runner

เส้นสายลายศิลป์ใน “ชุดแข่ง” “ความเร็ว” จากการถักทอ

จนถึงปลายปีนี้ ดูเหมือนว่า กระแส #metoo จะไม่ได้เดินทางไกลแค่ในโลกของความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปทุกวงการ ทั้งการเมือง หมอ และอาหาร …เหมือนที่เทรนด์ Zero Waste ไม่ได้ต้องการกำจัดขยะ แต่ในท้องทะเลเท่านั้น แต่ยังไปส่งเสียง และทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง (ที่เมืองออสตินในอเมริกา ถึงขั้นออกกฏหมายห้ามทิ้งอาหาร)

zero-waste
ส่วนหนึ่งของ Sansiri Green Model ที่เริ่มขึ้น ณ T77 Community

เทรนด์ความเป็นห่วงเป็นใยสังคมโลกอย่างจริงจัง ยังเป็นนโยบายหนึ่งที่อยู่ใน “แสนสิริ” ที่รับรู้ได้จากการตามอ่าน ทวิตเตอร์ ของสำนักนี้ และถ้าดูความเคลื่อนไหวจากแบรนด์อย่าง Parley มาจนถึง ทะเลจร ของปัตตานี ก็เชื่อได้ว่าในปี 2019 หลายๆ แบรนด์จะหันมาทำ Zero Waste กันอีกหลายระลอก               

Sport Marketing กับลวดลายบนชุดกีฬา ที่ไม่ใช่แค่สวยงาม

ขณะที่หลายไอเดียกำลังถูกแต้มลงใน Sport Marketing เมื่อไม่นานมานี้ มีบทความหนึ่งตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น Financial Times) ซึ่งพาดหัวว่า “คุณเชื่อหรือไม่ว่า เส้นลวดลายรวมถึงกราฟิกต่างๆ บนชุดกีฬา ทำให้คุณเคลื่อนไหวได้รวดเร็วขึ้นจริงๆ”

ในงานเขียนนั้นรายงานว่า กลุ่มครีเอทีฟผู้ออกแบบไอเดียให้แบรนด์อย่างไนกี้ ซึ่งยอดเยี่ยมมายาวนานนั้น ต้องทำงานภายใต้ภาวะกดดันเป็นอย่างมาก ในช่วงที่ต้องเสนอชุดกีฬาสำหรับการแข่งขันกีฬาของโลกอย่างโอลิมปิก โดยเฉพาะชุดวิ่ง

ชุดกีฬาจากคอลเลคชั่น Hyperwarm Flex ของ Nike ภาพจาก Innovation in Textiles

พวกเขาเคยสงสัยว่า จะพัฒนาชุดกีฬาเพื่อช่วยทำให้วิ่งเร็วขึ้น ได้มากกว่านี้อีกได้ไหม แต่เมื่อใกล้เวลาสำคัญในโอลิมปิคปี 2012  “ไม่น่าเชื่อเลยว่า มันจะเป็นเรื่องจริงได้”  Martin Lotti อดีต Nike’s Global Creative Director บอกอย่างตื่นเต้น

“เราได้แรงบันดาลใจมาจากลูกกอล์ฟ เวลาที่ถูกมันตีผ่านลม เราจึงหยิบเอาบ่อคว้าน ที่เป็นรอยบุ๋มของลูกกอล์ฟ มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการทำชุด ซึ่งมันจะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยลดแรงต้านของอากาศได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้นักกีฬาวิ่งได้เร็วกว่าเดิม และหลังจากทำการทดสอบมามากกว่าร้อยชั่วโมง ภายในอุโมงค์ลมซึ่งเป็นห้องทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุด ในที่สุดเราค้นพบว่า มันทำความเร็วเพิ่มขึ้น 0.023 วินาทีเมื่อเทียบกับชุดแข่งรุ่นก่อนๆ” 

จนสื่อบางแห่งบอกว่า มันจะกลายเป็นตัวชุดวิ่งสุดไฮเทคมากขึ้นในอนาคต

ในโลกของการตลาดกีฬาและในความเป็นจริงก็คือ ลวดลาย เส้นกราฟิกต่างๆ เส้นเล็กเส้นน้อย เส้นที่ตัดกันไปมา บั้งหรือ จุด และลายที่ตกแต่งในชุดกีฬาและอุปกรณ์ล้วนถูกสร้างขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์อะไรบางอย่าง ไม่ใช่เพื่อการออกแบบอย่างเดียว โดยมีผลที่พิสูจน์ได้แบบวิทยาศาสตร์ด้วย เช่นการใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล ด้วยการนำมาหลอมละลายเป็นเส้นใยพิเศษเพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถนะกีฬา 

ผลงานออกแบบชุดกีฬาคอลเลคชั่น Pro TurboSpeed ของ Nike ภาพจาก Nike News

ยกตัวอย่างในอดีตเช่น  Nike’s Pro Turbo Speed ไม่ได้เป็นเพียงงานกราฟิกธรรมดาๆ แต่มันได้ช่วยเสริมฟังก์ชันของการทำงานของอุปกรณ์ ให้เกิดความเร็ว มากกว่าการสร้างตราสินค้า

นี่ยังไม่นับว่าชุดนี้ผลิตขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามกระแสโลกอีกด้วย ทั้งการวางแถบตัวหนา และการใช้สีบนรองเท้า Nike Football ช่วยเพิ่มการมองเห็นของผู้เล่นระหว่างเพื่อนร่วมทีม และทำให้การส่งผ่านบอลถูกต้องมากขึ้นถึง 99% เพราะมีวิสัยทัศน์ของการมองเห็น  เนื้อผ้าที่เป็นจุดเอง จะเพิ่มสมรรถนะของหน้าแขนและหน้าแข้ง

Lotti เสริมว่า “นอกจากทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายเร็วขึ้นจนรู้สึกได้แล้ว ชุดกีฬาต้องทำหน้าที่สื่อให้ผู้ชมถึง 5 ล้านคน เห็นสิ่งนี้ด้วย”

ชุดแข่งที่ทำให้คนใส่รู้สึก “ไปได้เร็วขึ้น”

อ่านถึงตรงนี้ ใครบางคนอาจนึกไปถึง เสื้อสีเขียวมะนาวของบาร์เซโลน่าในอดีต ซึ่งเป็นเขียวมะนาวเดียวกับเสื้อเยือนญี่ปุ่นเมื่อบอลโลก 2014 หรือไปไกลกว่านั้น อาจมีคนคิดถึงเสื้อแฟชั่นขายถล่มโลกของไนจีเรีย เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ ก่อนที่บอลโบกรัสเซียจะเริ่ม (ซึ่งครีเอทีฟอีกคนของ ไนกี้ คือ Pete Hoppins บอกว่า เอาแรงบันดาลใจมาจากเสื้อไนจีเรียทีมเยือนปี 1994 บอลโลกที่อเมริกา)  

บางทีอาจจะเป็นเหมือนที่ Adrian Caroen ผู้เป็น Director ของ Seymour Powell นักออกแบบที่เชี่ยวชาญงานและเก็บความลับทางนวัตกรรมใหม่ในการเล่นกีฬาเทนนิสและการแข่งจักรยาน เขาบอกว่า พวกเรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์จะทำผ่านงานดีไซน์ “เส้นสายลายศิลป์ของอุปกรณ์กีฬาทำให้การเคลื่อนไหว รู้สึกไปได้เร็วขึ้น” เขากล่าว

นักวิ่งเก่งๆ หลายคนชื่นชอบ New Balance’s Minimus และ Brooks รองเท้าวิ่งของ Pure Grit เพราะลักษณะการดีไซน์ได้สร้างรูปลักษณ์ของตัวเองอย่างน่าสนใจในสายตาพวกเขา

ซึ่งในแง่นี้ สามารถสรุปได้ว่า ความก้าวหน้าใหม่ทั้งหมดที่กล่าวมาดี และดีมากสำหรับนักกีฬาอาชีพ เพราะนักกีฬาสามารถรับรู้ได้ว่ากราฟิกเส้นไหน หรืออุปกรณ์ใดทำให้พวกเขารู้สึกว่าชุดกีฬาตอบสนองต่อ “ความเร็วขึ้น” ของพวกเขา

พูดให้ง่ายคือ ชุดแข่งเสื้อบอล เสื้อผ้ากีฬา ถ้าดีไซน์เก่งๆ มันสามารถทำให้คนใส่ รู้สึกถึงความเร็วได้ในขณะแข่ง (แต่ต้องเป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวนะครับ ไม่ใช่พวกหมากรุกแบบ chess ที่ แม็กนัส คาร์ลเซน ของนอร์เวย์ เพิ่งได้แชมป์โลกไปเมื่อวันที่ 28 พย. 2018) 

sports
การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วพร้อมไม้แร็กเก็ต

ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ เช่น กราฟิกดีไซน์ของเสื้อเทนนิสของ Prince’s Gold มีตัวอักษรโดดเด่นเรื่อง แอนตี้แบคทีเรีย ป้องกันแสง UV และรักษาความชุ่มชื่นให้ผิว สำหรับนักเทสนิส Agassi ใช้ Rossignol F250 Yonex RDS003 (โมเดลรุ่น 2008) และของ Wilson รุ่น Hyper Hammer 6.3 พวกนี้ล้วนเป็นที่ชื่นชอบของนักแร็กเกต พอๆ กับที่เขาชอบระบายสีบนแร็กเกตนั่นแหละ

