โมเดลใหม่ของตลาดเงินทุนสำหรับ องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

ในเรื่องของการจัดการปัญหาสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากจน ปัญหาประชากรขาดการศึกษาที่เหมาะสม ปัญหาโรคภัยร้ายแรง หรือการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานหรือพลัดถิ่นของประชากรจากเหตุสงครามกลางเมือง สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลประเทศต่างๆ และหน่วยงานการกุศลและองค์กรระหว่างประเทศต้องประสบปัญหาคล้ายๆ กันตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาก็คือเรื่องการระดมทุนเพื่อที่จะใช้ในการดำเนินการและบรรลุเป้าหมายที่เรียกได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญและยากไม่แพ้การจัดการปัญหาเลยทีเดียว ซึ่งโดยมากรูปแบบการระดมทุนที่เราคุ้นเคยกันมาตลอดก็จะเป็นการบริจาคเงินเข้าหน่วยงานเหล่านั้นหรือการตั้งงบประมาณของรัฐบาลที่ต้องผ่านกระบวนการแบบดั้งเดิมที่ทำกันมานานแสนนานแล้ว

 

โมเดลใหม่ของตลาดเงินทุนสำหรับ องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

นั่นคือปัญหาใหญ่ของฝั่งองค์กรและรัฐบาล ในขณะเดียวกันฝั่งของหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลที่อุทิศตนให้กับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือที่เรียกตัวเองว่า Social Entrepreneur ก็ประสบปัญหาในการเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองสืบเนื่องมาจากปัญหาเงินทุนดังกล่าวข้างต้นที่ยังใช้ระบบเดิมในการระดมทุน กระบวนการยื่นขออนุมัติต่างๆ เป็นไปตามระบบระเบียบเดิมๆ ที่ถูกวางไว้เป็นศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่อีกฟากของตลาดทุนสำหรับองค์กรธุรกิจเพื่อทำกำไรกลับมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นๆ เรื่อยๆ ยิ่งในยุคเชื่อมต่อระหว่าง 1960’s กลางๆ ถึง 1970’s ต้นๆ ที่มีการสร้าง Investment Vehicle ตัวใหม่ขึ้นมาในชื่อของ Venture Capital หรือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน ซึ่งได้กลายมาเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในเศรษฐกิจยุคใหม่และส่งผลให้ Entrepreneurship เติบโตอย่างรวดเร็วในกว่า 50 ปีที่ผ่านมา

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจ Startup เพื่อทำกำไรสามารถคิดค้นพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อเติบโตไปเป็นบริษัทขนาดกลางและใหญ่ได้ด้วยเงินจาก Venture Capital แต่กลุ่ม Social Entrepreneur และองค์กรที่ไม่หวังกำไรกลับไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายแบบเดียวกัน ส่งผลให้พวกเค้าไม่สามารถพัฒนากระบวนการหรือริเริ่มไอเดียเพื่อที่จะได้ทดลองอะไรใหม่ๆ ในการจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัญหาบางอย่างแพร่กระจายเร็ว หรือมีการเปลี่ยนแปลง Dynamic ตลอดเวลา ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์กันระหว่าง Problem กับ Solution ในหลายๆ ครั้ง

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ Investment Vehicle อย่าง Venture Capital ไม่เคยได้ผลสำหรับองค์กรไม่หวังผลกำไร

ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผู้ลงทุนในกองทุนหรือ Venture Capital ต่างๆ จะพอทราบดีว่ามีบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารกองทุนเหล่านี้ให้ข้อมูลกับท่านในการประเมินผลการลงทุนในรูปแบบของผลตอบแทนเป็นตัวเงินหรือกำไรต่างๆ โดยตัวเลขเหล่านี้ก็ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ audit ต่างๆ มาแล้ว รวมถึงบรรดานักวิเคราะห์ทางการเงินต่างๆ ก็มีการให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องถึงสภาพตลาดและผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจนั้นๆ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจ ในทางกลับกันถ้าเป็นในส่วนขององค์กรไม่หวังผลกำไรนั้นการประเมินผล Impact ที่เกิดจากเงินที่ได้รับนั้นทำได้ยากและไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเป็นผลกำไรหรือราคาหุ้นให้เห็นเนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นบางครั้งไม่มีมาตรฐานดรรชนีในการตรวจจับหรือ Benchmark ที่ทำให้มองเห็นภาพ อีกทั้งผลกระทบบางครั้งเป็นผลกระทบในระยะยาวที่ยิ่งทำให้ยากในการมองเห็น

อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกเดินหน้าเข้าสู่ยุคของ Data Analytics รวมถึงเทคโนโลยีหลายๆ อย่างเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone หรือ Internet of Thing และ Sensor ที่มีราคาถูกลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การเก็บข้อมูลต่างๆ มาใช้ประมวลผลทำได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ต้องคอยลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ ปัจจุบันสามารถส่งข้อมูลหรือมอนิเตอร์ Real Time ได้ในหลายรูปแบบ สามารถมองเห็น Impact ได้รวดเร็วและปรับแผนงานได้รวดเร็วทันเหตุการณ์มากขึ้น ประเด็นเรื่องของการมองเห็น Return of Investment ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่เคยเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ในระยะหลังๆ เราจึงเริ่มเห็นหลายๆ องค์กรระดับโลกนำเอาแนวคิดของการระดมทุนแบบ Venture Capital ของ Silicon Valley มาใช้กันเยอะขึ้น โดย UNICEF ซึ่งเป็นองค์กรที่ผมได้มีโอกาสร่วมงานเป็นพันธมิตรด้วยนั้นก็เป็นรายหนึ่งที่กล้าจัดตั้ง Venture Capital ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกให้กับ Startup ในประเทศกำลังพัฒนาที่มีแนวความคิดและศักยภาพในการพัฒนา Solution ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในท้องที่นั้นๆ

ผมมาทราบและลองศึกษาแนวคิดนี้ของ UNICEF ภายหลังจากที่ทีมงานของบริษัทได้ไปเข้าฟังสัมมนาเรื่อง Innovation ที่อิสราเอลและมี UNICEF Venture เป็นหนึ่งใน Panel ด้วย ซึ่งมีหลายสิ่งครับที่ผมศึกษาดูแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยทีเดียว

องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

อย่างแรก แนวคิดนี้ของ UNICEF เป็นการนำเอาแนวคิดในเรื่องของ Agility ความยืดหยุ่นและกล้าเสี่ยงในการลงทุนมาผสมอย่างลงตัวกับลักษณะขององค์กรอย่าง UNICEF ที่มีเครือข่ายทั่วโลกและทำให้เรื่องของการ Scale Up ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ Startup นั้นทำได้อย่างรวดเร็ว

อย่างที่สอง UNICEF Innovation Fund นั้นมีหลักแนวคิดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานแบบ Collaborative ซึ่งส่งผลให้มีเงื่อนไขว่า Startup ที่ UNICEF Innovation Fund จะลงทุนนั้นต้องพัฒนา Solution ต่างๆ ในรูปแบบ Open Source หรือ Open Standard และ Open Data เพื่อที่จะเปิดให้ทุกคนเข้าถึงและเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้ง่าย ข้อดีที่จะเกิดขึ้นจากตรงนี้ (สำหรับคนที่ความรู้เรื่องไฮเทคงูๆ ปลาๆ อย่างผม) ก็คงจะเป็นการที่ Solution แต่ละอันที่ได้รับเงินสนับสนุนถูกนำไปพัฒนาต่อยอดโดยคนอื่นได้ สามารถประยุกต์ Solution ที่ใช้ได้จริงแล้วกับบางประเทศบางพื้นที่ให้ใช้ได้กับสภาพแวดล้อมอื่นได้ง่าย ส่งผลให้การได้รับประโยชน์จาก Solution นั้นๆ มีวงกว้างได้เร็วขึ้น

อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือแม้ UNICEF จะเป็นคนดูแลเงินทุน Innovation Fund นี้ แต่เมื่อลงทุนไปแล้ว UNICEF จะไม่เข้าไปมีส่วนในการถือหุ้นใดๆ ของ Startup เหล่านี้ รวมทั้งการที่ซอฟท์แวร์ต่างๆ ที่จะถูกพัฒนาขึ้นมานั้นเป็น Open Source ที่ใครก็เข้าถึงได้ไม่มีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรแต่อย่างใด ถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานของซอฟท์แวร์และระบบต่างๆ ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง

องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

อ่านจาก Annual Report ของปีที่แล้วก็มีตัวอย่างการให้เงินลงทุนไปแล้วเช่น Startup ชื่อ mPower จากบังคลาเทศที่พยายามจะสร้างแพล็ตฟอร์มดิจิตัลในเรื่องของการมอนิเตอร์สุขภาพของแม่และเด็กและการให้วัคซีนกับเด็กอย่างเป็นระบบ ซึ่งบริษัทนี้ก็ไม่ใช่เล่นเพราะผู้ร่วมก่อตั้งก็มาจากนักศึกษา MIT และ Harvard เลยทีเดียว หรืออีกรายก็เช่น Startup ที่ทำเรื่องเกี่ยวกับโดรนส่งวัคซีนเพื่อใช้ในประเทศ Vanuatu ที่เป็นหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิกซึ่งเข้าถึงยากทำให้เด็กในแต่ละครอบครัวมีโอกาสได้รับวัคซีนถูกต้องตามเวลามากขึ้น

องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

ก็นับเป็นเรื่องดีมากๆ ที่เราจะได้เห็นองค์กรระดับโลกนำเอาแนวคิดแบบใหม่ๆ มาใช้กับการจัดการปัญหาสังคมที่มีมานานแล้ว ในขณะเดียวกัน โลกของ Venture Capital ที่เคยถูกมองว่าเป็นสัตว์กระหายเงินจะมีโอกาสได้เปลี่ยนมุมมองบ้าง และผมเชื่อครับว่าจะมีนักลงทุนอีกมากมายที่จะหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดอย่าง UNICEF Innovation Fund กันมากขึ้น

 

บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Post Today ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2560

ติดตามมุมมองสบายๆ ของเศรษฐา ทวีสิน ได้ที่ คลิก

 

Related Articles

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ฟรีวีซ่า เปิดรับนักท่องเที่ยวจีน

ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วนของประเทศและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤติมาหลายระลอก หลังจากที่ได้เห็นแผนการกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว ดีใจที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ความสำคัญกับจังหวัดรองอย่าง สตูล จันทบุรี ระนอง ตราด จากเดิมมองแค่ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ผมมองว่าคุณภาพของนักท่องเที่ยวสำคัญ เน้นเรื่องการมาอยู่ยาว หรือลองสเตย์ ที่มาเมดิคัลเวลเนส ทำให้ระยะเวลาในการอยู่เร็วขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเงินเยอะขึ้น จากปีนี้ที่ต้องเป้าไว้ว่าจะได้นักท่องเที่ยว 10

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

มิติด้านสิ่งแวดล้อม ของ ESG กับภาคธุรกิจไทย

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ซึ่งย่อมาจาก environment (สิ่งแวดล้อม) social (สังคม) และ governance (บรรษัทภิบาล) ปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียน นักลงทุน และผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่สนใจไม่ได้ในตอนนี้ จากทั้ง 3 มิติดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนบอกว่าถ้ามองในมุมที่จับต้องได้แล้ว มิติด้านสิ่งแวดล้อม

tax, ภาษี

To tax or not to tax ?

ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหาเสียงของตัวแทนจากพรรคอนุรักษนิยม 2 คน ที่จะมาเสียบเก้าอี้นายกฯ แทน นายบอริส จอห์นสัน ซึ่งประกาศลาออกไปเมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งนโยบายหลักที่ทั้งนาง Liz Truss และ นาย Rishi Sunak ยกขึ้นมาถกเถียงกันเพื่อชิงคะแนนนิยมก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั่นเอง คนหนึ่งเสนอมาตรการลดภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาให้ต่ำลง ในขณะที่อีกคนหนึ่งบอกว่าการปรับลดภาษีอาจไม่ใช่ทางออกสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว ประเด็นภาษีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจในบริบทของประเทศไทยด้วยเช่นกัน