10 สุดยอดหนังคอนเสิร์ต

เสาหลักของสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับ “ดนตรี” อย่าง นิตยสาร Rolling Stone ได้ทำการคัดหนัง 25 เรื่องที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ตที่ดีที่สุดบนแผ่นฟิล์ม และนี่คือท็อป 10 เรื่อง ที่หนักแน่น ลุ่มลึกและมีคลาส เพราะพวกเขาเชื่อในวิถีของ music ว่าเป็นแนวทางของชีวิต 

บางเรื่องอาจไม่เคยผ่านตาเรา แต่ทุกเรื่องในบทความนี้ เป็น “ครีม” ของหนังสารคดีที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ตอย่างแท้จริง

1. The Last Waltz

(MGM)

The Last Waltz Sansiri Blog
ภาพจาก Rolling Stone

หลังจากใช้ชีวิตบนถนนหลายปี วง the band ได้แสดงคอนเสิร์ตอำลาที่ ซาน ฟราน ซิสโก ในเทศกาลขอบคุณพระเจ้าปี 1976 ร่วมกับเพื่อนเก่าอย่าง โจนี่ มิทแชล, นิล ยัง, มัดดี้ วอลเทอร์ส, อีริค แคลปตัน, นีล ไดมอนด์, เมวิส สเตเปิล และผู้ชายคนหนึ่งชื่อ ดิแลน

ผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซีซี ถ่ายทำคอนเสิร์ตพร้อมกับสัมภาษณ์ผู้มีส่วมร่วม ภาพวันวานของขบวนการฮิปปี้นอกคอกวิ่งกันชุลมุนในยุคเซเว่นตี้ส์ ที่มีไฮไลต์คือบทเพลง Caravan ของ แวน มอร์รีสัน กับ Evangeline ของ เอ็มมีลู แฮร์ริส ฉากที่ขำที่สุดก็คือตอนที่ นีล ยัง ออกมาร้องเพลง Helpless บนเวทีกับโคเคนเป็นก้อนห้อยค้างในรูจมูก

2. Monterey Pop

(Criterion)

มาม่า แคส แห่งวง มาม่าส์ แอนด์ เดอะ ปาป้าส์ สร้างความตื่นตาตื่นใจที่เทศกาลดนตรี มอนเตอร์เรย์ ป๊อป ในเดือนมิถุนายน ปี 1976 เธอถึงกับอ้าปากค้างขณะดู จานิส จ็อบพลิน แผดเสียงร้องในเพลง Ball and Chain

ดี.เอ.เพนน์เบเกอร์ ผู้กำกับหนังแนว ซิเนมา เวริเต้ เล่นกับอารมณ์สนุกสนานในสารคดีฉบับออริจินัลที่คัดวงอย่าง เดอะ ฮูว์, ไซม่อน แอน์ การ์ฟังเกิล, ราวี ชังการ์, เจฟเฟอร์สัน แอร์เพลน, คันทรี โจ กับ เดอะ ฟิช แคนด์ ฮีท และอีกมากมาย

แต่การแสดงของ จิมมี เฮนดริกซ์ และ ออติส เร็ดดิง ถูกตัดออกมากพอสมควรเนื่องจากฟิล์มมีปัญหา ดีวีดีสามแผ่นนี้เป็นการบอกเล่าช่วงเวลาของยุคซิกส์ตี้ส์ได้เป็นอย่างดี

3. A Hard Day’s Night

(Miramax)

A Hard Day’s Night Sansiri Blog
ภาพจาก USA TODAY

ชื่อของหนังได้มาจากคำพูดเล่นลิ้นของ ริงโก สตาร์ หนังปี 1964 ที่เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของ เดอะ บีตเทิลส์ A Hard Day’s Night เป็นหนังสนุกสนาน เบาสมอง กับเนื้อเรื่องแบบไม่มีพล็อต

งานชิ้นนี้ผู้กำกับ ริชาร์ด เลสเตอร์ เพียงแค่ปล่อยให้ จอห์น พอล จอร์จ กับ ริงโก แสดงพรสวรรค์ มุขตลก และร้องเพลงออกมาแบบสดๆ ในเวลา 87 นาที

ส่วนที่เหลือก็ปล่อยมันเป็นไปอย่างธรรมชาติ (จอร์จ พบรักในอนาคตกับ แพตตี้ บอยด์ ด้วย) เลสเตอร์ ตัดภาพตอนเล่นดนตรีแทรกไปกับการแสดง ซึ่งมีคนบอกว่าเป็นพัฒนาการของการทำมิวสิค วีดิโอ ในยุคสมัยนี้ คำกล่าวที่ไม่มีวันตายของ Alun Owen สร้างกระแสคลั่งไคล้ บีตเทิลส์ แม้จะไม่มีใครในเรื่องหลุดคำว่า “บีตเทิลส์” ก็ตาม

4. Woodstock : Three Days of Peace and Music

(Warner Home)

เพิ่งครบรอบไปในปีนี้ และคำถามหนึ่งก็คือ ทำไมคนเราจึงอยากเป็น ฮิปปี้ กันแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว?

สารคดีของ ไมเคิล แวดลีห์ เกี่ยวกับเทศกาลดนตรีในปี 1969 ที่อธิบายยุคสมัยของบุปผาชนกับการเสพย์สารเคมีและกัญชา เปื้อนโคลน และความสุขที่ไม่อาจอธิบายได้

การแสดงที่เด่นๆ อย่างเช่น การแสดงของครอสบี้ การแสดงครั้งที่สองของ สติลส์ แอนด์ แนช สไล แอนด์ เดอะ แฟมีลี่ สโตน ที่มีลีลาเก๋ไก๋ ชวนมอง และ จิมี เฮ็นดริกซ์ ขับร้องเพลง Star-Spangled Banner ในเวอร์ชั่นของเขา ซึ่งได้กลายเป็นเพลงชาติเวอร์ชั่นใหม่ของพวก ฮิปปี้ส์ ไปแล้ว

5. Metallica: Some Kind of Monster

( Paramount )

หนังสารคดีปี 2004 ของ โจ เบอร์ลินเจอร์ กับ บรูซ ไซนอฟสกี้ ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นอีกหนึ่งในยอดหนังคอนเสิร์ตที่ดีที่สุดที่เคยสร้างมาเกี่ยวกับด้านมืดของกระบวนการสร้างสรรค์ ความแปลกแยก ความท้อแท้ หดหู่ ความวุ่นวายยุ่งเหยิงภายในจิตใจมนุษย์

ในหนังเรื่องนี้ ฉากส่วนใหญ่จะเป็นฉากน่ากลัวหากแต่อัดแน่นไปด้วยความน่าตื่นเต้น รวมเป็นความบันเทิงที่เร้าอารมณ์ เมทาลิกา กลับมาอีกครั้งกับอัลบัม St. Anger ในปี 2001 ที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และได้มีการให้พวกเขาพูดความรู้สึกของตนเองอีกด้วย พ่อของ ลาร์ส อัลริช มือกลองของวงบอกกับผู้เป็นลูกว่า เพลงใหม่ของเขาห่วยแตกสิ้นดี

6. Gimme Shelter

(Criterion)

https://youtu.be/W57q8F84HW0

ดีวีดีแผ่นนี้ ถ่ายทอดการบันทึกเหตุการณ์การตายของยุคหกศูนย์ในชั่วข้ามคืน หนังสารคดีปี 1970 ถ่ายทำสิบวันของการทัวร์คอนเสิร์ตที่อเมริกาของวง หินกลิ้ง (The Rolling Stones) ปี 1969 ได้เกิดเหตุระทึกขวัญ

โดย เมเรดิธ ฮันเตอร์ เด็กหนุ่มวัย 18 ปี ถูกแทงจนเสียชีวิตโดยกลุ่ม เฮลส์ แอนเจิล (ชมรมจักรยานยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาที่ถูกว่าจ้างให้มาเป็นผู้รักษาความปลอดภัยในฟรีคอนเสิร์ตที่ อัลตามอนท์ เรซเวย์ ใกล้กับนคร ซาน ฟรานซิสโก)

