โค้ชแบบไหนที่นำความสนุกมาสู่เกมฟุตบอล

เกมฟุตบอล EPL ในช่วงท้ายปีและเปิดปีใหม่มาคงไม่มีนัดไหนที่เรียกความสนใจได้เท่าเกมระหว่าง Liverpool กับ Manchester City ที่เพิ่งจบไป สำหรับแฟนบอลทั่วไป นัดนี้คือเกมระหว่างทีมอันดับต้นๆ ตารางในฤดูกาลนี้มาเจอกัน แน่นอนมีความน่าสนใจในตัวมันเอง แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมให้ความสนใจ (นอกเหนือจากการเป็นแฟนลิเวอร์พูล) ก็คือเป็นการพบกันระหว่าง 2 โค้ชรุ่นปัจจุบันที่มีความน่าสนใจมากๆ ทั้งแนวคิด การวางแผนทีม การวางตัว ฯลฯ อย่าง Guardiola และ Klopp นั่นเอง

 

สิ่งหนึ่งที่นักวิจารณ์หลายคนเทใจให้กับทั้ง Klopp และ Guardiola ก็คือทั้งสองคนเป็นโค้ชที่สร้างเสน่ห์ให้กับฟุตบอลด้วยสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมบุกและสร้างความตื่นเต้นสีสันให้กับแฟนบอลได้อย่างดี ยกตัวอย่าง Guardiola ให้เห็นชัดๆ เลยครับ จากสถิติบอกไว้ว่าก่อนหน้าเกมแม็ทช์ Liverpool VS Man City นี้ ทีมที่ Guardiola เคยคุม (Barcelona, Bayern, Man City) มาจนถึงปัจจุบันนี้นั้นทำประตูรวมกันถึง 1,280 ประตูแล้ว เมื่อรวม 3 ลูกในนัดนี้ ตัว Guardiola มีประวัติเป็นโค้ชมาประมาณ 10 ปี ดังนั้นสรุปง่ายๆ ว่าตั้งแต่เค้าทำทีมมา แต่ละปีทำประตูเฉลี่ย 128 ลูกในแต่ละฤดูกาล ซึ่งน่าจะกินขาดโค้ชคนอื่นแน่นอนครับ

Pep Guardiola

และในฤดูกาลนี้ ทั้ง Liverpool และ Man City ก็นำโด่งเป็น 2 อันดับแรกของทีมใน EPL ที่ทำประตูได้มากสุด มีอัตราการปั้นและจบสกอร์สูงสุด โดยสองทีมนี้ได้มีโอกาสส่องประตูรวมกันถึงกว่า 800 ครั้งไปแล้วเมื่อผ่านไป 23 นัด สรุปแต่ละทีมค่าเฉลี่ยมีโอกาสส่องไปทีมละประมาณ 20 ครั้งต่อเกม เยอะมากนะครับ และในลีกยุโรปนั้นทั้งสองทีมก็มีสถิติการทำประตูเป็นรองก็แค่ PSG เท่านั้นเอง ซึ่งถ้าลองพิจารณาดีๆ ผมว่าอย่าไปนับ PSG เลยเพราะลีกฝรั่งเศสเองนั้น PSG เหนือกว่าทีมอื่นหลายขุม ใครเจอ PSG ทีมเงินหนาซุปเปอร์สตาร์ขนาดนั้น ยังไงๆ ก็โดน

Jürgen Klopp

ถ้าลองมองในเชิง Tactic แล้ว จะเห็นว่าการทำทีมของทั้ง Klopp และ Guardiola นั้นเป็นแบบ Pressing Football หรือสไตล์การเล่นบอลที่สร้างแรงกดดันด้วยการเซ็ท Formation และไล่ล่าเพื่อบีบให้ทีมตรงข้ามเร่งออกบอลและสร้างเปอร์เซ็นต์ในโอกาสที่จะเล่นพลาดสูงขึ้น ซึ่งสไตล์การทำทีมแบบนี้ที่โดดเด่นในยุคปัจจุบันนอกจาก 2 คนนี้แล้วก็เช่น Ronald Koemann หรือ Pochettino ของ Tottenham แต่ถ้าย้อนไปดูรากเหง้าของสไตล์การเล่นนี้ก็มีตั้งแต่ Rinus Michel อดีตยอดโค้ชชาวดัทช์มาถึง Johan Cruyff แล้วและถ้าในยุคถัดมาเราก็เห็น Arrigo Sacchi อดีตโค้ชของ AC Milan ยุคปลาย 80’s มาถึงปลาย 90’s ที่ทำให้ Milan เป็นยอดทีมในยุคนั้น

มีอีกคำหนึ่งที่มักถูกใช้ในการวิเคราะห์การทำทีมของ Guardiola และ Klopp ก็คือ Counter-Press นั่นคือรูปแบบการเล่นที่เมื่อใดทีมเสียการครองบอลระหว่างการขึ้นเกมบุก สิ่งที่ทีมต้องทำคือพยายามไล่บอลตั้งแต่อยู่ในแดนฝ่ายตรงข้ามและสร้างแรงกดดันให้ทีมตรงข้ามไม่สามารถเปลี่ยนมาทำเกมรุกได้ ต่างกับแทคติกที่โค้ชส่วนมากบอกว่าเมื่อเสียบอลให้ทุกคนลงมาประจำตำแหน่งเพื่อตั้งเกมรับ ลองย้อนกลับไปดูสมัย Guradiola ทำทีม Barcelona ทุกครั้งที่ทีมมีการเสียบอลให้กับทีมตรงข้าม ว่ากันว่า Guardiola จะบอกให้ทุกคนในทีมช่วยกันสร้างแรงกดดันภายใน 7-8 วินาทีแรก ช่วยกันไล่บอลและประกบตัวเพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามขึ้นบอลได้ ซึ่งจะเป็นการบีบให้ทีมตรงข้ามต้องโยนยาวและมีโอกาสเสียการครองบอลง่ายขึ้น

ในรูปแบบการเล่น Counter-Press ของ Guardiola นั้นวัตถุประสงค์จะเป็นเพื่อการป้องกันและประวิงเวลามิให้ทีมตรงข้ามขึ้นเกมได้เร็ว และเพื่อให้ผู้เล่นในตำแหน่งรับมีเวลากลับมาเข้าที่ได้ แต่ถ้าเราดูสไตล์การใช้ Counter-Press ของ Klopp แล้วล่ะก็จะเห็นว่าเค้าเขยิบขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่ง Klopp มองว่า ณ โมเมนต์ที่ทีมเค้าสร้างเกมบุกและเสียบอลให้กับคู่ต่อสู้ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะต้องรีบปรับรูปเกมให้เตรียมรับ เพราะเค้าบอกว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือฝ่ายตรงข้ามจะปรับ Formation เป็นแบบเตรียมรุก นั่นหมายถึงที่ว่างในเกมรับของคู่ต่อสู้ที่อาจจะเปิดออก และนั่นคือจังหวะที่เหมาะที่สุดที่จะกดดันเพื่อแย่งชิงบอลมาเพื่อเข้าทำประตูเพราะทีมเค้าเองก็ยังอยู่ในรูปแบบการทำเกมบุกอยู่

นั่นคือสไตล์การเล่นที่เราเห็นเค้าใช้กับ Dortmund และ Liverpool ในปัจจุบัน ลองนึกภาพดูครับ ด้วยผู้เล่นอย่าง Mane กับ Salah หรือ Lewandowski กับ Marco Reus ที่มีความเร็วและทักษะสูง ถ้าหากเกมรุกเกิดเสียบอล เกิดการเล่นแบบ Counter-Press ขึ้นทั้งสองยังอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะเปิดเกมบุกต่อ แย่งบอลมาได้เร็วเท่าไหร่โอกาสได้ประตูก็จะมีมากขึ้น

Marco Reus and Lewandowski

สำหรับ Liverpool เมื่อ Coutinho จากไป หลายๆ คนมองว่าจะเป็นจุดที่ทีมต้องจัดการหาวิธีอุดรูรั่วดังกล่าว แต่ Klopp ก็พิสูจน์ให้เห็นในเกมนี้แล้วว่าการขาดดาราไปคนเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรูปเกมของทีมเลยแม้แต่น้อยอันเนื่องด้วยกลวิธีและ Tactic ในการจัดทีมและการวางแผนการเล่นของเค้า ซึ่งจะว่าไปเป็นความจำเป็นที่ Klopp เองต้องพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า Liverpool เป็นทีมที่อยู่ได้เองไม่ต้องพึ่งพา Superstar เพียงคนเดียวในการสร้างเกมตามที่เค้าได้ออกปากไว้ สไตล์การเล่น Counter-Press ที่เน้นการบดขยี้เพื่อช่วงชิงและเร่งเกมยังคงอยู่ให้แฟนๆ ได้มันส์กับเกม

ธชตวัน ศรีปาน

ในวงการฟุตบอลไทยเรามักไม่ค่อยได้เห็นการวิเคราะห์มุมมองการทีมของโค้ชทีมในลีกของเราสักเท่าไหร่ ด้วยที่วงการฟุตบอลไทยเรา Glorify นักเตะมากกว่าคนเบื้องหลังก็อาจทำให้เราเทความสำคัญไปให้กับตัวนักเตะมากกว่าแทคติกที่โค้ชได้วางไว้ แต่ตัวอย่างที่น่าสนใจก็เช่น คุณธชตวัน ศรีปาน ผมเคยได้มีโอกาสพูดคุยด้วยก็ได้ทราบว่าตัวแกเองนั้นก็ชื่นชอบสไตล์ของ Guardiola อยู่ไม่น้อยและได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการทำทีมและแทคติกเพื่อนำมาประยุกต์กับทีมของตน ก็นับว่าเป็นตัวอย่างที่โค้ชรุ่นใหม่ๆ ได้ลองคิดดูครับ บางทีของดีมันมีอยู่ให้เราเห็นอยู่แล้ว แค่เราเปิดใจรับมัน ยอมรับว่ามีคนที่เก่งกว่าเรา ศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ วิเคราะห์ว่าเหมาะไม่เหมาะตรงไหน เลือกหยิบเอาของดีมาใช้ให้ถูกจุด นั่นคือกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมได้อย่างหนึ่งแน่นอนครับ

 

บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามกีฬา ฉบับวันที่  12 มกราคม 2561

ติดตามมุมมองสบายๆ ของเศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับกีฬาและสังคมได้ที่ คลิก

 

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม