หรือสำนัก The Athletic จะเป็น Netflix วงการกีฬา?

การจะแนะนำอะไร “เกี่ยวกับ Netflix” เพียงหนึ่งบรรทัด สำหรับผม มันอาจจะเรียบง่ายเกินไป…  เหมือนถ้าจะมีใคร “อธิบายสรรพคุณ” ของ Athletic เพียงแค่ 2-3 ประโยค

เนื่องเพราะพวกเขามีกระบวนการสลับซับซ้อน แม้จะก่อตั้งมาแค่ 3-4 ปี เนื่องจากพวกเขากำลังจะปฏิวัติวงการนักข่าวกีฬาสิ่งพิมพ์ ที่ว่ากันว่า “กำลังขาลงแบบดิ่งแรง” และเนื่องจากพวกเขาเอง ก็ถูกตั้งคำถามด้วยว่า จะเป็นผู้สร้างสรรค์หรือมาทำลาย ?

สูตรลัดเฉพาะที่แตกต่าง

Adam Hansmann (ซ้าย) และ Alex Mather (ขวา) co-founders ของ The Athletic ภาพจาก AXIOS

ขอเท้าความก่อนว่า Athletic คือสำนักข่าวที่ทำการ “กว้านซื้อตัว” นักข่าวเก่งๆ มือดี ระดับมือกระบี่ในสหราชอาณาจักร เรียกว่า The Guardian มาจนถึง The Independent หรือ The Sun เครือข่าย มาจนถึง Time และ The Times หากค่ายไหนมีนักข่าวกีฬาเก่งๆ ALT (ขอใช้คำย่อนี้) ก็จะติดต่อให้ลาออกจากที่เก่า มาทำงานกับพวกเขาทันที

เรื่องของเรื่องนี้ ต้องเล่าว่า นิตยสาร GQ ของอังกฤษ ส่งนักข่าวชื่อ โอลิเวอร์ แฟรงคลิน-วอลลิส กับช่างภาพ เดฟ อิมม์ บินไปคุยกับ อเล็กซ์ แมทเธอร์ ซึ่งเป็น CEO ของ ALT อเล็กซ์ก่อตั้งเว็บไซต์สำนักข่าวนี้มาตั้งแต่ปี 2016 ที่ชิคาโก้ แรกๆ ก็ไม่ได้มุ่งที่ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ทำแต่กีฬาของอเมริกันเป็นหลัก ซึ่งก็คือ NHL NBA

แต่เมื่อ “พรีเมียร์ลีก” กลายเป็นแบรนด์ลูกหนังที่ดีสุดในโลก มีราคาแพงสุดในโลก ที่ทำท่าว่าจะทำเงินทำทองไปอีกนานหลายปี เท่านั้นแหละ ATL ก็ทำการเปิดสาขาที่ลอนดอนทันที

คำถามคือ “ผู้มาทีหลัง” ที่ช้ากว่า 50 ปี ช้ากว่านสพ. วิทยุ ช้ากว่าทีวีและเว็บไซต์ ซึ่งฟุตบอลอังกฤษได้มีนักข่าวมือดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มายาวนาน ATL จะมาสู้รบปรบมืออะไร ในเมื่อตัวเองคืออเมริกัน ที่มาจากสายกีฬาบาสเกตบอล อเมริกันฟุตบอล และ เบสบอล ?

“ทุ่มเงินซื้อตัวมันเลยครับ” ! นักข่าวคนไหนดังๆ เก่งๆ ทุ่มเงินให้เลย 3-4 เท่าตัว นี่คือแนวทางแบบ fast track ของสำนักข่าว ATL ตัวอเล็กซ์นั้น ก่อนจะเปิดใจกับ GQ เขาเคยให้สัมภาษณ์กับ NY Times เมื่อปี 2017 “เราจะดึงตัวนักข่าวฝีมือดีมาร่วมงาน แล้วจะทำให้คู่แข่งแพ้เรา ทั้งทางข่าวและทางธุรกิจ เราจะทำให้พวกนั้น เลือดออกจนหมดตัว และเหลือเป็นคนสุดท้ายที่จะยืนหยัด”

ช่วง 2-3 ปีในการก่อตั้ง ATL มีสมาชิกมากถึง 600,000 คน และมีรายได้ถึง 90 ล้านเหรียญยูเอส อเล็กซ์ จึงมองว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะสร้าง เนตฟลิกซ์ของวงการกีฬา !

GQ รายงานว่า เวลา ALT อยากได้นักข่าวคนไหนในอังกฤษและอเมริกา วิธีคือเขาจะโทรหา เสนอเงินเดือน รายได้ มากกว่าที่เดิมถึง 3 เท่า การสัมภาษณ์จะมีขึ้นที่โรงแรม มาริออต ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน และนักข่าวหลายคนที่ “เดินสวนกันไปมา” ในโรงแรม จะแกล้งทำเป็นไม่เห็นกัน (ทั้งที่รู้จักกันอย่างดี)

ภาพจาก The Washington Post

“ผมออกมาจากห้องสัมภาษณ์ แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองถูกล้างสมอง” นักข่าวฟุตบอลคนหนึ่งในอังกฤษ บอก “มันเหมือนลัทธิเลย แล้วก็จะลุ้นกันว่า ใครบ้างจะถูกซื้อตัวไป ใครบ้างจะไม่ย้ายค่าย”

GQ บอกว่า ในเดือนพฤษภาคม 2018 ก่อนนัดชิงยุโรปที่มาดริดถล่มลิเวอร์พูลไป 3-1 นั้น …ในร้านอาหารที่ชื่อ Di Maria ซึ่งเป็นร้านอาหารอาร์เจนติน่า ที่นักข่าวจะชอบมากที่สุดของเมืองนั้น ทุกคนมารวมตัวกัน เพราะทุกๆ ปี นักเขียนที่ชื่อ โจนาธาน วิลสัน จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยง เพื่อให้ทุกคนมาสนทนา กินดื่มกัน แต่ทุกๆ ปี จะคุยเรื่องกีฬา

ทว่า ปีนั้น หัวข้อที่คุยคือ “ใครจะย้ายไป Athletic บ้าง และได้ข้อเสนอเท่าไหร่”

ข่าวรายงานว่า ขนาดมองไปอย่างไวๆ แบบข้ามหัว ยังเห็นนักข่าวมือดีของ The Gaurdian, NY Time, Independent แฟรงคลิน นักข่าว GQ บอกว่า เขาคิดว่าหลายคนในร้าน ได้รับข้อเสนอที่ช็อค เพราะเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่า ทั้งที่จะว่าไป สื่อเดิมที่ “พวกนั้น” นั่งทำอยู่ กำลังอยู่ในช่วงขาลง ใกล้แตะพื้นแล้ว

จะว่าไป บางคนก็แดกดันว่า อาชีพที่ “คนพวกนี้” ทำอยู่นั้น มันช่างน่าอิจฉา… เพราะงานของเขาคือ ไปดูฟุตบอลทีมดังๆ เกมใหญ่ๆ และก็ถูกต้อนรับอย่างดี เช่น เวลาบิน ก็จะได้นั่ง business class เวลานอน ก็จะได้นอนโรงแรม 5 ดาว แถมฟุตบอลที่โลกแย่งกันหาตั๋ว คนพวกนั้น ก็จะได้นั่งที่ดีๆ

“มันเป็นงานที่…ทุกคนน่าจะยอมทำแทน โดยไม่เอาเงินเดือนสักบาท” นักข่าวคนหนึ่งบอก GQ

สำนักข่าว Athletic ทำตัวเหมือนสโมสรมาดริด หรือแมนยู บาร์เซโลน่าหรือลิเวอร์พูล ที่ไล่เซ็นสัญญา ซื้อนักเตะ แต่เขาซื้อนักข่าวดังๆ เพื่อมาช่วยกันข่าวแบบ “เจาะลึก” เราจะไม่เอ่ยชื่อนักข่าว 57 คนที่เขา “รวบรัด” สำเร็จ แต่พอจะเอ่ยนามบางคนได้ เช่น จอร์จ คอลกินของ The Times, ไซม่อน ฮิวส์ของIndependent, เอมี ลอวเรนซ์ จาก The Guardian, ลอรีย์ วิทเวลล์ จาก Daily Mail, จอร์แดน แคมเบลล์จาก Sky Sport และ เดวิด โอสไตน์ จาก BBC

แต่คนที่ดังที่สุด ป๊อปที่สุด ไม่ใช่รายชื่อเหล่านี้

นักข่าวที่นักข่าวกีฬาด้วยกันยกย่องและยอมรับคือ เฮนรี วินเทอร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าข่าวกีฬาของ The Times เฮนรีเป็นคนเก่ง สามารถไปล้วงข่าวลึกๆ จากหลายๆ ทีมได้ มิหนำซ้ำ เขายังมี follower ถึง 1,300,000 คน สรรพคุณแบบนี้ ATL ชอบ ไม่ต้องเขย่าขวดเลย เพราะพร้อมหมด ความรู้ แฟนคลับ สายสัมพันธ์กับทีมต่างๆ โดยเฉพาะแฟนคลับนั้น ATL มองว่า เขาไม่ได้ซื้อ “แค่นักข่าวหนึ่งคน”

“แต่ซื้อทั้งแฟนคลับ สายสัมพันธ์กับทีม และความรู้ความสามารถ”

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม ค่าตัวของ เฮนรี จึงมีข่าวลือว่า อาจจะอยู่ในหลักล้านปอนด์ต่อปี แม้ว่าทางเจ้าตัวจะบอกว่า ไม่จริง

Henrywinter Athletic Sansiri Blog
Henry Winter ภาพจาก Football Whispers

ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยึดครองพื้นที่สื่อ กลวิธีคือ?

แล้วถ้า ATL ต้องการจะบุกเอาชนะข่าวสารของฟุตบอลอังกฤษ ด้วยการไปเปิดออฟฟิศที่ลอนดอน เขาจะมีแนวทางอย่างไร ที่จะเอาชนะ “แบบแผนข่าวสาร” ที่เคยทำมานานครึ่งศตวรรษ ?

อย่างแรก เขาจะวางตัวนักข่าวไปเลยว่า ให้ทำข่าวทีมใดทีมหนึ่งไปเลย แบบเจาะลึก แบบว่าเดินเข้าเดินออกสโมสร สนิทกับพีอาร์ คุ้นเคยกับเอเจนท์ ถ้าทำข่าวแมนยู ก็แมนยูไปเลย

ประการต่อมา ไม่รายงานแบบเร่งรีบ ไม่ส่งข่าวสั้นๆ แบบตื้นๆ แบบนักข่าวยุคก่อน แต่เอาข่าวแบบเจาะลึก ข่าวแบบที่ ไม่มีใครเคยรายงาน ไม่มีใครรู้ และแฟนบอลต้อง wow! เพราะถ้าแฟนบอลส่งเสียงคราง พวกเขาจะบอกกันต่อไปเรื่อยๆ … แล้วจากนั้น ถ้าใครอยากอ่านข่าวของ Athletic ต้องเสียเงินอ่าน ด้วยการเป็นสมาชิก

นาทีนี้ที่ทุกคนอ่านบทความนี้อยู่ นักข่าวหลายชีวิตอาจจะกำลังสัมภาษณ์ทางมือถือ กับนักฟุตบอล หรือกินข้าวที่บ้านเอเจนท์ GQ ไม่ได้ยืนยันว่า วิธีการแบบ Athletic จะเวิร์ค

แต่ถ้ามันประสบความสำเร็จ พวกเขาจะเป็น The Netflix of Sport ! และแน่นอนว่าอาชีพนักข่าวกีฬา จะป๊อปมากกว่าเซเลบบางคน ดังกว่าดารา และมียอด follower มากกว่าราชวงศ์อังกฤษ !

(แปลจากบทความนิตยสาร GQ เมษายน 2020)

Related Articles

7 เรื่องฟุตบอลที่ใครอาจไม่รู้!

โจนาธาน วิลสัน นักข่าว คนเขียนบทความของ The Guardian พูดเหมือน “หมาเฝ้าบ้าน” ที่มีคนตาม follow ล้านกว่า อย่าง Henry Winter ที่ไปออกความเห็นใน GQ ว่า “ฟุตบอล” คือตลาดที่ใหญ่ที่สุด กว้างกว่า

European Super League Feature

ความเป็นไปได้อีกครั้งของ European Super League?

ในปีนี้ผมเขียนถึงประเด็นของลีกฟุตบอลในทวีปยุโรปที่นับวันจะมีความเป็นพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ มาก็หลายครั้งแล้ว แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ส่อให้เห็นว่า โครงสร้างของการแข่งขันฟุตบอลลีกแบบเดิมๆ ในทวีปยุโรปนี้กำลังถูกรุกรานและคุกคามจากอำนาจของเงินตราและผลประโยชน์จำนวนหลายแสนล้านบาทที่มองไปตอนนี้ยังไงผมก็ยังเห็นกรรมวิธีการแบ่งเค้กในเรื่องของรายได้ระหว่างสโมสรในลีกยอดนิยม กับสโมสรในลีกที่ถดถอย หรือระหว่างสโมสรยักษ์ใหญ่ กับสโมสรเล็กๆ ยังไงๆ ก็คงหาจุดลงตัวได้ยาก ถ้าผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ผมมาตลอดจะพอจำได้ว่าผมเคยเขียนถึงบรรดาสโมสรยักษ์ใหญ่ในลีกของยุโรปที่ถูกนายทุนและเจ้าของเงินทั้งจากสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการจากเจ้าของเก่าหรือเข้าไปถือหุ้นเป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่สุดของสโมสรอันเนื่องมาจากโอกาสในการทำรายได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์ค่าถ่ายทอดสดที่เราพูดกันที่ตัวเลขหลักแสนล้านบาทกันแล้วสำหรับ EPL ไม่ว่าจะเป็นสโมสร Arsenal, Aston Villa, Bournemouth, Liverpool,

“สถานีแรก” ของแฟชั่นเสื้อบอล

นิตยสาร Wired ผู้คุยว่ามักจะล้ำสมัยในเนื้อหา ได้บอกไว้ว่า โลกหลังยุคโควิด-19 หรือเรียกเท่ๆ ว่า New Normal จะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว  ทว่า บทบาทใหม่ในโลกออนไลน์ ยังคงเป็นของ Top 4 อันไม่ได้หมายถึง แมนซิ ลิเวอร์พูล แมนยู หรือ