จิตวิทยาเชิงอำนาจ ภายใต้เส้นสายของชุดแข่ง

การที่อุปกรณ์หรือเสื้อผ้าอะไรเป็นแบบนี้ แบรนด์จะบอกว่าอุปกรณ์ที่ดีกว่า มีดีไซน์ มีแนวโน้มที่จะทำให้พวกเขาเล่นได้ดีขึ้นจริงๆ แถมยังดูดีขึ้นอีกด้วย …การออกแบบกราฟิกบางอย่าง ยังมี “ผลกระทบทางจิตวิทยา” ในเชิงของการข่มขวัญคู่ต่อสู้ แสดงออกเชิงทัศนคติว่า อย่าประเมินค่าเขาต่ำเกินไปนะ รวมถึงเขามีความสามารถที่จะชนะฝั่งตรงข้ามได้ เหมือนกับเสื้อที่เขาใส่แสดงถึงพลัง คุณภาพ การมีชีวิตชีวา มากกว่าฝั่งตรงข้าม (เคยมีการสำรวจมานานว่า เสื้อสีแดง ชนะการแข่งขันฟุตบอลมากกว่าสีอื่นๆ)

มจำได้ว่า Francine Candiotti ดีไซเนอร์ของ Fila เคยกล่าวว่า ถึงแม้แฟชั่นพูดไม่ได้ ตะโกนไม่เป็น แต่เราใช้สีรุนแรงผ่านกราฟิกในการสื่อให้คนทั่วไปรู้ถึงการแสดงออกทางอารมณ์แบบนั้นได้ และ Lotti จากNike ก็คิดแบบเดียวกัน คือพิสูจน์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดสายตา จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของผู้เล่น และฝั่งตรงข้ามแบบรุนแรง 

aerographic-technology
ผลงานการออกแบบเสื้อกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติสเปนของ Nike ที่ใช้ Aerographic Technology ภาพจาก Nike News

Nike เคยมีชุดยูนิฟอร์มสีสันของทีมชาติบาสเกตบอลหลายชุด และชุดเหล่านั้น จะถูกสวมใส่โดยนักกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติสหรัฐฯ ทีมชาติจีน และทีมชาติบราซิล รวมทั้งทีมอื่นๆ ที่กำลังสร้างผลงาน ดีไซน์รุ่นหนึ่งคือ Aerographics มันระบายอากาศได้มากกว่าเก่า แถมยังเก๋ไก๋ด้วยการซ่อนสีตรงขลิบแขน 

พวกเขาไม่คิดมากเลยเถิดแน่นอนเรื่อง “จิตวิทยา” ที่อยู่ภายใต้เนื้อผ้าและการออกแบบบนชุดแข่งกีฬา ว่าสามารถทำให้รู้สึกวิ่งเร็วขึ้น เพราะอีกคนหนึ่งอย่าง Paul Barnes ซึ่งเคยออกแบบเสื้อผ้า ได้เคยสร้างตัวอักษร และตัวเลข ให้ชุดแข่ง Puma ก็คิดแบบนี้

แถมเมื่อเร็วๆ นี้ Umbro ที่เคยเป็นชุดทีมชาติของอังกฤษในช่วงเวลาหนึ่ง เขาเชื่อว่าตัวพิมพ์สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติแล้ว ตัวฟอนท์ ของเบอร์ อักษร ยังขับเน้นให้รู้สึกอยากต่อสู้ด้วย  นอกจากนี้ ไนกี้เองก็ยังเคยออกแบบการสกรีนชื่อ Messi แบบเอียงๆ เพื่อให้รู้สึกถึงความรวดเร็ว เวลาเขาวิ่งไปในสนาม! 

โดยส่วนตัว ผมคิดว่านับจากปี 2011 เป็นต้นมา ไนกี้ได้ใช้การออกแบบที่เรียกว่า จัดวางตัวอักษร typographic เล่นมุมกับเนื้อผ้า คือ สามารถสะท้อนให้เห็นถึง “ความเร็วในการรุกรานฝั่งตรงข้าม” หรือ “การใช้อำนาจ” เช่นลักษณะการออกแบบอิงเรขาคณิต ที่ใช้บนเสื้ออเมริกันฟุตบอล แน่นอนว่ามีนัยยะบางอย่าง

การที่เสื้อผ้ากีฬาหลายๆ แบบ เริ่มจะเอา ฟอนท์ตัวอักษรแบบเก่า แบบใหม่ แบบอะไรก็ตาม มาสกรีนบนเสื้อบอล เสื้อบาส มันไม่แค่ชุดที่มีความทันสมัยในตัวเอง แต่มีพลังมากขึ้นเมื่อทำเป็นตัวเอียง

เพียงแต่ถ้าใช้ตัวอักษรผิดแบบหรือออกแบบลูกเล่นมากเกินไป มันก็จะไม่ถูกต้องเพราะสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้คือตัวอักษรบนเสื้อฟุตบอลต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของฟีฟ่า บนเงื่อนไขที่ว่า ตัวอักษรต้องอ่านได้ชัดเจน เพื่อการตัดสินที่เด็ดชาดในช่วงระยะเวลาจำกัด 

ถ้าชุดกีฬาทำได้ดี ไม่ใช่แค่เพิ่มความแข็งแกร่งให้แบรนด์ แต่ยังจูงใจแฟนๆ อยากซื้อเก็บไว้ด้วย

Soccer Bible แมกกาซีนสีดำรายเดือนที่ผมตามซื้อที่ลอนดอนว่า “นักออกแบบชุดกีฬา ได้นำแฟชั่นและดีไซน์ มาผสมรวมกันในแบบอักษรผสม (Typefaces) ทำให้คนใส่ชุด รู้สึกไปเองว่า ตัวเองวิ่งได้เร็ว และถ้าย้อนไปในปี 1954 มีช่วงเวลาที่ตื่นเต้นมาก เมื่อนักศึกษาแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ โรเจอร์ แบนนิสเตอร์ (Roger Bannister) ได้วิ่งระยะทาง 1 ไมล์ได้ภายในเวลา 3:59.4 นาที (ก่อน 4 นาทีเป็นครั้งแรก) เชื่อไหมว่า ไม่มีใครรู้หรอกว่าเขาใส่เสื้อวิ่ง Umbro และภายหลัง เขายอมรับว่า เขารู้สึกว่า “ตัวเบา” ขณะวิ่ง!

ท่านใดก็ตามที่สนใจเทรนด์ที่ฝรั่งเรียกว่า SSS หรือ Sport Stripe & Speed ซึ่งเอาการสร้างตราสินค้า การออกแบบจัดวางตัวอักษร ลองดูได้จากเสื้อหลายทีมของไนกี้ ช่วงปี 2010-2018 มาดูได้ เพราะไนกี้ทำให้การออกแบบเสื้อกีฬาของวันนี้ไปไกลอย่างมาก เหมือนที่ Yomar Augusto นักออกแบบอักษร ชาวดัตช์ ได้สร้างตัวอักษรมากมายให้เสื้อฟุตบอลของ Adidas เพื่อใช้ในฟุตบอลโลกปี 2010

typography
ผลงานการออกแบบลูกบอลของ Yomar Augusto สำหรับ World Cup 2010 ให้กับ Adidas ภาพจาก The Design Critic

เขาอธิบายถึงการออกแบบลูกฟุตบอล แบบใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการประสานแผงรูปสามเหลี่ยมบนลูกฟุตบอลเข้าไว้ด้วย ทำให้เป็นลูกบอลมีความเสถียรเมื่อยิง หรือส่งลูกไปในทิศทางที่ต้องการ

นักออกแบบ Peter Saville ได้ดีไซน์เสื้อบอลทีมชาติอังกฤษคล้ายๆ กับเสื้อเยือนปี 1990 ที่มีลักษณะเป็นจุดๆ นับร้อยพันจุด เขาบอกว่า “ผมมองว่าเสื้อเป็นสื่อกลางของการเปิดการรับรู้ทางความคิดที่สูง แต่มันเงียบมากช่วงเปิดตัว ทั้งๆ ที่มันยอดเยี่ยม แต่ไม่มีใครกล่าวถึง แฟนๆ อาจคาดหวังมากไป”

ในเช้าวันหนึ่งของปลายเดือนธันวาคม ที่กำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ หลายแบรนด์กีฬาเริ่มทำในสิ่งที่ ทิม บราวน์ (Tim Browne) เขียนไว้เกี่ยวกับดีไซน์ว่า การออกแบบนั้น มีเสียงซ่อนอยู่ในสินค้านั้นๆ 

บ้างก็พูด บ้างก็ตะโกน – แม้จะมีทั้งคนได้ยิน และหูหนวก…