ผู้กำกับ อัลเบิร์ต กับ เดวิด เมย์เซิลส์ เริ่มถ่ายฉากฆาตกรรมและลำดับเหตุการณ์ที่ผิดปกติเป็นตอนๆ โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนหลัง (flashback) แต่ละตอนให้ความรู้สึกน่าสะพรึงกลัว ตอนจบภาพที่ค้างอยู่เป็นมีดรอการแทงเข้าไปในร่างของ ฮันเตอร์

7. Wild Style

(Rhino Home Entertainment)

ก่อนหน้านี้แนวเพลง จี-ฟังค์ หรือ เดอร์ตี้ เซาวธ์ ฮิพ ฮอพ เคยเป็นเพลงพื้นเมืองใน นิว ยอร์ก เช่นเดียวกับแวดวง พั้งค์ แห่ง คลับซีบีจีบี และเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของหนังดราม่าปี 1983 ที่เป็นการยกย่องวันวาน การย่ำเข้าไปในพล็อตเรื่องที่ละเอียดอ่อน กับเรื่องราวเพ้อฝันระหว่างสองศิลปินกราฟฟิตี้

แล้วคุณจะพบกับความมีชีวิตชีวาพร้อมกับฟุตเทจที่หายากของศิลปิน ฮิพ ฮอพ อย่าง แฟ๊บ ไฟว์ เฟรดดี้ กับ แกรนด์มาสเตอร์ แฟลช และเหล่านักพ่นสเปรย์ ชาวแร็พเปอร์ และนักแหกคอกผู้เปลี่ยนดนตรี ฮิพ ฮอพ จากแนวเพลงในแถบ เซาวธ์ บรองซ์ ให้เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม

8. Stop Making Sense

(Palm Pictures/UMVD)

Stop Making Sense Sansiri Blog
ภาพจาก Rolling Stone

โจนาธาน เดมมี กล่าวถึงหนังของเขาในหยุดสุดท้ายในทัวร์คอนเสิร์ตของวง ทอล์คกิ้ง เฮดส์ ในปี1983 ว่า

“มันไม่ใช่หนังคอนเสิร์ตหากแต่เป็นการแสดงบนเวที” ความแตกต่างก็คือมักจะไม่ตัดภาพไปยังผู้ชมและจะถ่ายการแสดงที่หรูหราทว่าผิดเพี้ยนหลุดโลกของวง

เริ่มจาก เดวิด เบิร์น เดินขากะเผลกไปมาบนเวทีตอนเล่นเพลง “Psycho Killer” ด้วยอาการหอบ และจบลงด้วย เบิร์นกับ “สูทตัวเก่งสีขาวตัวโคร่ง” ที่เป็นเอกลักษณ์ประหลาดเฉพาะของเขาท่ามกลางคนในวงอีก 9 คนเต้นไปมาคนละทิศคนละทางหากแต่เป็นส่วนผสมที่กลมกลืนยิ่งนัก การแสดงของพวกเขาทำให้ดูเหมือนเป็นแดนซ์ ปาร์ตี้ที่พิสดารมาก

9. Purple Rain

(Warner Home Video)

Purple Rain Sansiri blog
ภาพจาก Rolling Stone

นี่คือผลงานเรื่องแรกที่ ปรินซ์ โรเจอร์ เนลสัน เล่นบทเสียเอง เป็นตำนานร็อคฮีโร่กับมอร์เตอร์ไซค์สีม่วงคันงาม แสดงให้เห็นวินาทีสำคัญของประวัติศาสตร์ดนตรี

อย่างไรก็ตามโครงเรื่องก็มีการเล่นกับอารมณ์ความรู้สึก โดยตั้งคำถามว่าอัจฉริยะผู้โดดเดี่ยวสามารถหลุดออกจากโลกส่วนตัวเพื่อกลับมาเขียนเพลงต่อได้หรือไม่

ปรินซ์ ได้รับความช่วยเหลือและให้กำลังใจจาก มอร์ริส เดย์ จากคำกล่าวยอดฮิต “Your lips would make a lollipop too happy” และยังมี อพอลโลเนีย ผู้ท้าทายที่จะชำระล้างบาปในทะเลสาบ Minnetonka  รวมๆ แล้วไฮไลต์ก็คือฉากของ ปรินซ์ บนเวทีแผดเสียงร้องเกรี้ยวกราดด้วยความเจ็บปวดในเพลง “The Beautiful Ones” เสน่ห์สีม่วงจะบาดลึกแค่ไหนต้องไปหาดูกัน

10. No Direction Home

(Paramount)

สุดยอดฟุตเทจการแสดงที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนของ บ็อบ ดีแลน กับวง เดอะ แบนด์ ปี 1966 ที่แมนเชสเตอร์ การแสดงที่แฟนเพลงขี้โมโห ตะโกนด่าทอ “ยูดาส” เมื่อเขาเปลี่ยนมาเล่นกีตาร์ไฟฟ้า

นี่คือหนึ่งในผลงานสารคดีที่เผยให้เห็น บ็อบ ดีแลน สมัยแรกๆ ของผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี ตัวหนังอัดแน่นไปด้วยประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญ ที่ดีมากคือการสัมภาษณ์กับผู้คนแทบทั้งหมดที่ผ่านเข้ามาในวิถีของเขา เป็นเสมือนภาพแห่งยุคสมัยของ บ็อบ ดีแลน ในช่วงเวลาสำคัญที่ชัดเจนที่สุด

หนังทั้งหมดนี้ ถ้ามีเวลาดูได้แค่สองเรื่อง ผมแนะนำเรื่องที่ 6 และ 10 ครับ

Related Articles

ปิดร้านคุย! ร้านโปสเตอร์หนังดีสุดของไทย

 ไม่ใช่เพียงนักข่าวสาวของ “วอชิงตัน โพสต์” จะบุกไปที่บ้านของเขา นักข่าวหนุ่มของ “เนชั่นกรุ๊ป” ก็ยังแอบไปปิดร้านคุยกับ “เขา”ผู้เป็น “เจ้าของพื้นที่” ร้านโปสเตอร์หนังที่ดีที่สุดของไทย ผู้ชายคนนี้มีชื่อว่า สันติ ตันติภัณฑรักษ์…เขาแฝงตัวและหลบเร้นชีวิตอย่างเรียบง่าย ด้วยการเปิดร้านซอกหลืบกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร ในสยามสแควร์

Minority ใน “วัฒนธรรมป๊อป”

ถ้าวัดกันอย่างหยาบๆ คำว่า Fanatic ถูกใช้ในวงการหนังแบบ “ติดปาก” กับหนัง Star Wars เป็นเรื่องแรกๆ ความหมายของมันคือ ลัทธิหรือสาวก แต่ไม่ใช่สาวกแฟนคลับในแบบ Harry Potter เหตุผลประการหนึ่งเพราะว่า ด้วยเนื้อหาของผลงาน จอร์จ ลูคัส นั้น มีความสลับซับซ้อนในตัวละครมากมาย

Tenet-Sansiri Blog 05

ถ้า Tenet ไม่ได้เงิน นี่คือ 5 เหตุผลสำคัญ!

มีเด็กนักเรียนนักศึกษากลุ่มหนึ่ง นั่งคุยกันว่า พวกเขาอยากนัดกันไปดูหนัง Tenet ของ “เสด็จพ่อโนแลน” ด้วยกิตติศักดิ์ร่ำลือ ถึงความลึก ล้ำ และเท่ ของผู้กำกับคนนี้ หลายพูดกันว่า คริสโตเฟอร์ โนแลน คือคนทำหนังที่ “แนว” สุดแล้วในตอนนี้ แต่จะว่าไปไม่น่าใช่ เพราะหนังแนวๆ นี้ที่แจ้งเกิดให้กับเขา