'Design ต่าง สร้าง Value'
ลงทุนในอสังหาฯ คือการลงทุนในความสุข
กับ อู้ พหลโยธิน

ถ้าถามว่าอะไรที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอสังหาริมทรัพย์ คำตอบก็คือ ดีไซน์ ซึ่งนอกจากความสวยงามโดดเด่นแล้ว แนวคิด กระบวนการ รายละเอียดปลีกย่อยในการดีไซน์ ยังเป็นตัวเพิ่ม Value ให้กับอสังหาฯ ได้อีกด้วย ใครที่สนใจด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อต่อยอดเป็นมูลค่าให้กับตัวเองในระยะยาว หรือคนที่กำลังมองหาคำตอบของการลงทุนว่าแท้จริงแล้วสิ่งไหนคือความสุขที่ได้รับ

‘อู้ พหลโยธิน’ ประธานบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ หรือ Chief Creative Officer (CCO) ผู้มีหน้าที่หลักในการรังสรรค์อัตลักษณ์ของแสนสิริให้โดดเด่น คุณอู้เป็นนักออกแบบสัญชาติไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก เคยฝากผลงานออกแบบทั้งโครงการที่พักอาศัย ร้านอาหาร เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งในเอเชีย อเมริกา ยุโรป เคยเปิดสตูดิโอออกแบบของตนเองชื่อ OU BAHOLYODHIN Studio (OBS) ณ กลางกรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ยังร่วมถ่ายทอดผลงานผ่านนิทรรศการต่างๆ เช่น AXIS Gallery กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นอาจารย์รับเชิญด้านการออกแบบที่สถาบันชื่อดังของประเทศฝรั่งเศส อย่าง The Ecole des Beaux Arts in Saint- Etienne และ The British Council ประเทศไทย

และ Sansiri Prop Culture EP.2 นี้จะชวนมาพูดคุยในหัวข้อ “Design ต่างที่สร้าง Value” ให้การลงทุนอสังหาริมทรัพย์คุ้มค่า และค้นพบแรงบันดาลใจดีๆ ผ่านแนวคิดของนักสร้างสรรค์ที่ฝากผลงานระดับโลกมาแล้วมากมาย ผู้ที่มีประสบการณ์มองเห็น สัมผัสใกล้ชิด อยู่อาศัย เคยได้ใช้ชีวิตในพื้นที่ที่ถูกออกแบบโดยนักสร้างสรรค์ชื่อดังของโลก

อู้ พหลโยธิน siri podcast sansiri prop culture

ทำไมแสนสิริถึงต้องมีตำแหน่ง ประธานบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ Chief Creative Officer ที่อื่นมีตำแหน่งนี้ไหม?

ส่วนใหญ่เราจะเห็นตำแหน่งนี้ในครีเอทีฟเอเจนซี่หรือว่าแฟชั่นแบรนด์ต่างๆ เช่น แบรนด์เก่าแก่ที่มีเฮอร์ริเทจอย่าง Louis Vuitton, Hermes หรือแฟชั่นเฮ้าส์ในยุคหลังๆ ทีแรกอาจจะมีดีไซเนอร์คนเดียวที่ควบคุมทุกอย่าง แต่พอองค์กรใหญ่ขึ้น ภายใต้การแข่งขันที่สูงและโลกที่เปลี่ยนไป มีทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ ดิจิทัล การตลาด สินค้ามีความหลากหลายขึ้น จึงต้องควบคุมภาพและสิ่งที่จะสื่อสารออกไป สำหรับแสนสิริ นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แบ่งเป็นทาวน์โฮม, บ้านเดี่ยว-แฝด, คอนโดมิเนียม Low rise, High rise ยังมีธุรกิจโรงแรม, F&B จึงต้องมีตำแหน่งที่ทำหน้าที่ถือหางเสือเพื่อให้ทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกัน อีกประเด็นคือแสนสิริเป็นบริษัทที่มีความ Global มากขึ้น ขยายตลาดออกต่างประเทศ และมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้นในทุกปี ปีที่แล้วประมาณ 1 ใน 3 ก็เป็นนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นบริษัทจึงอยากจะมี Global Voice ที่สามารถสื่อสารกับคนยุคใหม่ในระดับโลก

ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Design สามารถสร้าง Value ให้กับ Property ได้มากน้อยแค่ไหน?

สังหาริมทรัพย์คือที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ก็คือสิ่งก่อสร้างที่จะผูกพันกับที่ดินนี้ตลอดไป ที่ดินเฉยๆ ไม่ต้องการการดีไซน์ อย่างเมื่อก่อนการลงทุนก็คือการซื้อขายกันด้วยโฉนด แต่พอเป็นอสังหาฯ ก็ต้องมีสิ่งก่อสร้าง จึงสำคัญว่าจะพัฒนาพื้นที่นี้อย่างไรให้ใช้สอยได้ประสิทธิภาพมากที่สุด อยู่แล้วไม่น่าเบื่อ ใช้งานได้ดีและมีความงดงาม สิ่งเหล่านี้คือดีไซน์จะเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้อสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ามากขึ้น จับต้องได้มากขึ้น ถูกใจผู้คนมากขึ้น และความจริงส่วนของ Interior, Architecture, Landscape วัฒนธรรมพวกนี้มาจากเมืองนอก เรามองว่าแสนสิริเป็นแบรนด์ที่มีความเป็นตัวจริง ดังนั้นเวลาเราจะทำอะไร ก็อยากย้อนไปที่ต้นน้ำเลย เช่น การออกแบบ Interior ก็อยากที่จะได้นักออแบบตัวจริง เพื่อมาเป็นหัวเชื้อ ก็เลยดึงดีไซเนอร์ตัวพ่อมาลงมือทำกับเรา

“ถ้าเป็นที่ดินเปล่ามันไม่ต้องการดีไซน์ แต่พอเป็นอสังหาฯ ต้องมีสิ่งก่อสร้างขึ้นมา สิ่งสำคัญคือคุณจะสร้างพื้นที่นี้ยังไงให้ลงตัวกับการใช้สอย ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด งดงามที่สุด อยู่ไปแล้วไม่น่าเบื่อ ใช้งานได้ดี ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ดีไซน์เข้ามาทำให้อสังหาฯ มีมูลค่ามากขึ้น มีความจับต้องได้มากขึ้น เป็นที่ถูกใจมากยิ่งขึ้น”

แน่นอนว่ามีค่าดีไซน์ที่แพง?

อาจจะบอกว่าราคาสูงมากกว่า เพราะแพงเหมือนกับอะไรที่ไม่คุ้มค่า จริงๆ ราคาสูงแต่มันก็คุ้ม เช่น รถยนต์คนก็ยอมจ่ายไม่ว่าจะเป็น Mercedes-Benz หรือ BMW ที่แพงกว่ารถญี่ปุ่นทั่วไป แต่ในมูลค่านี้อาจจะใช้ไปได้ 10-30 ปี โดยไม่ต้องเปลี่ยนรถ มันคุ้มค่ากว่าในระยะยาว

Lorenzo Castillo อู้ พหลโยธิน
อู้ พหลโยธิน & Lorenzo Castillo

ตัวอย่างเช่น Khun by YOO โครงการนี้ Philippe Starck มาด้วยตัวเองไหม?

คนนี้จู้จี้และเก่งมาก ดูทุกรายละเอียด บางทีถ่ายรูปส่งไปเขายังสังเกต เช่น พรมมุมนั้น หรือตรงนี้ต้องขยับอีกหน่อย เก้าอี้สีนี้ไม่ได้ ไฟต้องลงตรงนั้น เลยรู้แล้วว่าทำไมถึงได้แพง เพราะว่าต้องใช้เวลา ใช้สติทุ่มเททุกอย่างในรายละเอียด นอกจากนี้แสนสิริยังร่วมงานกับ Lorenzo Castillo นักออกแบบตัวท็อปจาก Madrid คนนี้ออกแบบให้แบรนด์ดังๆ ใน Spain และทำ Interior ทั้งปราสาท พระราชวัง โรงแรม และร้านอาหารดังๆ เขามาทำ Show Unit ให้เรา และอีกคนคือ Gert Voorjans ที่มีความนอกกรอบมาก บ้านซึ่งเป็นบ้านกึ่งสตูดิโอของเขา เข้าไปแล้วรู้สึกเหมือน Alice in Wonderland ในความผสมผสานมีความลงตัว เป็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จึงคิดว่าสองคนนี้น่าสนใจ และเชิญมาสร้างสรรค์โครงการของเราที่กรุงเทพฯ ตอนนี้มี Show Unit ของทั้ง Lorenzo Castillo และ Gert Voorjans อยู่ที่ THE MONUMENT Thong Lo ถ้าใครว่างอยากชวนให้แวะไปดู

Show Unit ของ Gert Voorjans ที่ THE MONUMENT Thong Lo

บางคนบอกว่า พอมีดีไซน์มันจะดูแพงจริงไหม ? หรือสิ่งที่มีดีไซน์ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป?

