The Great Reset
มองอนาคต ผ่านคนต่าง Gen
หรือจะถึงคราวต้องเป็นมนุษย์เป็ด แถมแบกภาระตัวโต!

ในช่วงที่ COVID-19 กระจายตัวไปทั่วโลก หลายคนอาจนึกถึงหรืออาจเคยได้ยินคำที่ว่า “The Great Reset” กันมาบ้าง ก็เพราะ COVID-19 นี้เองได้กลายเป็นเหมือนตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของสังคมเราให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ราวกับกดปุ่มรีเซ็ตใหม่!

เมื่อการรีเซ็ตครั้งใหญ่ หรือ The Great Reset ได้ย่างกรายเข้ามา จึงทำให้โลกเริ่มเปลี่ยนไปจากที่เราเคยรู้จัก และแน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนเจเนอเรชั่นใหม่ แล้วแบบนี้โลกอนาคต…จะเป็นอย่างไร?

คุณเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของแสนสิริ ตัวแทนคนจากยุค Baby Boomer ที่ผ่านวิกฤตและช่วงเวลาสำคัญมาหลายยุคหลายสมัย จึงได้ชวนคนรุ่นใหม่ต่างวัยที่ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่าคือ “อนาคต” มาร่วมพูดคุยกันใน SIRI Podcast รายการ “คุยนอกทวีต” ทั้งตัวแทนของ Gen Z อย่างน้องแสนดี-แสนดี เทพเลิศบุญ นักเรียนเกรด 7 จาก VERSO International School ที่เคยกล่าวกับคุณเศรษฐามาแล้วว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ และน้องหมูแฮม-นรมน ปุณยชัยพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอก Digital Transformation and Innovation ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ผ่านการฝึกงานกับแสนสิริมาแล้ว

เด็กในโลกปัจจุบัน มุ่งหน้าสู่ความฝันในอนาคต

การเข้ามาของ COVID-19 ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไป แน่นอนว่าน้องหมูแฮมและน้องแสนดีเองก็ต้องทำความคุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์ที่บ้านมากขึ้น และในช่วงเวลานี้ที่การรักษาสุขภาพต้องวิ่งนำหน้ามาเป็นที่ 1 ก่อนอะไร ก็เป็นช่วงที่การเข้าสังคมหรือการมีความปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆ รวมทั้งมนุษย์ทุกคนต้องลดน้อยลงไป

แต่ไม่ว่าอย่างไรความฝันต่อชีวิตในอนาคตก็ยังคงอยู่ สำหรับน้องแสนดีนั้นเป็นคนหนึ่งที่มุ่งมั่นในการเป็นศัลยแพทย์ผู้ไม่เพียงมีความรู้ในอาชีพของตน แต่ยังมีความรู้และทักษะหลากหลายด้าน เช่นอาจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจควบคู่กันไป เพราะอนาคต ไม่ว่าจะอาชีพไหน ก็คงไม่ได้ต้องการแค่คนที่มีความรู้ แต่ต้องการคนที่มีทักษะหลากหลายและนำไปปรับใช้ต่อไปได้ สิ่งนี้เองคุณเศรษฐามองว่าน่าสนใจ เพราะหลายๆ องค์กรระหว่างประเทศในยุคนี้ก็ต่างค้นหาเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ เพื่อช่วยค้ำจุนคนที่อายุมากต่อไปอยู่เช่นกัน

เมื่อเด็กต้องแบกปัญหาไว้บนบ่า อนาคตจะก้าวต่อไปอย่างไร?

คุยนอกทวีต

คุณเศรษฐาและเด็กๆ ยังมองว่าการที่เด็กยุคนี้ต้องมีทักษะในหลายๆ ด้านและการต้องเป็นคนประสบความสำเร็จให้ได้ อีกทั้งยังต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมและอะไรอีกมากมายหลายอย่าง ทำให้เด็กต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็นเสมือนภาระอันใหญ่หลวง

เด็กสมัยนี้ต้องแบกภาระเยอะมาก อย่างเช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องพลังงานหมุนเวียน สมัยก่อนไม่มีใครได้ยินเลยคำว่า Equality ความเท่าเทียมในสังคม ไม่ว่าจะเรื่องชนชั้น สีผิว เรื่องเพศ ซึ่งผมว่าเป็นอะไรที่เด็กสมัยใหม่ต้องแบกไว้เยอะ แล้วก็ต้องเข้าใจด้วย ถ้าไม่เก่งจริง ไม่เข้าใจสิ่งพวกนี้ ละเลย สังคมในอนาคตจะก้าวไปได้ลำบาก

คุณเศรษฐา ทวีสิน

แม้แต่ในช่วงเวลาแห่งวิกฤติ COVID-19 นี้ ก็ยังสะท้อนให้เราเห็นถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศได้ชัดเจน เพราะผู้หญิงกลายเป็นผู้ที่ถูกกระทบกว่าใคร เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ที่บ้าน คุณแม่ก็ต้องทำงานจากที่บ้าน ต้องหาข้าวปลาให้ลูกทาน และต้องทำงานบ้านอยู่เช่นเดิม ทั้งๆ ที่งานบ้านไม่ได้เป็นเพียง “งานของผู้หญิง” อย่างที่สมัยก่อนเชื่อกัน นี่ยังน่าแปลกใจว่าเราได้เห็นเชฟระดับโลกมากมายที่เป็นผู้ชาย แต่หลายคนกลับยังมองเป็นเรื่องแปลกในการที่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายทำอาหารให้ครอบครัวบ้าง ดังนั้นถ้าเราไม่ยอมหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มาพูดคุยกันหรือเริ่มต้นปลูกฝังจากในโรงเรียน สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาและผู้หญิงก็จะถูกเอาเปรียบต่อไป

โรงเรียนควรให้ความรู้เราในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ โดยไม่ใช่จากมุมมองที่อคติ

น้องแสนดี – แสนดี เทพเลิศบุญ

คุณเศรษฐายังเสริมว่าปัจจุบันโลกของเรา มีผู้หญิงที่เป็น CEO มากขึ้น อย่างเช่น จาซินดา อาร์เดิร์น (Jacinda Ardern) ประธานาธิบดีหญิงนิวซีแลนด์ หรือผู้ทรงอิทธิพลอย่างอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) ประธานาธิบดีเยอรมันที่ถือว่าเป็นเหล่าผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์การเมืองโลกเลยทีเดียว

โลกอนาคตถูกรีเซ็ต! แล้วเรื่องเรียน เรื่องงาน เด็กรุ่นใหม่จะหันไปทางไหนดี?

คุยนอกทวีต

แอบหวั่นๆ เรื่องการหางานอยู่ แม้ว่างานที่จะทำจะเป็นงานที่มีความเฉพาะทางในบางด้าน แต่เราก็ไม่รู้ว่าองค์กรที่เราอยากจะเข้าไปอยู่จะเปิดรับไหม จะมีเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า ณ ตอนนั้น

น้องหมูแฮม-นรมน ปุณยชัย

เมื่อนึกถึงโลกหลัง COVID-19 น้องหมูแฮมที่อีกไม่นานจะก้าวสู่วัยทำงานอย่างเต็มตัวก็อดหวั่นใจไม่ได้ว่าที่ที่หมายตาไว้จะเปิดรับเข้าทำงานหรือเปล่า หรือเข้าไปทำงานแล้ว รูปแบบการทำงานอาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เช่น อาจต้องทำงานจากที่บ้านเป็นหลัก คุณเศรษฐาจึงได้แนะนำว่าเด็กๆ รุ่นใหม่อาจต้องลองคิด “แผนสอง” เผื่อไว้ด้วยเช่นกัน

สำหรับน้องแสนดีนั้นยังมองว่าท่ามกลางวิกฤตินี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตเสมอ

COVID-19 ทำให้เราต้องเรียนรู้ ปรับตัว และเริ่มต้นใหม่ เพราะมันเปลี่ยนหลายอย่างที่เกี่ยวกับอนาคตไป รุ่นเรายังเด็ก มีความยืดหยุ่นสูง จึงยังปรับตัวได้

น้องแสนดี-แสนดี เทพเลิศบุญ

การทำงานต่างประเทศก็อาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันโลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน จึงต้องเรียนรู้และเตรียมตัวให้ดี โดยน้องหมูแฮมยังชวนให้เราฉุกคิดได้อย่างน่าสนใจ เพราะมองว่าเรื่องภาษาที่ 3 ก็สำคัญ และการเป็น “มนุษย์เป็ด” ที่มีความรู้หลากหลายด้าน เก่งในหลายๆ ทักษะ ต่อไปจะเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องการ

การเป็นมนุษย์เป็ด ไม่ได้แย่เสมอไป…มนุษย์เป็ดคือคนที่เก่งหลายๆ ด้าน เก่งหลายๆ ทักษะ สมัยก่อนจะมีแต่คนบอกเก่งอย่างนี้ไปเลยสิ เชี่ยวชาญทางนั้นไปเลย แต่จริงๆ แล้ว ในยุคนี้ มนุษย์เป็ดเป็นคนที่หลายๆ องค์กรต้องการ เพราะสามารถทำได้หมดเลย เช่น คนนี้เป็นนักการตลาด แต่ก็สามารถทำกราฟิกได้ด้วย ดูเรื่องการสื่อสารได้ด้วย

น้องหมูแฮม-นรมน ปุณยชัย

คุณเศรษฐายังเน้นว่าสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของการมีทักษะคือทัศนคติของคน เช่น ถ้าเจอคนที่บอกว่าผมทำได้แต่ผมไม่อยากทำ ในช่วงแบบนี้อาจเลือกไม่ได้ที่จะไม่ทำ นอกจากนี้น้องหมูแฮมอาจได้งานไม่ตรงใจมากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ดีก็จะช่วยขัดเกลาเราให้เป็นคนที่มีวินัย มีทักษะในการนำเสนอ และบริหารเวลาได้ดี โดยถือเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานที่คนเราต้องพัฒนาให้ได้

เศรษฐา ทวีสิน

ช่วงหลัง COVID-19 อาจเป็นช่วงที่งานที่ตัวเองอยากได้แล้วไม่ได้ แต่ถ้าเขาเห็นว่าเรามีทักษะที่ดี ทัศคติเป็นบวก ก็อาจจะจ้างได้ เพียงแต่อาจต้องไปทำอย่างอื่น…ไปเรียนรู้ก่อน แล้วค่อยก้าวกระโดดไปจากตรงนั้น

คุณเศรษฐา ทวีสิน

คุณเศรษฐายังแนะนำน้องแสนดีว่าเป็นเรื่องที่ดีที่รู้ว่าเราต้องการอะไร แต่อย่าปิดกั้นตัวเอง หากชอบอย่างอื่นและอยากจะเปลี่ยนความฝัน ก็ต้องเปิดโอกาสให้ตัวเองมีทางเลือกด้วยเช่นกัน ส่วนหากน้องหมูแฮมไปไม่ถึงบริษัทที่ต้องการ ก็อาจต้องเรียนต่อไปก่อน โดยเตรียบสอบเก็บคะแนนต่างๆ ไว้ เหมือนกับเป็นแผนสำรอง

น้องแสนดียังได้หยิบคุกกี้สำหรับคนรักสุขภาพที่อบกับมือมาให้คุณเศรษฐาและน้องหมูแฮมได้ลิ้มลอง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มธุรกิจของตัวเองพร้อมๆ กับแฝงการใส่ใจสุขภาพไปด้วยพร้อมๆ กัน คุณเศรษฐาเองมองว่าเป็นเรื่องน่าสนใจมาก โดยในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาอย่างดี เพราะคนที่กินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพก็อาจกลายเป็นภาระของสังคมได้

ปัญหาสิ่งแวดล้อม…ผลักภาระให้คน Gen ใหม่มากไปหรือเปล่า?

