ในวาระสุดแสนพิเศษ ที่แสนสิริได้เดินทางเข้าสู่ 40 ปีเต็ม ผ่านเรื่องราว มุมมอง และการเติบโตมากมาย ซึ่งประสบการณ์ทั้งหมดนั้น หล่อหลอมให้เรายังคงมุ่งมั่นสร้างบ้านให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกบ้านทุกคนได้อยู่อาศัย ภายใต้ความชื่นชอบ ตัวตน และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ตามแนวคิด You Are Made For Life ที่แสนสิริเชื่อมั่นค่ะ
พร้อมแล้ว กระโดดขึ้น Time Machine แล้วย้อนเวลาไปชม ไปเข้าใจ แนวคิดการสร้างบ้านของแสนสิริในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมาด้วยกันนะคะ
1980 – 1990 Conventional Method วิวัฒนาการการสร้างที่อยู่อาศัยของประเทศไทยในยุคนั้น ใช้แรงงานคนเป็นหลัก และทักษะของช่างเป็นสิ่งสำคัญมาก กระบวนการมีทั้งการก่อเสา เทคาน ก่ออิฐ ฉาบปูน ไปจนถึงงานสถาปัตย์ ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนใน Site ก่อสร้าง เนื่องจากความไม่เสถียรของฝีมือแรงงาน และที่สำคัญคือต้องใช้กำลังคนในการก่อสร้างจำนวนเยอะมากต่อการก่อสร้างบ้าน 1 หลัง
บ้านเดี่ยวขนาดมาตรฐาน คุณจะต้องรอประมาณ 1 ปี ในการสร้างบ้านเสร็จแล้วจึงจะได้ย้ายเข้าไปอยู่อาศัยได้ สำหรับบ้านในฝันของใครสักคน เป็นการรอคอยที่นานทีเดียวจริงไหม
1991 – 2011 New Initiative Method เมื่อเห็นปัญหา ก็ย่อมมองเห็นโอกาส
แสนสิริได้ริเริ่มการทำโรงงาน และ Yard ขนาดเล็กๆ ที่ราชพฤกษ์ 346 และ ปัญญาอินทรา เป็นเหมือน Lab ทดลองต่างๆ เช่นการก่อผนังหิน หรือหลังคา เพื่อทดสอบกับสภาพภูมิอากาศจริงของบ้านเรา ว่าเมื่อเจอแดดฝน ความทนทาน หรือคุณภาพที่เกิดขึ้นจริง ผ่านเกณฑ์และได้คุณภาพหรือไม่ เมคชัวร์ว่าหากไปก่อสร้างจริงให้ลูกบ้าน จะมั่นใจในคุณภาพของบ้านที่ส่งมอบได้มากที่สุด
รู้ไหมว่าการพัฒนาแฟลกชิปคอนโดฯ อย่าง 98 Wireless ก็ได้ทำการทดลอง หินอ่อน Moleanos Limestone เมื่อตากแดดร้อนๆ ของเมืองไทย และตากฝนซึ่งมีค่ากรดต่างจากยุโรป ผ่านไปเป็นปีๆ จะสามารถคงสภาพความสวยงามได้ไหมที่นี่ ก่อนที่จะผ่านการทดสอบและนำไปใช้ทำตัวอาคารเป็นแลนด์มาร์คอาคารที่งดงามเหนือกาลเวลาที่ถนนวิทยุในที่สุด
นอกจากนี้ ที่โรงงานยังเริ่มมีการใช้เครื่องจักรอย่างง่าย เพื่อขึ้น Module การผลิต เพื่อให้คุมรายละเอียดในการผลิตให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
2011 – 2014 กำเนิด Sansiri Precast Factory 2 โรงงานแรก ด้วย demand ที่คนไทยในยุคนั้น ต้องการบ้านมากขึ้น อสังหาฯ ในยุคนั้น รวมถึงแสนสิริจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น ลดการทำงานที่ Site ก่อสร้างลง ผลักงานบางอย่างมาทำที่โรงงานแล้วไปประกอบที่หน้างาน เรียกระบบนี้ว่า Semi Automated Carousel System ซึ่งช่วยย่นเวลาในการก่อสร้าง ให้บ้าน 1 หลังใช้เวลาเพียง 4-6 เดือนเท่านั้น
Semi Automated Carousel System เป็นระบบแรกที่แสนสิรินำเข้ามา คือ การใช้ Machine ผสมผสานกับแรงงานคนเพราะเครื่องจักรยังไม่สามารถทดแทนคนได้ทั้งหมด เนื่องจากบ้านของไทย มีงานระบบที่ค่อนข้างซับซ้อน ทั้งงานไฟฟ้าประปาต่างๆ เลยยังต้องใช้ skill คนในการประกอบและจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆ
การเกิด Precast Factory นี้ ภารกิจเล่าให้เข้าใจง่ายๆ คือ การทำผนังสำเร็จรูปรับแรง (Load Bearing Wall System)มาใช้เป็นโครงสร้างบ้าน โดยใช้ระบบเครื่องจักร มีคุณภาพดีกว่าการใช้แรงงาน โดยนำเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมันนี รองรับการก่อสร้างประมาณ 1,500 หลังต่อปี และมี Yard สำหรับผลิตชิ้นงานสำเร็จรูปอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบของบ้าน ได้แก่ คาน, พื้น, บันได อีกด้วย
2015 – ปัจจุบัน Sustainable Method
เรานั่งคุยกับพี่เบ คุณฐิติพงศ์ มงคลปทุมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส โรงงานแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่กุมบังเหียนโรงงานมาตั้งแต่เริ่มแรก และได้มุมมองที่น่าสนใจ และได้แรงบันดาลใจ
พี่เบ๊เล่าให้เราฟังว่า “ในช่วงแรกของการเปิดโรงงาน Precast ของแสนสิริ ในช่วงแรก จะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย กำลังคน ทุกอย่างคือทรัพยากรที่ต้องบริหารจัดการ ให้ใช้น้อยแต่มีประสิทธิภาพที่สุด ขยะหรือWaste ที่เกิดขึ้นก็จะคิดหาวิธีในการกำจัดทิ้ง หรือหาปลายทางให้กับขยะชิ้นนั้น เช่น ฝังกลบ, เผาทิ้ง ฯลฯ แต่มุมมองการทำSustainable Factory ในปัจจุบัน เราต้องมองให้ไกลและครบลูปมากขึ้น ขยะที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรให้เอากลับมาใช้งานใหม่ Upcycle หรือ Recycle อย่างไรให้เป็นประโยชน์ใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง
เร็วๆ นี้ เราจะได้เห็น เศษโฟม, เศษไม้อดัม ที่เหลือใช้ในโรงงาน ถูกนำกลับมา Upcycle เป็นอิฐบล็อกเพื่อปูทางเท้า ให้ลูกบ้านและชุมชนได้ใช้ประโยชน์ นับเป็นแนวคิด Circular Economy ที่จับต้องได้ และน่าสนใจทีเดียว
ในช่วงเวลานี้ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เป็น ระบบ Automation มี Robot มากมาย เข้ามาในระบบการผลิต เพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ได้คุณภาพ และยั่งยืนอย่างแท้จริง อาทิ การวิจัยและพัฒนารอยต่อเป็น New Joint โดยปรับจากการใช้ Wet Joint เป็น Dry Joint ที่มีระบบการป้องกันน้ำเข้ารอยต่อได้ดีกว่าเดิม ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ลดการขยับตัว ลดปัญหารอยร้าว และการรั่วซึมได้เป็นอย่างมาก
2033 จากนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้า?
เราอดไม่ได้ ที่จะชวนพี่เบคุย พร้อมฉายภาพถึง อนาคตของการสร้างบ้านไทย และความเป็นไปได้ของโรงงานแสนสิริ
บ้านในอนาคต โรงงานจะเปลี่ยนไปแค่ไหน?
พี่เบอธิบายว่า เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาเติบโตมาก อนาคตอาจจะเหลืองานที่Site ก่อสร้างน้อยมาก จนอาจจะแทบไม่มีอีกแล้ว ทุกอย่างอาจจะจบได้ที่โรงงาน เช่น งานสถาปัตย์ ที่ปกติต้องทำที่ Site เพียงอย่างเดียว จินตนาการภาพบ้านทั้งหลังอย่าง Module บ้าน ที่ยกไปตั้งที่หน้างานได้เลย
อย่างไรก็ตามเครื่องจักรจะมาแทนที่คนทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ งาน Soft Skill ยังไงก็ยังต้องการคนอยู่ดี แต่ทั้งหมดจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จาก Trend เรื่อง AI (Artificial Intelligence) โรงงานอาจจะมีเรื่อง เทคโนโลยีการติดตามควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพหลังการผลิตและใช้งานจริงไปแล้ว เพื่อกลับมาประมวลผล ว่าสิ่งที่ได้ผลิตและส่งมอบให้กับลูกบ้านนั้น สมบูรณ์แบบมากน้อยเพียงใด
และนี่คือ อดีต ปัจจุบัน และวันข้างหน้า ที่โรงงานแสนสิริ จุดเริ่มต้นของความสุข ที่แสนสิริตั้งใจ และให้ความสำคัญ เพราะเราเชื่อมั่นว่าบ้านและที่อยู่อาศัยของลูกบ้านของเรา ต้องเป็น Safe Zone ที่อยู่แล้วมีความสุข ปลอดภัยอย่างแท้จริง