ดีไซน์มีทุกระดับไม่เกี่ยวกับป้ายราคา แต่เป็นความใส่ใจในรายละเอียดเพื่อให้สินค้าออกมางดงามและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน ยกตัวอย่าง Philippe Starck ที่ออกแบบโครงการ Khun by YOO ก็เป็นคนที่ Democratize Design หมายถึงทำให้มีความเสมอภาค ไม่ว่าคุณจะรวย หรือจะอยู่ในกลุ่มไหน ก็สามารถเสพงานของเขาได้ Philippe Starck ทำ Product Design Industrial ของ ALESSI งานพลาสติก ที่คั้นน้ำมะนาวตัวละไม่กี่ร้อย ไม่กี่พัน จนถึงการออกแบบ Presidential Palace ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส François Mitterrand ทำโรงแรม ร้านอาหารเท่ๆ มีตั้งแต่ 5, 6 ดาวที่หรูมาก จนแบบจับต้องได้คือ 3, 4 ดาว เพราะเขาคิดว่า ‘ดีไซน์คือสิ่งที่นำความสุขให้กับทุกคน’

“บางคนอาจจะบอกว่าพอมีเรื่องของดีไซน์แล้วจะดูแพง แต่จริงๆ แล้ว ดีไซน์มีทุกระดับ ไม่ได้เกี่ยวกับความแพงหรือราคา แต่เป็นความใส่ใจในรายละเอียดมากกว่า ทำให้ของมันออกมาใช้งานได้จริง ให้สวยงาม และทนทาน”

ถ้าจะลงทุนกับอสังหาริมทัพย์สักแห่งต้องดูอะไรบ้าง ถ้าเป็นสไตล์พี่อู้ต้องดูดีไซน์ก่อนไหม?

ถ้าเป็นอสังหาฯ ทำเลคงเป็นสิ่งแรก แล้วก็รูปร่างหน้าตาที่เตะตาเตะใจ

ในชีวิตเคยตัดสินใจอะไรผิดไหม เช่น ซื้อไปแล้วไม่คุ้มค่า อาจจะไม่ใช่สิ่งที่แพงที่สุดที่เราเคยซื้อ แต่รู้สึกตัดสินใจผิดและไม่คุ้มค่า?

ตอนอยู่ London น่าจะประมาณปี ค.ศ. 1996 เริ่มเรียน Architecture เรียนดีไซน์ แล้วก็อินกับสถาปนิกคนหนึ่งเป็นคนรัสเซีย ชื่อ Berthold Lubetkin คนนี้สมัยสงครามได้ย้ายมาที่ลอนดอน เขาเป็นคนสร้างสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง มีเอกลักษณ์ เช่น สระ Penguin pool ที่ London Zoo ตอนนั้นคนยังสร้างอะไรที่เป็นอิฐ ดูโบราณ แต่คนนี้มาถึงเหมือนยานอวกาศมาลง เปรี้ยวจี๊ดเลย เรียกได้ว่าเป็นตัวท็อปของลอนดอนก็ว่าได้

Berthold Lubetkin ไปทำโครงการชื่อ High Point กับ High Point II ซึ่งข้างบนเขาสร้าง Penthouse ไว้อยู่เอง ตอนนั้นไปเห็นประกาศขาย Penthouse Lubetkin 1938 เลยชวนเพื่อนไปดู แต่คิดว่าจ่ายไม่ไหวอยู่แล้วเพราะแพงมาก ชีวิตนี้ไม่มีทางไปอยู่ได้ แต่พอไปถึงแล้วอึ้งมาก This is it. This is the real thing! หลังจากนั้นคือทำยังไงก็ได้ให้ได้อยู่ที่นี่ แม้มันจะเกินงบ ทำทุกอย่าง โทรหาแม่ ยืมโน่นนี่ ชวนเพื่อน จนในที่สุด Make it happen รู้สึกว่าภาระหนักมากเลย แต่ความสุขที่ได้จากการได้อยู่ที่นั่นทำให้ลืมทุกอย่างไป แล้วมันเป็น ที่พักอาศัยที่ไม่เหมือนใคร พออยู่ที่นั่นมันสร้างสถานะ บางทีอาจจะสำคัญกับอาชีพการงานด้วยซ้ำ เพราะการที่ได้อยู่ที่นี่ การใช้ชีวิตในพื้นที่อย่างนั้นมันให้แรงบันดาลใจ

Siri Podcast อู้ พหลโยธิน siri podcast sansiri prop culture ต๊ะ พิภู

สภาพแวดล้อมมันหล่อหลอมเรา ในขณะเดียวกันคนที่มองเข้ามา เขาก็รู้สึกชื่นชมใช่ไหม?

ใช่ แต่ปี ค.ศ. 2006 – 2007 จะย้ายกลับมาเมืองไทย ดังนั้นก็ต้องขาย เชื่อไหม พอปล่อยไปจริงๆ แล้วได้กำไรประมาณ 300% คือสามเท่าของราคาซื้อ หลังจากนั้นก็เข้าใจแล้วว่าการลงทุนในอสังหาฯ ถ้าจับของดีจริงๆ ที่มี ดีไซน์ยังไงก็ไม่เสียหาย

สำหรับคนที่มีพี่อู้เป็นแบบอย่าง เป็นคนที่เสพติดเรื่องดีไซน์ แต่กระเป๋าอาจจะยังไม่หนักพอ มีคำแนะนำอะไร ถ้าจะลงทุนควรเลือกอะไรเป็นหลัก?

เริ่มต้นน่าจะเป็นอะไรที่ไม่แพงมาก การลงทุนมีอยู่ 2 แบบ คือคนที่ buy on paper เป็นนักลงทุนที่มาเพราะว่าไว้ใจชื่อเสียงของแสนสิริว่าซื้อยังไงก็ได้อยู่แล้ว และเดี๋ยวยังมี yield มีค่าเช่า โครงการออกก็ซื้อทีละ 5 ยูนิต 10 ยูนิต ก็มี ส่วนอีกประเภทเป็นคนที่ Passionate มาก ดูละเอียดยิบเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการราคา 1.99 ล้านบาท เช่นพื้นที่ใช้สอยได้กี่ตารางเมตร มีส่วนกลางอะไรบ้าง หน้าต่างหันทางทิศไหน เทียบกับอีกฝ่ายที่วิวอะไร ชั้นอะไร ไม่สนเลย เพราะอีกไม่นานก็จะขายอยู่แล้ว

กลุ่มหนึ่งเน้นลงทุนทำกำไร ซื้อมาขายไปต้องเร็ว อีกกลุ่มใส่ใจรายละเอียดมาก ให้ความสำคัญเพราะเขาชอบ เขาอาจจะอยู่เอง

เขาชอบและคิดว่าอาจจะได้ความสุขจากการอยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งแสนสิริเอง serve คนทั้ง 2 กลุ่ม เราไม่ปล่อยเลย ทุกตลาด ทุก Segment

อู้ พหลโยธิน siri podcast sansiri prop culture

แสนสิริมีหลาย segment มาก ทั้งแพงหรูหราสำหรับคนมีเงิน ไปถึงคนที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีเงินมาก แต่เศรษฐกิจแบบนี้หลายคนอาจรู้สึกว่าโครงการที่ luxury จะฟุ่มเฟือยเกินไปไหม มันคุ้มค่าไหม เรื่องนี้แนะนำอย่างไร?

คนที่มองว่าฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหน เขาก็จะคิดว่ามันฟุ่มเฟีอยอยู่ตลอดเวลา แต่ที่จริงตอนนี้เป็นโอกาสทองเลยนะ ช่วงที่แสนสิริลดราคาขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์

“คนที่มองว่าฟุ่มเฟือย ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหน เขาก็จะคิดแบบนั้น แต่ที่จริงตอนนี้ก็ถือเป็นโอกาสทอง เพราะช่วงที่แสนสิริลดขนาดนี้ เป็นอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์”

สำหรับ CCO ของแบรนด์แสนสิริอย่างคุณอู้ มีนิยามการลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างไร?

การลงในทุนในอสังหาริมทรัพย์ คือการเอาทุกอย่างไปไว้ในความสุข อสังหาริมทรัพย์เป็นอะไรที่เราใช้เวลาอยู่กับมันเยอะที่สุด นอกจากที่ทำงาน เราก็ใช้ชีวิตที่บ้านของเรา ความสุขที่เราจะได้มาส่วนใหญ่ก็มาจากบ้านของเรานั่นเอง ดังนั้นมันเป็นการลงทุนในความสุขของชีวิตเราที่น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

เพราะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สำหรับ ‘อู้ พหลโยธิน’ คือการลงทุนในความสุข นั่นเอง

Siri Podcast อู้ พหลโยธิน siri podcast sansiri prop culture ต๊ะ พิภู

นี่คือมุมมองจากคนที่มีความหลงใหลในดีไซน์ และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการดีไซน์ช่วยเพิ่มมูลค่าให้อสังหาริมทรัพย์ได้อย่างไร เพราะความคุ้มค่าหรือหรูหราอาจไม่ได้วัดกันที่ตัวเลขราคา แต่คือรายละเอียดที่นักออกแบบให้ความสำคัญและทุ่มเท อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการดีไซน์อย่างใส่ใจ ถ้ามองให้ลึกเราจะเห็นถึงความสวยงามและการใช้งานที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย และสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความสุขในการอยู่อาศัย สำหรับใครที่มองหาแนวทางในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ น่าจะได้แรงบันดาลใจไปต่อยอดเพื่อตัดสินใจลงทุนในทิศทางที่ตัวเองถนัดได้มากขึ้น

สามารถฟังพอดแคสต์ SIRI Podcast
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ด้านล่าง

Related Articles

การเงินยุคดิจิทัล_ไม่เปลี่ยนเท่ากับปิด_เศรษฐา ทวีสิน CEO แสนสิริ, ‘คุณเฟื่องลดา’ สรานี สงวนเรือง, ‘คุณเฟิร์น’ ศิรัถยา อิศรภักดี sansiri คุยนอกทวีต siri podcast

โลกการเงินยุคดิจิทัล ไม่เปลี่ยนเท่ากับปิด?

ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การเงินการลงทุนก็เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนต้องปรับตัวไม่ต่างจากเรื่องอื่นๆ SIRI Podcast รายการ คุยนอกทวีต EP. 3 ชวนมาเปิดมุมมอง ย้อนมองการเปลี่ยนแปลงการลงทุนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แชร์พฤติกรรมของการลงทุนจากเจเนอเรชันที่ต่างกัน พร้อมร่วมกันมองทิศทางการเงินดิจิทัลที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต นำโดยคุณเศรษฐา ทวีสิน CEO แสนสิริ ตัวแทนคนรุ่นก่อนที่เรียนรู้ ปรับตัว และพร้อมศึกษารูปแบบการลงทุนใหม่ๆ นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับแขกรับเชิญอีกสองท่าน

เท่าไหน ที่เท่ากัน? เพราะเราไม่ได้ขอสิทธิ์ที่มากกว่า แค่ขอให้ได้ “เท่ากัน”

‘ทุกคนเท่ากัน’ คำพูดที่พูดได้ง่าย แต่กลับทำให้เกิดขึ้นจริงได้ไม่ง่ายนัก และเบื้องหลังยังแฝงการเรียกร้องพร้อมยืนหยัดจากใครหลายคนที่มีความแตกต่างไปจากสิ่งที่สังคมคุ้นเคย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายนั้นมาตั้งแต่ในอดีต รวมไปถึง…การยืดหยัดเพื่อความเท่าเทียมทางเพศด้วยเช่นกัน คุยนอกทวีตกับคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ของแสนสิริ คราวนี้ กับคำถามที่ว่า “เท่าไหน ที่เท่ากัน” EP.02 มาพร้อมกับ Speaker สุดพิเศษถึง 2

The Great Reset มองอนาคตผ่านสายตาคนต่างวัย โลกนี้จะหน้าตาแบบไหนกัน?

ในช่วงที่ COVID-19 กระจายตัวไปทั่วโลก หลายคนอาจนึกถึงหรืออาจเคยได้ยินคำที่ว่า “The Great Reset” กันมาบ้าง ก็เพราะ COVID-19 นี้เองได้กลายเป็นเหมือนตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของสังคมเราให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ราวกับกดปุ่มรีเซ็ตใหม่! เมื่อการรีเซ็ตครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ได้ย่างกรายเข้ามา จึงทำให้โลกเริ่มเปลี่ยนไปจากที่เราเคยรู้จัก