เศรษฐา ทวีสิน

นอกจากเรื่องสุขภาพของคน เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องใส่ใจ เช่นเดียวกับที่น้องแสนดีหยิบยกเรื่องการสั่งอาหารแบบ Delivery ในยุคนี้ขึ้นมา เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีขยะพลาสติกจากการห่ออาหารเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาวในแง่ที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่กับขยะพลาสติกเหล่านี้ไปอีกนานหากไม่ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

แม้แต่ปัญหามลภาวะจากฝุ่น PM 2.5 ก็ไม่อาจละเลยได้ คุณเศรษฐาให้ความเห็นว่าจริงอยู่ที่ช่วงนี้คนออกจากบ้านน้อยลง ฝุ่นควันจากท่อไอเสียก็น้อยลง แต่ก็พร้อมกลับมาทุกเมื่อ ที่แสนสิริและตัวคุณเศรษฐานั้นจึงมีการนำรถรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ รัฐบาลเองก็ควรมีส่วนร่วมเช่นกันในการจัดหาเทคโนโลยีชาร์จเร็ว (Fast Charge) ให้ตอบโจทย์การเดินทางของคนและจัดสรรจุดชาร์จไฟฟ้าอย่างเพียงพอตามปั๊มน้ำมัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เรามีประชากรที่มีความรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ โดยการเป็นประชากรที่ดีของโลกนั้นนับเป็นเรื่องของคนทุกคน

คุณอยากเป็นใคร เป็นอะไร ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เป็นเป้าหมายของคนแต่คน แต่คนเราอยู่ในสังคมก็ควรต้องมีจุดยืนร่วม ซึ่งควรเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเถียงกันได้ เช่น เรื่องความสะอาดและสิ่งแวดล้อม เถียงไม่ได้ว่าทุกคนอยากให้สังคมเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด การบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของฉันมันไม่ใช่ มันเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องนำมาซึ่งเป้าหมายร่วมนี้ให้ได้

คุณเศรษฐา ทวีสิน

แต่ทั้งนี้เราก็ไม่ควรกดดันตัวเองหรือตั้งเป้าหมายสูงเกินไป เพียงรู้จักหน้าที่ตัวเอง สิ่งไหนช่วยได้ก็ช่วยแก้ไข อาจริเริ่มให้มากขึ้นในสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ เช่น การไม่ใช้ถุงพลาสติก และสร้างความตระหนักให้กับคนใกล้ตัวในเรื่องนี้ หรืออาจใช้โซเชียลมีเดียของจนเป็นกระบอกเสียง ส่วนเมื่อเติบโตขึ้นอีก ภาระหน้าที่ก็ย่อมมีมากขึ้น บทบาทในสังคมที่ต้องขยายกว้างขึ้น

น้องหมูแฮมเองยังเสนอแนวคิดที่ให้ทุกคนมองเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องปกติในชีวิตที่หากเราสามารถมีส่วนร่วมได้ก็เข้าไปช่วยกันทำให้ดีขึ้น

เราอาจไม่ต้องมองเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม เรื่องความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาต่างๆ ว่ามันเป็นหน้าที่ แต่ให้มองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือเรื่องชีวิตประจำวันที่เรามีส่วนตรงไหนได้ ช่วยตรงไหนได้ ก็ช่วย อย่างเช่นวัยน้องแสนดีอาจช่วยเรื่องถุงพลาสติก คนหนึ่งคนขยายไปเรื่อยๆ ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

น้องหมูแฮม-นรมน ปุณยชัย

แต่อย่างไรก็ตามเด็กๆ ผู้เป็นอนาคตของโลกใบนี้ก็ยังควรมีความสุขกับชีวิตในขอบเขตที่ควรเป็น พวกเขาควรจะหวงแหนวัยเด็ก ไม่จำเป็นต้องจริงจังกับชีวิตมากเกินไป หรือแบกภาระเยอะเกินไป พร้อมควรสุขใจกับการเติบโตไปในสังคมที่ดีมากกว่า

คุยนอกทวีต แสนสิริ เศรษฐา ทวีสิน

แม้ว่าเราจะไม่รู้แน่ชัดว่าโลกอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปราวกับถูกกดปุ่มรีเซ็ตมากมายแค่ไหน แต่หลายคน โดยเฉพาะเยาวชน Gen ใหม่คงต้องเริ่มเตรียมแผนสำรองให้กับชีวิต หรือเตรียมผันตัวเป็นมนุษย์เป็ดผู้รอบรู้ในหลากหลายด้าน โดยไม่ลืมที่จะมีความสุขกับโลกรอบๆ ตัว พลางเตรียมพร้อมโอบกอดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ได้ไม่มากก็น้อย

สามารถฟังพอดแคสต์ SIRI Podcast
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ด้านล่าง

CONTRIBUTOR

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม