Sexual Objectification
เรื่องที่เรายังมองเป็นของธรรมดา?

ยิ่งใกล้ปิดฤดูกาลซื้อ-ขายตัวนักฟุตบอลของยุโรปเข้ามาทุกที ข่าวของนักฟุตบอลดาวรุ่งอังกฤษที่ไปเด่นอยู่ที่บุนเดสลีกาอย่าง Jadon Sanchos กับการย้ายไปสโมสรยักษ์ใหญ่อย่างแมนยูฯ ก็มีออกมาเรื่อยๆ มีการปล่อยข่าวต่างๆ นาๆ จากทั้งสองฝ่ายว่าคุยแล้ว ใกล้แล้ว ไม่มีทางขาย ฯลฯ ล่าสุด Sanchos เองไม่ได้ไปแข่ง German Super Cup กับทีมคู่ปรับอย่างบาเยิร์นมิวนิคก็ทำให้เกิดการคาดเดาว่าทำไมถึงไม่ร่วมเดินทางไปกับทีม เจ็บหรือเป็นอะไรรึเปล่า

Jadon Sanchos-Sansiri Blog
Photo by Mario Hommes

มีอีกประเด็นหนึ่งที่ผุดขึ้นมาแล้วผมคิดว่าอดที่จะหยิบยกขึ้นมาเขียนไม่ได้ ก็คือเรื่องของข่าวขำๆ ที่แฟนบอลออกมาพูดกันว่าที่ Sanchos จะไม่ย้ายสโมสรแน่นอนก็เพราะว่าสโมสรดอร์ทมุนด์ตอนนี้มีนักกายภาพประจำทีมเป็นสาวสวยชื่อ Alica Schmidt (ลองไป google ดูกันเองครับ) ที่เริ่มโด่งดังขึ้นมาจากการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงของสื่อ Social Media ต่างๆ เอาภาพของเธอมานำเสนอ

Alica Schmidt - Sansiri Blog
Alica Schmidt

ถึงแม้ผมจะเป็นแฟนหงส์แดงและอยากจะร่วมวง “ขำ” กับเค้าด้วย (เพราะแมนยูฯ จะอดได้ Sanchos มาเสริมทีม) แต่ผมว่านี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนว่าในโลกของฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาที่ถูก stereotype เข้ากับเพศชาย ยังเป็นโลกที่ให้ค่านิยมเรื่องของการเอา “เพศสตรี” มาเป็นเรื่องเล่นๆ ขำๆ กันอยู่ โดยตัวอย่างกรณีนี้ชัดเจนว่าเป็นการที่เราหยิบเพศสตรีขึ้นมาเป็น “วัตถุทางเพศ” (Sexual Objectification) ในขณะที่โลกเค้าหมุนกันไปถึงไหนแล้ว เราได้เห็นสังคมกำลังพยายามชูเรื่องของ inclusivity & equality ส่งเสริมความเท่าเทียมกันอยู่แต่สุดท้ายเรื่องพวกนี้ก็ยังโผล่มาให้เห็นเป็นระยะๆ

ใช่ครับ ใครที่ได้ติดตามข่าวของ Alica Schmidt และได้เห็นภาพของเธอจะพอทราบว่า เธอเป็นสตรีอายุ 20 ต้นๆ ที่ดูน่าดึงดูดสำหรับเพศตรงข้าม แต่นั่นก็เป็นเพราะภาพที่ถูกนำเสนอและการตีค่าของบุคคลผ่านความ “ผิวเผิน” ที่เราเสพสื่อกัน ภาพที่ปรากฎในสื่อ social media ส่วนมากเป็นภาพจากโปรไฟล์ของ Schmidt เอง ซึ่งอาจนำเสนอตัวเองในรูปแบบที่เธอมั่นใจและแสดงตัวตนได้อย่างที่เธอต้องการ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเพราะใครๆ ไม่ว่าเพศไหนก็อยากนำเสนอตัวเองในภาพลักษณ์ที่ดึงดูดมากที่สุด และนอกเหนือจากเป็นนักกีฬา และนักกายภาพบำบัดแล้ว Schmidt เองยังเป็น influencer ในโลกของ social media ที่มีแบรนด์กีฬาสปอนเซอร์ด้วย ซึ่งก็เป็นปัจจัยที่เธอคงต้องนำเสนอภาพลักษณ์ให้ดูดี น่าดึงดูด และนั่นเป็นสิทธิ์ของเธอ

Alica Schmidt 02 - Sansiri Blog

แต่ลองไปหาอ่านเนื้อความเกี่ยวกับเธอดูจะรู้ว่านักกายภาพบำบัดของทีมดอร์ทมุนด์คนนี้มีความสามารถไม่แพ้เพศชายในสายกีฬาที่เธอถนัดนะครับ มีวิดีโอเธอแข่งวิ่ง 400 เมตรกับ Mats Hummels แล้วชนะปราการหลังตัวเก่งของดอร์ทมุนด์ด้วย เจ้าตัว Hummels ถึงกับออกปากว่า “ประเมินเธอต่ำไป”

ประเด็นนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่อง “ขำๆ” ของแฟนบอล แต่ก็เป็นบรรทัดฐานให้เรารู้ว่าเรื่องของความเท่าเทียมและการปฏิบัติต่อเพศตรงข้ามยังเป็นประเด็นที่มีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะเพศสตรี เรื่องของ Sexual Objectification ก็หวังว่าท่านที่ได้อ่าน blog อันนี้ของผมจะลองช่วยกันระลึกเรื่องนี้ไว้เสมอๆ และช่วยกันให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ครับ

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม