The need to be rich and famous!

บทความในนิตยสาร The Economists ฉบับกลางเดือนมิถุนายนอันหนึ่งขึ้นต้นหัวเรื่องว่า “The Reticent Rich: Inside the secretive world of Germany’s business barons.” ทำให้ผมสะดุดตาเพราะปกติแล้วเมื่อเราพูดถึง “มหาเศรษฐี” หรือ billionaire ภาพที่ขึ้นมาในหัวมักจะเป็นสัญชาติอเมริกันเสียส่วนมาก หรือในฟากยุโรปก็น้อยครั้งที่เราจะนึกภาพมหาเศรษฐีจากเยอรมันนี เลยอยากรู้ว่าชีวิตพวกเค้าน่าสนใจแตกต่างจาก Jeff Bezos ของ Amazon หรือ Bernard Arnault ของ LVMH หรือ Larry Ellison ของ Oracle อย่างไร

อ่านดูได้มุมมองที่น่าสนใจสำหรับการ “แสดงตน” เป็นมหาเศรษฐีในสายตาสาธารณะชนสำหรับชนชาติเยอรมัน ชาติที่จะว่าไปแล้วเป็นเจ้าของแบรนด์รถยนต์ เครื่องมืออุตสาหกรรมหนัก ฟาร์มาซีระดับโลกหลายๆ แบรนด์ แต่ทำไมเราถึงไม่ค่อยรู้จักชื่อพวกเค้าเหล่านี้หรือเห็นหน้าค่าตาตามสื่อแต่อย่างใด

ปัจจัยแรกคือประเภทของธุรกิจที่มหาเศรษฐีเยอรมันเป็นเจ้าของมักจะไม่ใช่อุตสาหกรรมอะไรที่เป็น disruptive หรือน่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมแฟชั่น หรือ technology ที่ฟู่ฟ่ามีอะไรใหม่ๆ มาพูดเสมอๆ แต่เป็นธุรกิจดั้งเดิมเช่น retail ก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิต เติบโตต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่มี new business model หรือจำเป็นต้องหาเรื่องใหม่พูดกับนักลงทุนแต่อย่างใด การปรากฎตัวเพื่อป่าวประกาศเรื่องใหม่ๆ กับสาธารณะชนไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับพวกเค้า

แต่ปัจจัยที่น่าสนใจกว่ามีสองเรื่องคือ 1. วัฒนธรรมที่กลัวการเป็นเป้าของสังคมและถูกมองว่าเป็นคนรวยแบบไร้สาระ โดยเฉพาะในสังคมที่มีการแบ่งฝ่ายขวาและซ้ายจัดอย่างในยุโรป และ 2. ความเชื่อมโยงของประวัติศาสตร์ธุรกิจกับความโหดร้ายของยุคนาซี สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้เป็นสาเหตุให้หลายๆ ตระกูลของเศรษฐีเยอรมันไม่ค่อยเปิดเผยตัว บางตระกูลต้องการยกระดับความเป็นส่วนตัวถึงขนาดให้ทายาทรุ่น 2 รุ่น 3 ลงนามในสัตยาบรรณตอนบรรลุนิติภาวะว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการปรากฎตัวในที่สาธารณะ จะไม่ให้สัมภาษณ์สื่อ และที่น่าจะโหดร้ายที่สุดสำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ ก็คือถึงขั้นห้ามใช้ social media กันเลยทีเดียว ต่างกับบรรดา socialite ฝั่งอเมริกันและของไทยเราอย่างสิ้นเชิงที่คงตีอกชกหัวตัวเองถ้าหากเจอสถานการณ์แบบนี้

พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ลองสังเกตุดูรอบๆ ตัวเราสิครับ คงไม่มีใครเถียงผมว่า social media กลายเป็น platform ที่ให้คนยุคนี้ใช้ “เปิดเผย โอ้อวด และ claim to fame” กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นมหาเศรษฐีหรือคนธรรมดา จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จากที่เมื่อก่อนบรรดาเศรษฐีและ socialite ไทยอาศัยหน้าสื่อนิตยสารและหนังสือพิมพ์หน้าสังคมในการเปิดตัวและโชว์ตัว ตอนนี้ใครๆ ก็ทำได้

อาการ FOMO หรือ Fear of Missing Out ที่เค้าว่ากันว่ามีอิทธิพลมากที่สุดกับกลุ่มคนรุ่น millennials เป็นความกลัวที่จะพลาดการได้รู้ได้เห็นกิจกรรมกิ๊บเก๋ที่คนอื่นๆ กำลังทำ ของเท่ๆ ฮิปๆ ที่คนอื่นใช้ อาหารอร่อยๆ ที่คนอื่นกินกันผ่านหน้าจอมือถือที่กลายเป็นอวัยวะหนึ่งของเราไปเสียแล้ว ส่งผลให้สมองเราประมวลผลสร้างเป็นความอยากไม่รู้จบ ใครทำอะไรที่ไหน เราต้องเห็นและเราต้องเป็นเช่นกัน

ทิ้งท้ายไว้ว่ามีรายงานฉบับหนึ่งทำโดยบริษัทการเงินระดับโลกอย่าง Charles Schwab เมื่อต้นปีเค้าบอกว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรในสหรัฐฯ ยอมรับว่า social media มีอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบการใช้เงินของพวกเค้า และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้พวกเค้าใช้จ่ายเกินตัวอันเนื่องมาจากการเสพบรรดา post ต่างๆ ที่แวดวงคนรู้จักและคนที่เรา follow นำขึ้นเสนอสู่สาธารณะชน ผมว่าโลกเราคงมีความพอดีขึ้นอีกเยอะถ้าบรรดา social media platform ทั้งหลายพัฒนา AI หรือ algorithm ที่ฟิลเตอร์คอนเทนต์ประเภท claim to fame ออกไปจาก feed ของเรากันได้ครับ

CEO OF SANSIRI PLC

Related Articles

The-Beach

The Beach บทเรียนที่สำคัญที่ต้องไม่ซ้ำรอย

อ่านข่าวช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว ก็น่ายินดีที่ประเทศไทยเรามีนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร โดยเป็นโอกาสหนึ่งในการดึงเงินลงทุนและสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนด้านการท่องเที่ยวได้หลายพันล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานในวงการภาพยนตร์ไทยมีโอกาสได้รับการว่าจ้างจากผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกพูดถึงขึ้นมาก็อดนึกไปถึงกรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่มีการยกกองมาถ่ายทำที่หาดมาหยา บนเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อปี 2541 ไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กับสภาพแวดล้อมของหาดมาหยา และผลกระทบที่เกิดกับระบบนิเวศในบริเวณนั้น เป็นบทเรียนสำคัญเรื่องหนึ่งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตื้นที่เปราะบาง การขุดขยายหาดให้กว้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทของภาพยนตร์

ai-Artificial intelligence

AI ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมเปลี่ยนโลก

เทคโนโลยีตัวหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตัวปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า ChatGPT (Chat + GPT ตัวย่อของคำว่า “generative pre-trainedtransformer” ซึ่งเป็นโมเดลประมวลผลทางภาษาประเภทหนึ่ง) ที่ถูกปล่อยออกให้คนทั่วไปได้ลองใช้ในโลกออนไลน์ อันนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมว่าเราทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะผมมองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์มีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์ประกอบหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจอย่างพลิกฝ่ามือได้เลยทีเดียว มองย้อนกลับไปในอดีต

ทรงอย่างแบด

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” : ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ปรากฏการณ์ “ทรงอย่างแบด” เป็นเรื่องที่ผมทึ่งกับวิถีสังคมของเด็กรุ่น Gen Millennials และ Alpha ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงคนรุ่น Boomer และ X Y ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าเราไม่ได้คุยกับเด็กรุ่นใหม่ หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสื่อโซเชียลที่เด็กยุคใหม่คุยกัน ก็คงจะงงกันว่าประโยคนี้คืออะไร แล้วคำขวัญของผู้ว่าฯ มาจากไหน ถือเป็นตัวอย่างของช่องว่างทางความคิด สังคม