วัฒนธรรม คำสบถ และขนมิงค์

วัฒนธรรม เป็นหัวข้อสนทนาที่ชวนให้คนคุยกันอย่างสุนทรีย์ และในขณะเดียวกันก็ชวนให้คู่สนทนาทะเลาะกันก็เยอะ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม ความเชื่อ ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ มากมายแบบไม่มีขาวกับดำ ผมมี 2 เรื่องที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรม ที่ผมอ่านเจอในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนแล้วอยากเอามาแชร์กัน

เรื่องแรกคือเรื่องของ Wireless Festival เทศกาลดนตรี rap และ hip hop ที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร จัดในกรุงลอนดอนระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคมที่ผ่านมา และมีรายชื่อนักร้อง rapper ชื่อดังหลายคนเข้าร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีนี้ด้วย ทั้ง Cardi B, Tyga, Lil Skies, Young Thugs ฯลฯ ประเภทแค่ดูชื่อแม้วัยอย่างผมจะไม่รู้จักก็ดูออกว่าจัดเต็มครับ

ท่านที่ฟังเพลงคงพอทราบดีว่าการสบถเป็นสิ่งหนึ่งที่ฝังรากอยู่กับวัฒนธรรม rap & hip hop แบบแยกไม่ออก และมีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรม street culture ของชนผิวสี ใน USA ที่สะท้อนถึงความโหดร้ายที่สังคมมีกับพวกเค้าทั้งเรื่องของการแบ่งแยกสีผิว ชนชั้น และความไม่เท่าเทียม แผ่น CD ของเพลงแนวนี้ส่วนมากจะมีสติกเกอร์ “Parental Guidance” สีขาว ดำ แดง ติดอยู่บนหน้ากล่อง เพื่อชี้แจงว่าถ้าลูกคุณๆ ซื้อแผ่นนี้ไปฟังได้เจอคำหยาบแน่นอน แต่แทนที่จะกลายเป็นสิ่งต้องห้าม กลับกลายเป็นสติกเกอร์ที่ endorse วัฒนธรรมของเพลง rap ไปเสีย โดยจากสถิติที่เว็ปไซต์เกี่ยวกับเพลงเค้าทำไว้ในปี 2015 บอกว่าเพลงประเภท rap และ hip hop นี้มีคำสถบโผล่มาทุกๆ 47 คำ ในขณะที่เพลงพวก heavy metal โหดๆ ยังมีโผล่มาแค่ทุกๆ 352 คำแค่นั้นเอง

ทีนี้พอเทศกาลดนตรีที่เต็มไปด้วย rapper เหล่านี้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของอังกฤษ ทางสภาเมืองลอนดอนเลยมีความคิดที่จะทำให้เพลง rap และ hip hop เหล่านี้ละเมียดละไมลงด้วยการ ขอให้ผู้จัดเทศกาลบอกให้ศิลปินที่มาร่วมงานใช้คำสบถให้น้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย ห้ามทำท่าลามกอนาจาร หรือส่อไปในทางที่ล่อแหลมใดๆ

แล้วจะยังไงครับ ยกตัวอย่างเพลงที่ชื่อว่า She Bad ของ Cardi B ที่ข่าวพูดถึง ถ้าเอาคำสถบออก เนื้อเพลงจะมีช่องว่าอยู่กว่า 50 คำเลยทีเดียว และเพลงหลายๆ เพลงของศิลปินจะผิดเพี้ยนความหายเพราะคำหยายเหล่านี้ถูกถอดออกไป ยังโชคดีที่ไม่ใช่ข้อบังคับหรือห้าม แต่เป็นแค่การร้องขอความร่วมมือเท่านั้น

อีกเรื่องเป็นเรื่องของเสื้อขนสัตว์ หรือ Fur Coat ที่โลกแฟชั่นกำลังต่อต้านการนำเอาขนสัตว์มาใช้ เพราะถือเป็นการทรมานสัตว์และโหดร้าย เพราะว่ากันว่าการฆ่าเพื่อเอาขนทั้งตัวมาใช้จะใช้การยิงไม่ได้ แต่ต้องใช้ไฟฟ้าช็อตและหักคอให้ตายเสีย หนังและขนจะได้ไม่เสียหาย

เรื่องเกิดขึ้นในกรุง New York เมื่อโฆษกสภาเมือง New York ออกมา lobby ให้สมาชิกสภา “แบน” ธุรกรรมการซื้อขายเสื้อขนสัตว์ในมหานคร New York แต่ไม่ทันจะได้รับการตอบรับหรือลงคะแนนใดๆ ก็เจอการต่อต้านจากหลายๆ ภาคส่วนของสังคมที่ไม่เห็นด้วยกับการแบนดังกล่าว

ประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบขึ้นมาโต้แย้งโดยผู้นำชุมชนผิวสีเชื้อชาติ African-American ในเมือง New York คือเค้าบอกว่า เสื้อขนสัตว์นี้เป็นสัญญลักษณ์ของความสำเร็จในชีวิตสำหรับพวกเค้า ในหน้าหนาวทุกวันอาทิตย์ใครที่เข้าโบสถ์ของชุมชนผิวสีจะเห็นเสื้อขนมิงค์เป็นชุดแต่งการประจำของคนที่ “made it” หรือประสบความสำเร็จมาแล้ว รวมทั้งยังได้กล่าวอ้างว่าเครื่องแต่งกายประจำราชวงศ์กษัตริย์ของทวีปอาฟริกามักจะใช้ขนสัตว์ทั้งผืนเป็นเสื้อคลุมและประดับตกแต่งเพื่อแสดงสถานะและเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานานที่ชนผิวสีจากทวีปอาฟริกาทุกคนเข้าใจและยอมรับ

คำเหน็บเจ็บๆ จากผู้นำชุมชนผิวสีเค้าบอกว่า “I’m more concerned about saving black lives.  When the activists are more concerned about saving black lives than black minks, let me know.” คงน่าจะชัดเจนพอที่จะทำให้คนรักสัตว์แหยงปล่อยให้วัฒนธรรมการสวมใส่ขนสัตว์มีต่อไปในสังคมที่ยังไม่สามารถสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นจริงๆ

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม