thaileague

เคยสงสัยกันหรือปล่าวว่า ค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก มีมูลค่าเท่าไร

thaileague การพัฒนาฟุตบอลไทย

ท่านผู้อ่านที่ติดตามข่าวฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษอยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์ คงจะพอทราบบ้างว่าที่บ้านเค้าเพิ่งมีการประมูลลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฤดูกาล 2016-2019 เฉพาะในสหราชอาณาจักรกันไปเมื่อเดือนก่อนโดยท้ายสุดก็เป็นการแบ่งกันระหว่าง Sky และ British Telecom โดยหลักๆ จะถ่ายทาง Sky Sport และ British Telecom ได้บางนัด โดยตัวเลขค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้กับ EPL ในครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปีดังกล่าวทีเดียว

ครับไม่ได้หูฝาดครับ 2 แสนล้านบาท ถ้าถัวเฉลี่ยออกมาแล้วท่านผู้อ่านอย่าตกใจนะครับถ้าจะบอกว่าแต่ละแม็ทช์แข่งขันมีราคาอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านบาทครับ หารออกมาก็ได้ประมาณนาทีละ 5.5 ล้านบาท หรือถ้าหารต่อหัวนักฟุตบอลที่วิ่งอยู่ในสนาม 22 คนก็ตกคนละ 22.7 ล้านบาทต่อเกม นี่คือราคาของเกมกีฬาระดับรากหญ้าที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งของโลกแต่ยังไม่จบเท่านี้ครับ ยังมีค่าลิขสิทธิ์ที่ทาง BBC ประมูลมาเฉพาะการเอาไฮไลต์มาฉายทางทีวีอีกที่ประมาณกว่า 9 พันล้านบาท และอย่าลืมนะครับค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดในประเทศอื่นๆ ยังไม่นับรวมอยู่ในตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้นแต่อย่างใด

thaileague2

จากตัวเลขค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดปัจจุบัน สโมสรในพรีเมียร์ลีกจะได้เงินมาแบ่งกันปีละกว่า 75,000 ล้านบาท คิดเฉลี่ยง่ายๆ แบบยังไม่นับอันดับที่จบในแต่ละปีก็ทีมละเกือบ 4 พันล้านบาท ได้ยินตัวเลขอย่างนี้ก็ไม่ต้องสงสัยครับว่าทำไมเวลาทีมตกชั้นทีก็จะเป็นจะตายเพราะส่วนแบ่งมันเยอะเหลือเกิน

นอกจากแบ่งให้ทีมแล้ว เงินที่ได้จากการขายลิขสิทธิ์บางส่วนประมาณ 12,000 ล้านบาทก็จะถูกนำไปใช้เพื่อสังคมเช่นการสร้างสนามฟุตบอลเพิ่มในชุมชนต่างๆ การสนับสนุนเยาวชนและก็มีบางส่วนที่แบ่งให้ทีมในลีกระดับล่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพฟุตบอลในภาพรวมด้วย

ฟังดูแล้วก็อิจฉานะครับสำหรับวงการฟุตบอลไทยของเราที่เพิ่มเริ่มตั้งไข่แบบมืออาชีพกันได้ไม่นาน แต่ก็นับว่าไม่เลวทีเดียวที่สร้างความนิยมขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วและเริ่มเห็นความสำเร็จทั้งในเชิงพาณิชย์ที่มีการประมูลลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกันเป็นหลักร้อยล้านพันล้านกันแล้ว บรรดาสปอนเซอร์ให้ความสนใจสนับสนุนกันมากขึ้นทั้งหวังผลในระยะสั้นและทุ่มเทเพื่อช่วยสร้างรากฐานในระยะยาว

thaileague3

แต่มาถึงจุดๆ หนึ่งผมเชื่อว่าความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ไม่ได้สร้างศรัทธาอย่างยั่งยืนในใจของแฟนฟุตบอลครับ แต่เป็นเรื่องเดิมๆ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังและรับรู้ผ่านสื่อและปากต่อปาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมาตรฐานกรรมการผู้ตัดสินที่อาจจะยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือวางระบบสนับสนุนให้เท่าเทียมกับสิ่งที่แต่ละสโมสรลงทุนในการสร้างผู้เล่นและทีม รวมถึงปัญหาหลังฉากแต่สำคัญยิ่งกว่าอื่นใด ก็คือเรื่องของการแบ่งขั้ว ฝ่าย พรรคพวก ที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ต่างๆ ที่ผู้ใหญ่ในวงการทุกคนต้องหันหน้าเข้าหากันและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังและมีจุดหมายอันเดียวกันคือสร้างให้วงการฟุตบอลไทยพัฒนาไปให้ไกลที่สุดถ้าทำได้เชื่อเลยครับว่าวงการฟุตบอลเราไปได้อีกไกล

 

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม