนไม่มีทีท่าว่าจะสงบ

โคโรนาไวรัส
ภาพจาก insider

ที่น่าห่วงมากกว่าคือ คำถามที่พนักงาน สตาฟ รปภ. หรือเจ้าหน้าที่สโมสรต่างๆ ต้องการรู้ว่า พวกเขาจะทำอย่างไรหากไม่มีเกมแข่ง 2-3 เดือนแบบนี้ หลายคนอาจไม่ทราบว่า คนทำงานที่เราเห็นเดินไปเดินมา วิ่งไปวิ่งมา ระหว่างวันแข่งนั้น ไม่ใช่พนักงานประจำ เป็นเพียงงานจ็อบ หรือมีสถานะเป็นฟรีแลนซ์

บางทีมยินดีจะจ่ายให้ บางสโมสรเงียบ…

หลายคนอยากได้ยินคำตอบ

สื่อดังสำนักหนึ่งจึงโทรไปถามทีมต่างๆ ในพรีเมียร์ลีก ว่าพวกเขามีทางออกอย่างไร และนี่คือ คำตอบ

สื่ออังกฤษบอกว่า  สโมสรในพรีเมียร์ลีกทำอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือพนักงานของสโมสรในช่วงวันธรรมดาและวันที่มีการแข่งขันระหว่างการระบาดของโรค “โคโรนาไวรัส” ซึ่งได้ทำลายตารางแข่งขัน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การทำลายวิถีชีวิตของพนักงานที่ทำงานอยู่ด้วย Melissa Reddy นักข่าวสาวจึงไปทำการสืบหาสิ่งที่สโมสรพรีเมียร์ลีกกำลังทำ เพื่อปกป้องดูแลคนงาน

“ลูกชาย 7 ขวบฉันชอบบอลมาก ถามฉันว่า เมื่อไหร่จะได้ดูบอลอีก เขาจะดูเกมได้อีกครั้งเมื่อไหร่ ขณะเดียวกัน เขาถามฉันว่า ฉันจะยังมีงานอยู่หรือเปล่า ความจริงคือฉันเองก็ไม่รู้ แต่ฉันเองก็เศร้าใจที่จะบอกเขาว่า “หลังจากนี้พรีเมียร์ลีกจะถูกระงับในสหราชอาณาจักร เนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส ขณะเดียวกับที่ยังไม่มีความชัดเจนเลยว่าจะยังคงได้ทำงานในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้”

โคโรนาไวรัส
ภาพจาก CNBC

“สำหรับพวกเราหลายคนที่ทำงานในวงการฟุตบอล มันไม่ได้เกี่ยวกับการสูญเสียของเกมแข่ง แต่เป็นเรื่องของการดำรงชีวิตของเรา ความวิตกกังวลนี้จำเป็นต้องบอกลูกชายของฉันเหรอ? ”

ผลของการหยุดแข่งนี้ ส่งผลต่อทุกๆ คนในสโมสร หากคุณเคยมีประสบการณ์เดินทางไปชมที่สนาม คุณจะได้รับการดูแลโดยเจ้าหน้าที่การแข่งขัน  เจ้าหน้าที่ช่วยคุณหาที่นั่งของคุณ และ Stewards ดูแลความปลอดภัยของคุณ ซึ่งหากไม่มีเกม งานของเขาเหล่านี้ก็ไม่มี รายได้สโมสรก็ไม่เกิด การที่เขาไม่มีรายได้ มันเป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ทำให้ทุกองค์ประกอบของฟุตบอลยืดเยื้อไปถึง เหล่าบรรดาคนงานชั่วคราว ที่ไม่ผูกติดกับ matchday เช่นกัน ผนง.ทำความสะอาด รปภ. พนักงาน store สโมสร พนักงานขับรถ พวกเขาจะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Citizens UK หน่วยงานของภาครัฐ ได้เน้นว่า แม้จะมีสโมสรในพรีเมียร์ลีกที่ทำรายได้รวมกันอยู่ที่ 4.2 พันล้านปอนด์ในปี 2018 แต่ 42% ของคนงานทั้งหมด ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงจริงโดยสมัครใจ มีเพียงสโมสรคริสตัลพาเลซ เชลซี เอฟเวอร์ตัน ลิเวอร์พูลและเวสต์แฮมเท่านั้น ที่ได้รับการรับรองจากมูลนิธิ Living Wage Foundation ให้จ่ายเงินให้กับพนักงานทุกคนและพนักงานสัญญาบุคคลที่สามใดๆ ที่สูงกว่าตัวเลข 8.21 ปอนด์ต่อชั่วโมง ด้วยความหวังตอนนี้สโมสรชั้นนำหลายแห่งที่มีความพร้อมทางการเงิน จะช่วยเหลือพนักงานในอุตสาหกรรมฟุตบอลนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

โคโรนาไวรัส กับทิศทางการรับมือของแต่ละสโมสร

ผู้บริหารหลายคนแสดงความปรารถนาที่จะ “ทำหน้าที่รับผิดชอบในเวลาที่ย่ำแย่เช่นนี้” และ “พยายามที่จะดูแลพนักงานเหล่านี้เราพิจารณาถึงความสำคัญต่อการดำเนินงานของเรา”  ไบร์ตันได้ริเริ่มเป็นผู้นำโดยการ “ตัดสินใจเป็นสโมสรที่จะจ่ายเงินส่วนใหญ่ให้กับทีมงานของเราในช่วงเวลาที่เหลือของฤดูกาล” ไม่ว่าการแข่งขันของพวกเขาจะมีหรือไม่ก็ตาม วูล์ฟส์แฮมตัน ยังคงจ่ายค่าตอบแทนกับพนักงานกลุ่มที่ไม่มีการแข่งขัน

ส่วนพนักงานช่วงวันแข่ง สโมสรจะชะลอการจ่ายเงินจนกว่าเกมจะเกิดขึ้น แต่พวกเขาวางแผนที่จะชดเชยพวกเขาหากสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น พาเลซได้ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ที่ถูกเกณฑ์มาทำงานวัน matchday ที่เหลือนั้น “จะไม่เสียเปรียบด้านค่าจ้าง” แต่ละสโมสรพรีเมียร์ลีกจะเป็นอิสระในการดูแลพนักงานทั้งแบบพนักงานประจำ และพนักงานชั่วคราวในช่วง matchday โดยนโยบายของแต่ละสโมสรในพรีเมียร์ลีก มีดังนี้

อาร์เซนอล

สโมสรจะจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับคนงานและคนทำงานแบบ matchday ในวันที่ 30 เมษายน 2020 และประเมินสถานการณ์ต่อไปหากมีการพักงานมากขึ้น

แอสตันวิลล่า

ในสถานการณ์ที่เปลื่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ มันเป็นเรื่องยากสำหรับสโมสรที่จะให้คำตอบในทันที แต่จะมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ประจำวันในระดับผู้บริหาร

บอร์นมัธ

สโมสรกำลังพูดถึง การหาทางออกแผนการณ์ที่ไม่ปกตินี้

covid-19-football-sansiri-blog2-โคโรนาไวรัส

ไบรท์ตันฯ

ตัดสินใจเป็นสโมสรที่จะจ่ายเงินให้กับทีมงานในช่วงที่เหลือของฤดูกาล ไม่ว่าจะเล่นเกมพรีเมียร์ลีกที่เหลือหรือไม่ “สโมสรรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ ไม่ว่าเราจะเล่นเกมแบบเปิดหรือปิด นั่นเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้ คนส่วนใหญ่ที่จ้างคือ คนในท้องถิ่น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สโมสรต้องสนับสนุนพวกเขา และผ่านเศรษฐกิจท้องถิ่นในช่วงเวลาที่ยากลำบาก และหวังว่าจะให้ความมั่นใจแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขายังมีรายได้จากสโมสรถึงมือ”

เบิร์นลี่ย์

สโมสรจะจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงานทั้งในวันธรรมดาและวัน matchday แม้ในช่วงปิดการแข่งขันฟุตบอลก็ตาม นอกจากนี้ยังนำไปใช้กับคนงานชั่วคราวที่สโมสร Burnley FC ด้วย

เชลซี

ไม่มีความคิดเห็นในขณะนี้

คริสตัล พาเลซ

จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกฏหมายให้กับเจ้าหน้าที่สโมสรที่ป่วย COVID-19 ในช่วงวิกฤตินี้ นอกจากนี้ยังจ่ายค่าจ้างให้เจ้าหน้าที่สโมสรตามปกติ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทางการเงินต่อเจ้าหน้าที่ของสโมสรด้วย

เอฟเวอร์ตัน

จ่ายเงินให้คนงานที่ทำงานประจำ และคนงาน matchday เนื่องจากวิกฤต coronavirus คนงาน matchday ทุกคนจะได้รับเงินสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของพรีเมียร์ลีกตามเงื่อนไขการมีส่วนร่วมและความถี่ของการทำงานที่ทำไปก่อนหน้านี้ คนงาน Matchday ที่ไม่เป็นทางการ จะได้รับเงินสำหรับการแข่งขันที่ได้รับการกำหนดตารางแข่งใหม่ เมื่อฤดูกาลดำเนินการต่อ  คนงานชั่วคราวจะได้รับค่าจ้างอย่างน้อยในเดือนถัดไปตามเงื่อนไขการว่าจ้างและความถี่ในการทำงานที่ผ่านมา

เลสเตอร์ซิตี้

สโมสรไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในปัจจุบัน

covid-19-football-sansiri-blog3-โคโรนาไวรัส
ภาพจาก SBNATION

ลิเวอร์พูล

สโมสรจะยังคงจ่ายเงินให้คนงานชั่วคราวในวันแข่งขัน สำหรับการแข่งขัน 3 นัดในบ้านจนถึงวันที่ 30 เมษายน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยของโปรแกรมตาม จำนวนของเกมลีกที่ทำงานในฤดูกาลนี้  โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ £200 – £250k ต่อ 1 แมตช์ เจ้าหน้าที่ประจำสโมสรจะยังคงได้รับค่าจ้างโดยเฉลื่ยในช่วงเวลาเดียวกันตามปกติ

แมนซิตี้

แมนเชสเตอร์ซิตี้ ลูกจ้างประจำจะได้รับเงินเต็มจำนวนสำหรับการแข่งขันที่พวกเขาต้องทำงาน  พวกเขายังจะได้รับเงินรายได้ตามสัดส่วนในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาจากการแข่งขันในลีกที่เหลืออีกห้าครั้งด้วย

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

สโมสรยืนยันว่าจะจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงานทุกคนทั้งพนักงานประจำและ matchday แม้ว่าจะไม่มีการแข่งขันแล้วก็ตาม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มุ่งที่จะลดความไม่แน่นอนทางการเงินที่ต้องเผชิญกับแรงงานทุกคนที่ทำงานให้สโมสรในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา

นิวคาสเซิ่ล

ไม่มีความคิดเห็น

นอริชซิตี้

ไม่มีความคิดเห็น

เซาแธมป์ตัน

สโมสรกำลังทำงานใกล้ชิด ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในปัจจุบัน

ท็อตแนม ฮ็อทสเปอร์

สเปอร์สได้ว่าจ้างให้กับเอเจนซี่และผู้รับเหมาเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องรายได้สำหรับพนักงาน matchday ส่วนพนักงานประจำจ่ายค่าแรงตามปกติ

เวสต์แฮม ยูไนเต็ด

ไม่มีความเห็น

วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส

สโมสรกำลังจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานประจำตราบใดที่ยังมาทำงาน ส่วนพนักงาน matchday Wolves จะชะลอการจ่ายเงินจนกว่าเกมจะเกิดขึ้น แต่พวกเขาวางแผนที่จะชดเชยพวกเขาหากสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น

ล่าสุด – ก่อนเขียนต้นฉบับนี้ไม่ถึง 2 ชั่วโมง หลายสโมสรมีไอเดียที่จะ “ประนีประนอม” กับนักเตะ ด้วยการขอลดค่าจ้างลง โดยพรีเมียร์ลีกขอเริ่มก่อนที่ ขอลด 20% สำหรับนักเตะทุกคนทุกทีม ในขณะที่ลีกรองๆ ลงไป ขอลดแบบขั้นบันได 10-50 % ตามเรทค่าจ้าง

“หวังว่า ฟุตบอลจะกลับมาเตะได้ภายในเดือนมิถุนายน ถ้าเลยไปกว่านี้ นึกภาพไม่ออกเลยว่า จะเป็นอย่างไร” เจ้าของทีมฟุตบอลคนหนึ่ง บอกไว้…

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